Advertisement
|
งานวิจัยกรมสุขภาพจิตชี้ 5 ปัจจัย ครอบครัวต้นเหตุเด็กฆ่าตัวตาย พ่อแม่ด่าทอ-ไม่มีเวลาให้-กดขี่-เครียด-ไร้ค่า แนะพูดจาให้เกียรติกันและกัน งดเว้นการดูถูกเหยียดหยาม กรณีเด็ก-หนุ่มฆ่าตัวตายเชื่อมีปมในใจเป็นทุนเดิมบวกการถูกบีบคั้นจิตใจรุนแรง
นายนิตย์ ทองเพชรศรี เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 จ.สงขลา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า จากการทำวิจัยเรื่อง "ปัจจัยด้านครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับการพยายามฆ่าตัวตายของประชาชนจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย" โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากครอบครัวผู้พยายามฆ่าตัวตายในทุกอำเภอของจังหวัดตรัง จำนวน 30 ครอบครัว และครอบครัวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน จำนวน 30 ครอบครัว ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน พ.ศ.2551 พบว่า ปัจจัยภายในครอบครัวที่มีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายอย่างมาก คือ 1.การสื่อสารในครอบครัวที่ไม่เข้าใจกัน มีการใช้คำพูดที่รุนแรง คำด่าทอ เช่น "มึงโง่" โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มักได้ฟังคำพูดจากพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือญาติว่า "อยู่ไปก็ไม่ได้ทำประโยชน์ให้ใคร ให้ไปตายเสีย" คำพูดเหล่านี้อาจสร้างความน้อยใจให้เกิดขึ้นกับบุตรหลานโดยที่ไม่มีใครรู้
เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 กล่าวอีกว่า 2.สัมพันธภาพในครอบครัวที่พ่อแม่ลูกหรือคนในครอบครัวเดียวกันไม่มีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันและกัน และไม่มีเวลาให้กันอย่างเพียงพอ ทำให้ไม่ทราบเรื่องราวความเป็นไปในชีวิตของแต่ละคน จึงไม่สามารถช่วยกันคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การคิดว่าหาทางออกไม่เจอของใครคนใดคนหนึ่ง จนคิดแก้ปัญหาในทางที่ผิดด้วยการฆ่าตัวตาย 3.วิธีการเลี้ยงดูแบบกดขี่ การสั่งการ โดยพ่อแม่มักคิดเองว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ฟังความต้องการหรือความคิดเห็นของอีกฝ่าย 4.การปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวต่อปัญหาเศรษฐกิจและความเครียด เกิดการแสดงออกหรือมีท่าทีที่ทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวห่างไกลกันมากขึ้น และ5.บทบาทของสมาชิกในครอบครัว สมาชิกบางคนอาจรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่าที่จะอยู่ในครอบครัวต่อไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการถูกตอกย้ำความไร้ค่าจากสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัวเดียวกัน
นายนิตย์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัย ศูนย์ฯได้นำมาจัดทำเป็นแผ่นพับและจัดพิมพ์คู่มือประชาชนเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายประมาณ 400 -500 เล่มแจกให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภายในจ.ตรัง โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางให้ประชาชนใช้สำหรับป้องกันไม่ให้คนใกล้ชิดฆ่าตัวตาย เนื่องจากแนวโน้มการฆ่าตัวตายของคนไทยในทุกจังหวัดเริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาอย่างในปัจจุบัน มีการคาดการณ์ว่าอาจจะเพิ่มขึ้นราว 1 % ต่อแสนประชากร จากเดิมอยู่ที่ 4.5 % ต่อแสนประชากรเพิ่มเป็น 5.5 %ต่อแสนประชากร
นายนิตย์ กล่าวอีกด้วยว่า สำหรับกรณีนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมฆ่าตัวตายเพราะอกหักและติดยาและกรณีเด็กชายชาว อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยาฆ่าตัวตายจากการที่พ่อบังคับให้ไปเรียนที่กทม. ส่วนตัวเห็นว่าทั้งสองคนอาจมีปมบางเรื่องอยู่ในใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อต้องพบเจอกับเรื่องราวที่บีบคั้นจิตใจเพิ่มเติมกอรปกับการไม่มีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ จึงหาทางออกของปัญหาไม่ได้ ซึ่งอยากแนะนำบุคคลทุกวัยที่ต้องประสบปัญหาไม่ว่าในเรื่องใด อยากให้คิดว่า เราต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพราะทุกคนล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นต้องรักชีวิตตนเองก่อนที่จะไปรักคนอื่น
"สิ่งที่คนในครอบครัวควรจะปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีคนในครอบครัวฆ่าตัวตาย ต้องเริ่มจากการพูดจากันในลักษณะที่ให้แต่ละคนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีหน้าที่ของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดชอบให้ดีที่สุด เว้นการด่าทอที่มีลักษณะเป็นการดูถูกหรือเหยียด หยามเกียรติ จนทำให้อีกฝ่ายน้อยใจ และสังเกตบุตรหลานหากเห็นมีการเศร้าซึมผิดปกติ หรือชอบหมกมุ่นอยู่คนเดียว ควรเข้าไปพูดจาถามไถ่เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา ซึ่ง สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนฆ่าตัวตาย"นายนิตย์กล่าว
ข้อมูลจาก :
|
วันที่ 11 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,205 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,074 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,901 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,818 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,767 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,189 ครั้ง |
|
|