ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

4 ปัญหายอดฮิต เมื่อสอบติดมหา’ลัย


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 15,884 ครั้ง
Advertisement

4 ปัญหายอดฮิต เมื่อสอบติดมหา’ลัย

Advertisement

       การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย หากรับรู้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน จากนั้นจึงหาหนทางแก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้ ด้วยเหตุนี้ Life On Campus มีข้อเสนอดีๆ มาฝากถึง 4 ปัญหายอดฮิต ยอดนิยมที่เหล่าน้องใหม่มักจะประสบพบเจอ พร้อมกับแนวทางแก้ไขและวิธีการรับมือกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที
       
       เริ่มที่ ปัญหาที่ 1. "เรียนไม่รู้เรื่อง - จด Lecture ไม่ทัน"     
       
       
เมื่อเปิดเทอมเข้าชั้นเรียน น้องๆ จะพบกับการเข้าห้องเรียนที่มีคนเป็นร้อยๆ คน เมื่ออาจารย์เข้ามาถึงก็บรรยายไปเรื่อยๆ บางคนพูดมากจนจดไม่ทัน แถมบางครั้งฟังแล้วยังไม่เข้าใจ จะถามก็ถามไม่ได้ และไม่กล้าถามด้วย เพราะอายเพื่อน อายคนอื่น หรือไม่ให้ถามเป็นการส่วนตัวก็ไม่กล้า เพราะยังไม่สนิทกับอาจารย์
       
       ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การยืมสมุดจดของเพื่อนที่เราคิดว่า อ่านแล้วเข้าใจที่สุดไปถ่ายเอกสาร แล้วนั่งทำความเข้าใจในสิ่งที่เรียนมา หรือปรึกษาพี่รหัสหรือพี่ๆ คนอื่นที่เคยผ่านวิชานั้นมาว่าจะอ่านเอกสารหรือตำราอะไรได้บ้างที่จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น หรืออาจจะจับกลุ่มเพื่อนใหม่ติววิชาที่ไม่เข้าใจ
       
       ปัญหาที่ 2. "ไม่มีเพื่อน - เพื่อนไม่จริงใจ"
       
       
ปีแรกของการเข้าเรียนไม่ว่าจะคณะใด สิ่งที่เกิดขึ้นกับน้องๆ ส่วนใหญ่ คือการปรับตัวกับเพื่อนใหม่ เปรียบเสมือนก้อนกรวดมากมายที่อยู่ในตะแกรง ซึ่งต้องใช้เวลาในการค่อยๆ ร่อนตะแกรงจนเจอก้อนกรวดที่มีลักษะคล้ายคลึงกัน อาจจะต้องใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือ อาจเป็นเดือน หรืออาจจะเป็นปีก็ว่าได้
       
       สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่ คือ เริ่มต้นด้วยการให้ผู้อื่นก่อน เช่น การยิ้มให้ก่อน ทักทายคนอื่นก่อน ชวนคนอื่นก่อน ฯลฯ อย่าให้คนอื่นเริ่มต้นก่อนแล้วเราถึงจะได้ เพราะไม่มีใครรู้หรอกว่า เราต้องการอะไรและคิดอะไรอยู่
       
       อีกหนึ่งวิธี คือ อย่าเปรียบเทียบเพื่อนในมหาวิทยาลัยกับเพื่อนเก่าในโรงเรียน เพราะเปรียบเทียบกันไม่ได้ เวลาที่เราอยู่ร่วมกับเพื่อนในโรงเรียน เราใช้เวลาหลายปีกว่าจะสนิทกัน แต่เพื่อนในมหาวิทยาลัย เราต้องถามตัวเองว่า เราคบกันมากี่วัน กี่เดือน
       

       ปัญหาที่ 3. "ผิดหวังกับคณะที่เรียน - ไม่ชอบคณะที่เรียน"   
       
       
เหตุผลการตัดสินใจเลือกคณะของน้องๆ นั้น จะมีสักกี่คนที่คิดแล้ว คิดเล่าจนสามารถตัดสินใจได้ว่า ตนเองจะเรียนอะไร ซึ่งส่วนใหญ่ที่เลือกเพราะ 1.) ตามเพื่อน 2.) คนเรียนเก่งแบบนี้ต้องเรียนคณะแบบนี้ 3.) พ่อ/แม่ ตัดสินในเลือกให้ 4.) ติดคณะอะไรก็ได้ขอให้มีที่เรียน
       
       พอน้องใหม่เจ้ามาสัมผัสจริงๆ แล้ว หลายคนผิดหวังและไม่ชอบคณะที่เรียน ส่งผลให้ไม่อยากเข้าเรียน ไม่อยากสุงสิงกับใคร เบื่อ ยิ่งมาเจอกับบรรยากาศการเรียนที่หนักและต้องรับผิดชอบดูแลตัวเองแล้ว ยังต้องปรับตัวกับสังคมใหม่ หลายคนที่ปรับตัวไม่ได้ ส่งผลให้การเรียนตกต่ำ ซึ่งเท่ากับว่าคะแนนซึ่งเป็นต้นทุนในปีแรกของเรานั้น ยังไม่ทันไรก็ขาดทุนเสียแล้ว
       
