ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติ เรื่อง การทำปลาร้า 4 รส ที่เน้นทักษะกระบวนการ
ผู้รายงาน นางสาวอรพิน สหุนิล
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านท่าโป่ง อำเภอหนองบัวระเหว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ชัยภูมิ เขต 3
ที่ปรึกษา นายไพโรจน์ เคนวิเศษ
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2552
ผลการรายงานปรากฏดังนี้
1. ผลการพัฒนาแผนจักกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การทำปลาร้า 4 รส ที่เน้นทักษะกระบวนการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพแลเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 94.40/86.00 ซึ่งได้ค่าสูงกว่าที่ตั้งไว้
2. ผลของค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การทำปลาร้า
4 รส กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีของแผนเท่ากับ 0.6521 ซึ่งหมายความว่าหลังจากนักเรียนได้เรียนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้พัฒนาขึ้นมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.21
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การทำปลาร้า
4 รส ที่เน้นทักษะกระบวนการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 มีระดับความ
พึงพอใจมากที่สุด
4. วิเคราะห์ค่าความพึงพอใจของนักเรียนต่อครูที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การทำปลาร้า 4 รส กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 มีระดับความพึงพอใจมาก
5. วิเคราะห์ผลข้อดีจำกัดของแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การทำปลาร้า 4 รส กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ข้อดี พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อการเรียนการสอนที่เหมะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาในการเรียนรู้เป็นอย่างดี ไดฝึกปฏิบัติด้วยตนเองและเกิดทักษะในการปฏิบัติจริงสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพได้ เกิดความภูมิใจในเนื้อหาบทเรียนที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและนักเรียนได้ประสบการณ์ตรง และข้อจำกัด พบว่า นักเรียนที่เรียนอ่อนไม่เห็นคุณค่าในการจัดการเรียนรู้
สรุปผลจากการรายงานครั้งนี้ได้พัฒนาแบบฝึกปฏิบัติ เรื่อง การทำปลาร้า 4 รส ที่เน้นทักษะกระบวนการ ซึ่งแผนที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สร้างขึ้นสามารถนำไปพัฒนาการจัดกิจกรมการเรียนรู้ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงกับชีวิตอาชีพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นของตน ใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญทำให้มีผลต่อการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งได้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างรายได้ให้กับชุมชนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมั่งคงและนำไปสู่ผู้ผลิตที่ดีมีคุณภาพหรือเรียกว่าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลอย่างแท้จริง