รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
'วิษณุ' ถก ศธ.-กมธ.ศึกษาฯ ปมร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ แนะจัดโครงสร้างทำภายหลังได้ ย้ำพัฒนาผู้เรียนสำคัญกว่า (ไทยโพสต์ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 16:44 น.)
“ส่วนประเด็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ….ได้พิจารณาลงมติเสียงข้างมากเห็นชอบร่างมาตรา 3 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งมีคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 เรื่องปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ นั้น เรื่องนี้ นายวิษณุ ต้องการให้การจัดทำโครงสร้าง ศธ.ไปอยู่ในกฎหมายลูก โดยสามารถบริหารจัดการภายหลังได้ และยังต้องการให้เน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนมากกว่าการพูดถึงเรื่องโครงสร้างศธ.”
ซึ่งมีคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 เรื่องปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในมาตรา 3 ของ(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ อยู่ด้วย
แต่ก่อนที่จะนำเสนอแนวคิดขออนุญาตนำคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 เรื่องปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นกรณีก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด มาเพื่อประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้
เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗คือ “จากข้อเท็จจริงที่ได้ปรากฏให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วน ภูมิภาคทั้งในด้านโครงสร้างขององค์การ ด้านระบบบริหารจัดการ และด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์และกําลังคน ที่สําคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาด้านการศึกษา ของประเทศให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาประเทศ”
ในคำสั่งคือ”สภาพปัญหาในการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วน ภูมิภาค” ซึ่งมิได้ระบุสภาพปัญหาใดให้ชัดเจน มีแต่คำกล่าวอ้างแบบบอกเล่าปัญหาปากต่อปากว่า มีการทุจริตในการบริหารงานบุคคลของผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาพฤติกรรมเฉพาะบุคคล แต่กลับกลายเป็นส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารระดับภูมิภาค โดยอาศัยคำสั่ง คสช.
คือ
1.การจัดตั้งหน่วยงานการศึกษาใหม่ระดับภาค ใน “ข้อ ๖ ให้มีศึกษาธิการภาคเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้าง ในสํานักงานศึกษาธิการภาค มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานศึกษาธิการภาค”
2.จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดชุดใหม่ เรียกโดยย่อว่า “กศจ.” ประกอบด้วย
(๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๕) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. การจัดตั้งหน่วยงานการศึกษาใหม่ระดับจังหวัด “ข้อ ๑๒ ให้มีศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และ ลูกจ้างในสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของศึกษาธิการภาค มีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด”
คือ
และคณะกรรมการ 1 คณะ ระดับจังหวัด (ใหม่) ในส่วนภูมิภาค ส่งผลต่อการใช้อำนาจบริหาร (administrative power)ที่เกิดจากอำนาจใหม่ เหนือผู้อำนวยการเขตพื้นที่เดิมอีก ๒ อำนาจทำให้เกิดการทับซ้อนของการใช้อำนาจระดับภูมิภาค เป็นการกระจุกอำนาจการบริหารไว้ถึง ๓ หน่วยงาน และเป็นการกลับไปรวมอำนาจการบริหารเหมือนการบริหารรูปแบบเดิมในอดีต
ที่มีเพียง ๑ ระดับชั้น คือเขตพื้นที่การศึกษาไปยังโรงเรียน ก็เพิ่มขึ้นอีก ๒ ระดับชั้น รวมเป็น ๓ ระดับชั้น ซึ่งผิดหลักการการกระจายอำนาจบริหารไปสู่โรงเรียน
ขอวิเคราะห์ย้อนไปให้ภาพการบริหารการศึกษาไทยในอดีต ทั้งการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้
“กระทรวงศึกษาธิการมีระบบการบริหารจัดการการศึกษา โดยกรมสามัญศึกษา (อังกฤษ : Department of General Education) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2481 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีหน้าที่จัดการศึกษาสามัญ” (วิกิพีเดีย)แบบรวมอำนาจการบริหารทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
###สรุป
1)มีหน่วยงานในส่วนกลางรวมอำนาจการบริหารการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา คือกรมสามัญศึกษา
2)มีหน่วยงานในส่วนภูมิภาครวมอำนาจการบริหารการศึกษาไว้ ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งระดับภาค จังหวัดและอำเภอ คือสำนักงานศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และศึกษาธิการอำเภอ เป็นหน่วยงานดูแลการบริหารการศึกษาในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
มี”พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2481 จัดตั้งกรมสามัญศึกษาขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 มีหน้าที่จัดการศึกษาสายสามัญ”(วิกิพีเดีย) (ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา)
## มีหน่วยงานส่วนกลางรวมอำนาจคือกรมสามัญศึกษา และหน่วยงานส่วนภูมิภาครวมอำนาจในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกับระยะที่ 1
“ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2494 ขึ้นอีกครั้ง ทำให้กรมสามัญศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการมัธยมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ตลอดจนการฝึกหัดครูด้วย และในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่อีกครั้ง ให้มี "กรมวิสามัญศึกษา" ทำหน้าที่จัดการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-5” (วิกิพีเดีย) และ”กรมสามัญศึกษา” ทำหน้าที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
## สรุป
1)มีการแบ่งอำนาจการบริหารในส่วนกลาง เป็น ๒ กรม โดยบริหารการศึกษาแบบแยกระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
2)ระดับภูมิภาค มีการรวมอำนาจไว้ในหน่วยงานดูแลการบริการจัดการการศึกษา เช่นเดียวกับระยะที่ 1 คือรวมอำนาจภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
#####โดยสรุป การบริหารการศึกษาในระยะที่ 1-3 มีการใช้อำนาจการบริหารในส่วนกลางระดับกรม และอำนาจการบริหารส่วนภูมิภาคโดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
“พ.ศ.2509 มีพระราชบัญญัติโอนโรงเรียนประถมศึกษาบางประเภทไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือการศึกษาประชาบาลโดยครง ทั้งทางด้านการบริหารงานบุคคล วิชาการและธุรการ”(ปราชญา กล้าผจัญ,2538) ส่วนกรมสามัญศึกษารับผิดชอบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและโรงเรียนอนุบาลที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216, 217 และ 218 ได้ประกาศให้กรมสามัญศึกษากับกรมวิสามัญศึกษาเข้าด้วยกัน ให้ใช้ชื่อว่า กรมสามัญศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515
###สรุป
1)มีการแบ่งอำนาจการบริหารการศึกษาระดับประถมศึกษาบางส่วนจากส่วนกลางกรมสามัญศึกษา ไปให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
2)ในส่วนภูมิภาคมีการแบ่งอำนาจการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาบางส่วนไปให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด 3)ส่วนระดับมัธยมศึกษาและโรงเรียนอนุบาลยังอยู่ภายใต้หน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการดูแลรับผิดชอบ
พ.ศ.2523 มีการโอนการศึกษาประชาบาลในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.)ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ระดับกรม ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรองรับการบริหารจัดการประถมศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2523 (ปรัชญา กล้าผจัญ,2538)
###สรุป
1) การบริหารการศึกษาในส่วนกลางมีการแบ่งอำนาจการบริหารระดับมัธยมศึกษา ให้กรมสามัญศึกษา ส่วนระดับประถมศึกษาแบ่งอำนาจให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.)
2)การบริหารส่วนภูมิภาค มีการแบ่งอำนาจให้ สำนักงานปลัดกระทรวงบริหารการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ส่วน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัด (สปจ.)และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอ (สปอ.)บริหารการศึกษาระดับประถมศึกษาภายใต้การบริหารอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.)
3)มีการกระจายอำนาจการบริหารโดยมีคณะกรรมการบริหารในรูปแบบองค์คณะบุคคล
ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ได้มีการปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม และยุบรวมหน่วยงานระดับกรมในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเข้าด้วยกัน ทำให้กรมสามัญศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ถูกโอนกิจการไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาในระบบทั้งหมด
###สรุป
1)มีการบริหารส่วนกลางโดยบริหารแบบรวมอำนาจ มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2)การบริหารระดับภูมิภาค มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารอำนาจ จากเดิมที่เคยแบ่งอำนาจการบริหารให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด มีอำนาจบริหารโรงเรียนเอกชนและศาสนา กรมสามัญศึกษามีอำนาจบริหารระดับมัธยมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมีอำนาจบริหารระดับประถมศึกษา มีการจัดสรรอำนาจการบริหารการศึกษาใหม่ โดยใช้พื้นที่การศึกษาเป็นหลัก เรียกว่ามีอำนาจการบริหารตามเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีทั้งสิ้น 175 เขตพื้นที่ทั่วประเทศไทย เป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจการบริหารจัดการศึกษาจากการแบ่งอำนาจเป็นระดับการศึกษา ในแต่ละจังหวัดเป็นพื้นที่การศึกษา โดยการแบ่งเขตจังหวัดเป็นเขตพื้นที่การศึกษา