       วิธีการไขปัญหาคือ เวลาที่เราบอกว่า ไม่ชอบ เกลียด ผิดหวัง เรามักจะปิดประตูการรับรู้ด้านอื่นๆ เช่น เกลียดคณะ เราก็ไม่เปิดใจที่จะมองในมุมอื่นๆ เช่น คณะนี้มีสาขาวิชาอะไรที่เรายังพอจะสนใจและเรียนได้บ้าง ซึ่งการที่จะได้ข้อมูลเหล่านี้ได้นั้น น้องๆ อาจจะต้องหาข้อมูลจากการพูดคุยกับรุ่นพี่ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ฝ่ายนิสิต นักศึกษา สำหรับน้องๆ ที่ชัดเจนกับตนเองว่า ไม่ชอบคณะเรียนจริง ไม่ถนัดในวิชาของคณะ
       

       น้องๆ มีทางเลือกได้ 3 ทาง คือ 1.) ลาออก และไปตั้งหลักดูหนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งอาจจะสอบได้หรือไม่ได้ หากสอบได้ น้องๆ ก็ได้สมใจในสิ่งที่ต้องการ หากสอบไม่ได้ น้องๆ ก็ต้องเคว้งคว้างไปอีก 1 ปี
       
       2.) เรียนวิชาในคณะไปด้วย พร้อมกับเตรียมตัวสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หากสอบได้ก็สละสิทธิ์ที่น้องเรียนอยู่ไปเรียนในคณะที่เราได้เลือกใหม่ หากสอบไม่ได้ อย่างน้อยน้องๆ ก็มีที่เรียน
       
       3.) เปิดใจให้กับคณะที่น้องๆ เรียนอยู่ โดยศึกษาหาข้อมูลว่า คณะที่เรีนอยู่นั้นมีศาสตร์หรือสาขาใดบ้างที่ตนสนใจและน่าเรียน

       
       สุดท้ายด้วยปัญหาที่ 4 "หลงระเริงกับกิจกรรม จนดูหนังสือสอบไม่ทัน"    
       
       
เมื่อแรกเข้า สำหรับเฟรชชี่จะมีกิจกรรมมากมายที่ตื่นเต้น สนุกสนาน น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิต นักศึกษาใหม่ กิจกรรมรับน้อง พี่รหัสน้องรหัส ประชุมเชียร์ กีฬาน้องใหม่ พิธีไหว้ครู พิธีพระราชทานปริญญาบัตร พอกิจกรรมซาลง การสอบมิดเทอมก็เริ่มต้น ทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน ลนลานไปหมด บางครั้งเครียดจนไม่สบาย ทำข้อสอบได้ไม่ดี
       
       แนวทางการแก้ไขวิธีที่ง่ายที่สุด สำหรับปัญหานี้คือ 1.) ตรวจสอบว่า แต่ละวิชาที่ลงทะเบียนนั้น กำหนดสอบมิดเทอมเมื่อไหร่ จากนั้นวางแผนการดูหนังสือแต่เนิ่น ตั้งแต่สัปดาห์แรกของการเรียน
       
       2.) แผนการทบทวนดูหนังสือนั้น น้องๆ จะต้องวางแผนอยู่บนความจริงๆ เท่าไร เช่น มีเวลาที่จะดูหนังสือจาก 3 ทุ่ม ถึง 5 ทุ่ม รวมเป็น 2 ชั่วโมง ดังนั้น หากน้องๆ ตั้งเป้าหมายว่า คืนนี้จะทำแบบฝึกหัด (สมมุติว่าเป็นวิชาฟิสิกส์) ให้ได้สัก 1 บท ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ ย่อมเป็นไปไม่ได้ พอน้องๆ ทำตามเป้าหมายวางไว้ไม่ได้ น้องๆ ก็รู้สึกท้อถอยและรู้สึกว่าตนทำไม่ได้ แต่ถ้าน้องๆ ตั้งเป้าหมายว่า จะทำแบบฝึกหัดให้ได้สัก 3 ข้อ เพราะมันยากมาก พอน้องๆ ทำได้ก็จะเกิดกำลังใจทีจะเพิ่มจำนวนข้อในวันต่อไป
       
       3.) อย่าผัดวันประกันพรุ่ง บ่อยครั้งที่เรามักจะตามใจตัวเอง เช่น ค่อยดูอาทิตย์หน้าก็ได้ ไม่เป็นไรหรอก ยังทัน แต่พอถึงเวลาจริงๆ มักจะทำไม่ได้ ทำให้รู้สึกลนและกลัว
       
