Advertisement
|
นิ สั ย แ บ บ อ ย่ า ง
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)
“บรรดาคณาทา รกย่อมนิยมมาน
ผู้ใหญ่จะกอปรการ กิจชั่วและดีใด
เด็กยลก็โดยแยบ ดุจแบบระเบียบใน
นั้นเนื่องนิสัยไป ตลอดชีพบ่เว้นวาง”
(จากธรรมจริยา)
ท่านสาธุชนผู้รักแบบอย่างทั้งหลาย
ตัวอย่างที่ควรยกมาอ้างเป็นบรรทัดฐาน
ให้เห็นคุณและโทษของบุคคลหรือสิ่งต่างๆ
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนเราอยู่ ๒ ประการ
คือส่วนดีและส่วนเลว เรียกว่า “แบบอย่าง”
อันแบบอย่างทั้งส่วนดีและส่วนเลวนั้นย่อมเป็นครูสอนดีที่สุด
แม้เพียงแต่มีไว้ให้คนได้พบเห็นอยู่เสมอ
โดยเราไม่ต้องใช้ปากสั่งสอนเลย
ก็จะก่อให้เกิดความเคยชินในทางดีเลว
ตามแบบอย่างจนติดตาจับใจอยู่ได้ตลอดชั่วชีวิต
เราชาวโลกทั้งชายหญิง จะดีย่อมอยู่ที่แบบอย่างดี
แม้จะเลวก็อยู่ที่แบบอย่างเลว
จริงอยู่คำสั่งสอนของนักปราชญ์นั้นดีแสนดี
แต่อาศัยเสียงที่สั่งสอนอย่างเดียวโดยไม่มีแบบอย่างไว้ให้แลเห็นด้วย
ก็ไม่สู้จะมีอำนาจทำประโยชน์ให้ได้มากนัก
ตรงกับคำโบราณว่า
“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ”
สิบรู้ไป่เปรียบได้ ชำนาญ หนึ่งนา
เห็นหนึ่งสิบข่าวสาร ไป่แม้น
สิบตาเพ่งดูการ ห่อนแน่ นอนเฮย
มือหนึ่งจับแน่นแฟ้น ยิ่งรู้สมประสงค์
จริงทีเดียว คนเรามักเรียนจากตามากกว่าจากหู
สิ่งที่ปรากฎเห็นด้วยตา
ย่อมจับใจแม่นกว่าอ่านพบหรือได้ยินเขาเล่าบอก
คนเราที่อยู่ในวัยเด็กต้องอาศัยตา
เป็นทางนำความรู้เข้ามามากกว่าประสาทอื่นๆ
เรามักจะเห็นเด็กทำตามผู้ใหญ่อยู่เสมอ
เช่นเมื่อผู้ใหญ่ยกมือไหว้หรือก้มลงกราบพระ
เด็กก็พลอยทำตามอย่างที่ผู้ใหญ่ทำ
คนผู้ครองชีพชอบทำ แม้จะไม่พูดแนะนำใครเลย
ก็อาจเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ดีกว่าผู้พูดดีแต่ประพฤติชั่วหลายเท่า
ดังนั้น ผู้สอนที่ดีชั้นเยี่ยม
จึงนิยมการให้แบบอย่างมากกว่าการบอกเล่ากล่าวสอน
ถือว่าส่วนดีที่สุดแห่งการให้แบบอย่าง
อยู่ที่เมื่อตนให้แบบอย่างแล้ว
ตนต้องลงมือทำตามแบบอย่างของตนเอง
เพื่อเป็นอุบายจูงใจ ให้ผู้เอาอย่างเกิดฉันทะสมัครทำตาม
เพราะว่าแบบอย่างที่แสดงออกมาให้เห็นทั้งหลาย
ย่อมเป็นครูสอนดีที่สุด
ซึ่งแม้จะไม่มีปากสั่งสอนก็ยังไม่มีครูอื่นใดสู้ได้
แบบอย่างที่เข้าถึงนิสัยแล้ว จัดเป็น จิตเลขา
คือเขียนฝากไว้ในจิตใจ
เหมือนหล่อเป็นตัวอักษรในแผ่นทองเก็บไว้อย่างถาวร
ย่อมมีผลศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าคำพูด ได้ในคำโบราณว่า
“หนึ่งเฟื้องของการทำให้เป็นแบบอย่าง
มีค่าเท่ากับหนึ่งหาบของการสั่งสอนด้วยปาก”
นี่คือความจริงอันขุดจากความจริง
เพราะสิ่งที่เราทำพูดดังกว่าสิ่งที่เราพูด
คำพูดเสมือนหนึ่งใบไม้ การทำเสมือนหนึ่งผลไม้
ซึ่งแสดงความหมายลึกซึ้งกว่ากัน
|
|
|
วันที่ 5 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 31,222 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,851 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,941 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,248 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,410 ครั้ง |
|
|