คือ กลุ่มหรือชุดของโต๊ะท่ีใช้ตั้งพระพุทธรูป หรือ สิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ หรือพระบรมรูปหล่อของพระมหากษัตริย์ พระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ ของพระบรมวงศานุวงศ์ หรือรูปของบรรพบุรุษ ประกอบด้วยเครื่องบูชา อันเป็นการแสดงออกซ่ึงความเคารพอย่างสูงของผู้ที่สักการะ และเป็น การแสดงถึงความกตัญญูท่ีพึงมีต่อผู้มีอุปการคุณซ่ึงเป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ท่ีมีคุณค่ายิ่งของสังคมไทย
การจัดโต๊ะหมู่บูชาเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง ได้ปฏิบัติ เป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนซึมซับเป็นวัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับพิธีสงฆ์ ทั้งในพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีการทั่วไป วัตถุประสงค์ของการจัด โต๊ะหมู่บูชาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชาสักการะ ตามคติของชาวพุทธ ซึ่งมีการจัดในรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันตามความ นิยมของแต่ละท้องถิ่น ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ที่ทรงคุณค่ายิ่ง สมควรได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดให้ยั่งยืนต่อไป
กรมการศาสนาตระหนักถึงคุณค่าและความสําคัญของการจัด โต๊ะหมู่บูชา จึงได้จัดพิมพ์หนังสือการจัดโต๊ะหมู่บูชา เผยแพร่แก่เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนท่ัวไป
ในเอกสารฉบับนี้ ท่านจะได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดโต๊ะหมู่บูชา เช่น
- ประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดโต๊ะหมู่บูชา
- ความสําคัญของโต๊ะหมู่บูชา
- การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา
- การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนา
- การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีถวายพระพร
- การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือการรับของพระราชทาน
- การตั้งโต๊ะหมู่ในการรับเสด็จฯ หรือตามเส้นทางเสด็จฯ
- การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีถวายสักการะเนื่องในวันสําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
- การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีประชุมหรือสัมมนา
- การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อการประกวด
- ผังการจัดโต๊ะหมู่บูชา
- การแสดงความเคารพและการบรรเลงเพลงในพิธีการต่าง ๆ
หรือ
ขอบคุณที่มาจาก กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม