ก.ค.ศ.อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
เลขาธิการ ก.ค.ศ.เปิดเผยว่าในการประชุม อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ได้มีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญจำนวน 17 ราย ได้แก่
- วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย
- วิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย
- วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 12 ราย
- วิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย
ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านครับ
หลักเกณฑ์ฯ ว๑๗/๒๕๕๒ จำนวน ๑๑ ราย ดังนี้
๑.เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน ๑ ราย
ได้แก่ นางสาวสุพรรณษา อินทพงค์ โรงเรียนบ้านในสอย สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ (ผลงานทางวิชาการ คือ ๑.การจัดการเรียนรู้ STEM Education ร่วมกับสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ พร้อมเอกสารประกอบ๒.การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบการบูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นพร้อมเอกสารประกอบ)
๒.เลื่อนเป็นวิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน ๑ ราย
ได้แก่ นางอุทัยวรรณ ศรีตะปัญญะ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.รูปแบบการสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการในการเปลี่ยนผ่าน จากโรงเรียนสู่การทำงานสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมเอกสารประกอบ ๒.การประเมินโครงการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนและนวัตกรรมการสอน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี)
๓.เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน ๙ ราย
ได้แก่
๑) นางสาวจินตนา ศรีสารคาม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สพม.กรุงเทพมหานคร เขต ๒ (ผลงานทางวิชาการ คือ ๑.การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ๒.รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ตามแนวทางโรงเรียนคุณธรรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
๒) นางจุฑามาส เทพหัสดิน ณ อยุธยา โรงเรียนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สพม.สระแก้ว (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ ๒๑ ของโรงเรียนสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ๒.การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว)
๓) นายภิญโญ ทองเหลา โรงเรียนหนองหลวงศึกษา สพม.สกลนคร (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพครูเพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของนักเรียน โรงเรียนหนองแวงวิทยา ๒.รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนหนองแวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร)
๔) นายวินัย โพธิ์หมุด โรงเรียนบ้านฝาง สพป.ร้อยเอ็ด เขต ๒ (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ที่สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนชิโนวาทธำรง ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ๒.รายงานการศึกษาค้นคว้าการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพ ภายใต้บริบทตำบลบ้านฝาง โรงเรียนบ้านฝาง ปีการศึกษา ๒๕๖๒)
๕) นายคงทัศษณ์ คงเมือง โรงเรียนวังหลังวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว สพม.สระแก้ว (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ ด้วย KONGTHAS model ของโรงเรียนธรรมยานประยุต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๑ พร้อมเอกสารประกอบ ๒.รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของโรงเรียนธรรมยานประยุต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๑)
๖) นายประสาน เลือดทหาร โรงเรียนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สพม.สระแก้ว (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.การพัฒนารูปแบบบริหารการจัดการศึกษาแบบ ARAN+P เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ "ด้านฝ่เรียนรู้" ของโรงเรียนอรัญประเทศ พร้อมเอกสารประกอบ ๒.การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้กระบวนการลูกเสือในโรงเรียนอรัญประเทศ ตามรูปแบบของ CIPP Model)
๗) นางรัศมี ฉิมขันธ์ โรงเรียนบ้านหัวโกรก สพป.ชลบุรี เขต ๑ (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านหัวโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต๑ ๒.รายงานการประเมินโครงการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ ๒๑ ภายใต้ยุคนิวนอร์มัลของโรงเรียนบ้านหัวโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๑)
๘) นางสาวเกศสุดา เนรมิตธนไพศาล โรงเรียนบางแพปฐมพิทยา สพม.ราชบุรี (ผลงานทางวิชาการ คือ ๑.รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนบางแพปฐมพิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ๒.การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (CoVID-19) โรงเรียนบางแพปฐมพิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี)
๙) นายสนั่น ขันมัง โรงเรียนบ้านแดงใหญ่ (ราษฎร์ครูวิทยาคาร) สพป.ขอนแก่น เขต ๑ (ผลงานทางวิชาการคือ ๑.การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การเขียนลายเครื่องเบญจรงค์จากรูปแต้มวรรณกรรมสินไช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓โรงเรียนบ้านแดงใหญ่ (ราษฎร์ครุวิทยาคาร) พร้อมเอกสารประกอบ ๒.การพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านแดงใหญ่ (ราษฎร์ครุวิทยาคาร)
หลักเกณฑ์ฯ ว๑๐/๒๕๖๔
เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ราย
ได้แก่
๑) นายวิฑูรย์ งามนิธิจารุเมธี โรงเรียนหนองบัว สพม.นครสวรรค์ (ผลงานทางวิชาการคือ รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนหนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์)
๒) นางทองพรรณ ปัญญาอุดมกุล โรงเรียนอนุบาลปง (บ้านนาปรัง) สพป.พะเยา เขต ๒ (ผลงานทางวิชาการคือรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่เน้นภาวะผู้นำและเครือข่ายความสัมพันธ์โดยใช้พื้นที่ปฏิบัติ เป็นฐานสู่คุณภาพผู้เรียน)
๓) นางสาวสุปราณี ปัญญานะ โรงเรียนสันกำแพง สพม.เชียงใหม่ (ผลงานทางวิชาการคือ การพัฒนาระบบบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ โรงเรียนสันกำแพง)
หลักเกณฑ์ฯ ว๑๒/๒๕๖๔
มีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ราย ได้แก่
๑) นายสมชาติ ไกรแก้ว สพป.กระบี่ (ผลงานทางวิชาการคือ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่)
๒) นางสาวหฤทัย บุญประดับ สพม.ปทุมธานี (ผลงานทางวิชาการคือ กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร)
๓) นายสุทัศน์ ศรีดาเดช สพม.ตาก (ผลงานทางวิชาการคือ รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิตของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต ๔)
ดาวน์โหลดไฟล์แนบ
ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ.