USCE สรุปผลสำรวจหลักสูตรครู 4 ปี หรือ 5ปี ส่วนใหญ่คิดเห็นหลากหลาย วอนคิดดีๆอย่าโยนหินถามทาง หรือจะเปลี่ยนแค่ร่างนโยบายออกคำสั่ง ขณะทีี่เห็นด้วย 4ปี และ5ปีพอกัน
วันนี้ (12 พ.ย.) นายธนภูมิ มากแก้ว นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้านิสิตประจำปีการศึกษา 2561 เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ (USCE)ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นนิสิตนักศึกษาครู ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ประเด็น “นิสิตครูว่าไง นโยบายใหม่ศธ.4หรือ 5”ผ่านเฟสบุ๊ก ปรากฏว่ามีผู้เข้าดู 63,389 คน มีส่วนร่วม 11,723 แสดงความคิดเห็น 75 รายการ แชร์ 239 ครั้ง เผยสำรวจพบว่ามี 75 ความเห็น โดยเสียงส่วนใหญ่ 46 % ความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น เช่น ก่อนจะเปลี่ยนนโยบายอยากให้คิดดีดี เอานโยบายมาทดลองกับเด็กเหมือนโยนหินถามทาง อย่าลืมการเปลี่ยนคือชีวิตของเด็ก จะเปลี่ยยอะไร กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ควรหาข้อมูลมาเปรียบเทียบความแตกต่าง 4ปีกับ 5 ปี แต่ละหลักสูตรมีข้อดีและเสียอย่างไร และควรพัฒนาไปทิศทางไหน ไม่ใช่คิดจะเปลี่ยนก็แค่ร่างนโยบายขึ้นมาใหม่ ลงนามเป็นคำสั่งให้เปลี่ยนทันทื โดยไม่มีหลักการ เหตุผล
นายธนภูมิ กล่าวต่อไปว่า การที่ศธ.มาหักดิบสถาบันต้องเปลี่ยนการผลินหลักสูตรในปีการศึกษหน้า ไม่เป็นอันสมควร เพราะมหาวิทยาลัยไม่สามารถปรับได้ทัน นโยบายรวดเร็วเกินไป และควรให้เวลา รัฐบาลควรใช้หลักPut the rightman on the right jobคือการเลือกคนให้เหมาะกับงาน และมอบหมายงานให้ตามความสามารถ ในการจัดสรรคนมาบริหารบ้านเมืองและกระทรวง ไม่ใช่เอาหมอมานั่งศธ.เพราะถึงเป็นหมอไม่ได้หมายความว่าจะรู้ถึงเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาหรือเข้าใจหัวอกข้าราชการการครูอย่างดี รัฐควรจะถึงเวลาปรับรมว.ศธ.ได้แล้ว และ ถ้าพิจารณาถี่ถ้วนแล้ว ผ่านการรวบรวบข้อมูล ศึกษาและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบจนสรุปได้จริง ๆ ว่า 5ปี 4 ปี หรือจะ 3 ปี ไม่ต่างกันจริงก็เปลี่ยนไป แต่ที่เห็นตอนนี้พูดกันลอย ไม่ มีอะไรมารองรับ แค่ความิด เป็นต้น
นายธนภูมิ กล่าวอีกว่า ผลสำรรวจ 24 % เห็นว่าให้ใช้หลักสูตร 5 ปี เหตุผล เช่น ได้ฝึกงาน 2 เทอม เมื่อจบเทอม 1 มีเวลาในการประเมินตนเอง ได้หาวิธีการแข้ไขบางอย่างที่ยังทำได้ไม่ดี ได้ค้นหาตัวเอง โดยเทอม 1 ได้ฝึกงานโรงเรียนระดับมัธย มศึกษา เทอม 2 ฝีกงานโรงเรียนระดับประถมศึกษา ขณะที่เรียน 5 ปีต้องเรียนเพิ่ม 30 หน่วยกิตกว่า ๆ เรียนกว่า 10 วิชา ได้ฝึกประสบการณ์ 1 ปีเต็ม ซึ่งทำให้ความรู้และทักษะ ต้องดีกว่าเรียน 4 ปี เวลาเรียน 4 ปีรวมฝึกสอนน้อยเกินไป สำหรับ 23 % ให้ใช้หลักสูตร 4 ปี เหตุผล เช่น ไม่เห็นความแตกต่าง เวลา 4ปีกำลังเหมาะสม เรียน 4 ปี จะได้ได้เรียนเต็มวัน ไม่มีเวลาว่างมาก ลดค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง จบพร้อมเพื่อน เพียงแค่ขอให้รักอาชีพจริง ๆ ที่สำคัญคือพื้นฐานจากครอบครัวและการศึกษาทั้งประถมและมัธยมที่จะหล่อหลอมความรู้และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมส่งต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา
“นอกจากนี้ 7% เห็นว่าใช้หลักสูตร 4ปีหรือ5ปีก็ได้ โดยให้เหตุผลเช่น ขอวิชาจรรยาบรรณวิชาชรพครู และเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ เปิดให้มีทางเลือก การปรับเปลี่ยนควรตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล หลักฐาน หรือผลการวิจัย ที่น่าเชื่อถือได้ ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ถ้าวัดคุณภาพครูที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ควรใช้ 5 ปี ถ้าวัดด้วยการสอบด้วยข้อสอบปรนัย 4 ปี ขณะที่ 5 ปี มีความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน และ ขอความเป็นธรรมกับคนที่กำลังเรียน 5 ปีอยู่ อย่างไรก็ตามผลสำรวจนี้ได้เสนอให้ทางคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เรียบร้อยแล้ว เพื่อเสนอต่อผู้รับผิดขอบ ให้พิจารณาประกอบการตัดสินใจต่อไป” นายธนภูมิ กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561