       4.) จับกลุ่มทำแบบฝึกหัดหรือดูหนังสือกัน เพราะจะทำให้มีคนเตือนซึ่งกันและกัน แต่ต้องระวังว่า อย่าเพลินกับการคุยหรือเล่นจนเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
       
       5.) ทำไม่ได้ ไม่เข้าใจ ให้เข้าพบอาจารย์ที่สอน อย่ากลัวและอย่าคิดแทนอาจารย์ว่า อาจารย์เขายุ่ง คงไม่มีเวลาให้ลูกศิษย์ หากไปพบอาจารย์แล้วไม่เจอให้น้องๆ เขียนโน้ตถึง อาจารย์ผู้สอนเพื่อขอเวลาว่างอาจารย์เพื่อที่น้องจะสามารถมาพบและปรึกษาได้ น้องๆ ทราบไหมว่า บ่อยครั้งอาจารย์ก็แอบบ่นน้อยใจว่า ทำไมลูกศิษย์ไม่เคยมาถามเลย
       

       คำแนะนำเหล่านี้คงจะเป็นทางออกที่ดีให้สำหรับนิสิต นักศึกษาน้องใหม่ได้เป็นอย่างดี ** ขอบคุณคำแนะนำดีจาก รุ่นพี่นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

เครื่องนวดมือถือ บรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ พกพาสะดวก Fascia Gun massage gun ปืนนวดไฟฟ้า นวดกล้ามเนื้อที่นวดไฟฟ้า ปืนนวด

฿169 - ฿309

https://s.shopee.co.th/9pPNtev3WT?share_channel_code=6


4 ปัญหายอดฮิต เมื่อสอบติดมหา’ลัย4ปัญหายอดฮิตเมื่อสอบติดมหา’ลัย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน

วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน


เปิดอ่าน 28,295 ครั้ง
เผยโฉมอินเตอร์เฟซของ Google Pad

เผยโฉมอินเตอร์เฟซของ Google Pad


เปิดอ่าน 11,438 ครั้ง
หยุดผมร่วงด้วยบรั่นดี

หยุดผมร่วงด้วยบรั่นดี


เปิดอ่าน 20,419 ครั้ง
บททดสอบก่อนเกษียณ

บททดสอบก่อนเกษียณ


เปิดอ่าน 9,801 ครั้ง
Google จัดอันดับคำค้นฮิตปี 52

Google จัดอันดับคำค้นฮิตปี 52


เปิดอ่าน 12,139 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ปัญหาทั่วไปในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการแก้ไข

ปัญหาทั่วไปในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการแก้ไข

เปิดอ่าน 9,825 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ธปท. ยันไม่มีปลอม แบงก์เอทีเอ็ม
ธปท. ยันไม่มีปลอม แบงก์เอทีเอ็ม
เปิดอ่าน 8,859 ☕ คลิกอ่านเลย

ENNXO ชวนชิม 5 ร้านอาหารเซ็นทรัลเวิลด์ Central World อร่อยถูกใจแน่นอน
ENNXO ชวนชิม 5 ร้านอาหารเซ็นทรัลเวิลด์ Central World อร่อยถูกใจแน่นอน
เปิดอ่าน 2,175 ☕ คลิกอ่านเลย

เลี้ยงลูกรักให้มีพัฒนาการสมวัย
เลี้ยงลูกรักให้มีพัฒนาการสมวัย
เปิดอ่าน 13,893 ☕ คลิกอ่านเลย

7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
เปิดอ่าน 16,495 ☕ คลิกอ่านเลย

7 วิธีกินผักแบบไม่ขาดสารอาหาร รับเทศกาลเจ
7 วิธีกินผักแบบไม่ขาดสารอาหาร รับเทศกาลเจ
เปิดอ่าน 12,296 ☕ คลิกอ่านเลย

รถไฮบริด (Hybrid) คืออะไร
รถไฮบริด (Hybrid) คืออะไร
เปิดอ่าน 15,658 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กลิ่นหอมหวาน ช่วยให้ทนความเจ็บปวด
กลิ่นหอมหวาน ช่วยให้ทนความเจ็บปวด
เปิดอ่าน 12,601 ครั้ง

"วันครูโลก" 5 ตุลาคมของทุกปี
"วันครูโลก" 5 ตุลาคมของทุกปี
เปิดอ่าน 45,360 ครั้ง

  เปิดวงวิพากษ์อินเทอร์เน็ต โลกเสมือนคนยุคใหม่
เปิดวงวิพากษ์อินเทอร์เน็ต โลกเสมือนคนยุคใหม่
เปิดอ่าน 9,100 ครั้ง

ระบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
ระบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
เปิดอ่าน 33,802 ครั้ง

PPT ประกอบการอบรมการนำกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตภาคเหนือ
PPT ประกอบการอบรมการนำกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตภาคเหนือ
เปิดอ่าน 32,782 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