3)ผู้บริหารการศึกษาที่แบ่งเป้น 3 กลุ่ม คือ( 1)ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ดูแลการศึกษาเอกชน (2)ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด (ผอ.สศจ.)ดูแลการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (3)ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด (ผอ.สปจ.) ดูแลการศึกษาระดับประถมศึกษา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 175 คน ผู้ที่ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ก็ได้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการเขตฯครบทุกคน
4)มีการกระจายอำนาจการบริหารโดยมีการบริหารในรูปแบบองค์คณะบุคคลในทุกเขตพื้นที่ ทำให้การบริหารเขตพื้นที่มีความคล่องตัวสูง
มีการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาจากเดิม เป็นเขตการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ดังนี้ 1)เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จํานวน ๑๘๓ เขตพื้นที่การศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกําหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ และ 2) มีเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวนม ๖๒ เขต ตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ รื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ 3)รวมเขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน ๒๔๕ เขตพื้นที่การศึกษา
###สรุป
1)การบริหารการศึกษามีการแบ่งอำนาจการบริหารการศึกษาเป็นระดับการศึกษาในแต่ละเขตการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ในแนวราบตามระดับการศึกษา และแบ่งพื้นที่ในแนวตั้งในแต่ละเขตพื้นที่ของแต่ละจังหวัด
2)มีการกระจายอำนาจการบริหารโดยมีการบริหารในรูปแบบองค์คณะบุคคลในทุกเขตพื้นที่ ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทำให้การบริหารเขตพื้นที่มีความคล่องตัวสูงยิ่งขึ้น
#####โดยสรุป การบริหารการศึกษาระยะที่ 4-7 กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการบริหารอำนาจดังนี้
1.การบริหารส่วนกลางมีการรวมอำนาจไว้ในหน่วยงาน โดยการแบ่งอำนาจหน่วยงานที่บริหารต่างระดับการศึกษา คือระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา และในที่สุดรวมอำนาจการบริห่รไว้ในหน่วยงานเดียว
2.การบริหารส่วนภูมิภาค แบ่งอำนาจการบริหารระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยไม่มีการใช้อำนาจทับซ้อนกัน
3.มีการกระจายอำนาจการบริหารในรูปแบบองค์คณะบุคคล ทำให้การบริหารโรงเรียนในหน่วยงานระดับเขตพื้นที่มีความคล่องตัวสูงและมีประสิทธิภาพ
(การบริหารปัจจุบัน) ตามคำสั่ง คสช. ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2560 ทำให้การบริหารการศึกษากลับมากระจุกตัวดังเดิมในอดีต ดังที่ได้วิเคราะห์มาแล้วข้างต้น คือ
1.การเกิด 2 หน่วยงาน ระดับภาคและระดับจังหวัด (ใหม่) และคณะกรรมการ 1 คณะ ระดับจังหวัด (ใหม่) ในส่วนภูมิภาค ส่งผลต่อการใช้อำนาจบริหาร (administrative power)ที่เกิดจากอำนาจใหม่ เหนือผู้อำนวยการเขตพื้นที่เดิมอีก 2 อำนาจทำให้เกิดการทับซ้อนของการใช้อำนาจระดับภูมิภาค
2.ทำให้สายการบังคับบัญชา (chain of command)ระดับภูมิภาคยาวขึ้นกว่าเดิมที่มีเพียง 1 ระดับชั้น คือเขตพื้นที่การศึกษาไปยังโรงเรียน ก็เพิ่มขึ้นอีก 2 ระดับชั้น รวมเป็น 3 ระดับชั้น ซึ่งผิดหลักการการกระจายอำนาจบริหารไปสู่โรงเรียน
ที่เห็นชอบร่างมาตรา 3 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งมีคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 เรื่องปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ที่บัญญัติกฎหมายโดยใช้อำนาจพิเศษซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นกับกฎหมายการศึกษาหลักที่บัญญัติตามครรลองของรัฐธรรมนูญเป็นพระราชบัญญัติ โดยให้บัญญัติการกำหนดโครงสร้างการบริหารในกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกับ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา หรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสี่องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา…”
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้มีการกระจายอำนาจกลับไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาดังเดิม ส่วนการบริหารงานบุคคลนั้น อาจทำได้แบบเดิมในอดีตเมื่อมีตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด ก็ให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่เขต 1 เลื่อนไปเป็นศึกษาธิการจังหวัด
การบริหารการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบองค์คณะบุคคล และกระจายอำนาจการบริหารให้โรงเรียนมากขึ้น โดยให้มีรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของการศึกษาในปัจจุบัน
ขอบคุณที่มาจาก เฟซบุ๊ค สมบัติ นพรัก วันที่ 23 พฤษภาคม 2565