4 ขั้นตอน การจัดตารางการอ่านหนังสือ
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบนะคะ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำ
ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่เคยบอกไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะคะ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้นักเรียน “ทำอะไร ทำจริง” แล้วกันนะ ทำให้ได้จริงๆ
4. ตรวจสอบผลงาน
ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ.
ขอบคุณที่มาข้อมูล
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่นักเรียนต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน นักเรียนต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะคะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงค่ะวันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก