ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ส่อง 4 เทรนด์การศึกษาช่วงโควิด ผลสำรวจชี้เด็กไทยจำนวนมากเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า บอร์ดปฏิรูปฯ เผยทิศทางปี 65 เร่งเยียวยาสุขภาพจิต-การเรียนรู้ถดถอย


ข่าวการศึกษา 16 ก.พ. 2565 เวลา 11:01 น. เปิดอ่าน : 3,542 ครั้ง
ส่อง 4 เทรนด์การศึกษาช่วงโควิด ผลสำรวจชี้เด็กไทยจำนวนมากเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า บอร์ดปฏิรูปฯ เผยทิศทางปี 65 เร่งเยียวยาสุขภาพจิต-การเรียนรู้ถดถอย

Advertisement

เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับระบบการศึกษาทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปิดโรงเรียน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การเรียนออนไลน์ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนต้องหยุดชะงัก จนเกิดเป็นภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ กลุ่มนักเรียนยากจนมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบด้านรายได้ของครอบครัวเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ฝังรากลึกมาเป็นเวลายาวนานถูกสะท้อนภาพให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิม นำไปสู่ปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดออกนอกระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายกำลังเร่งติดตามช่วยเหลือให้เด็กทุกคนได้กลับมาเรียนอีกครั้งอย่างเท่าเทียม รวมถึงการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียทางการศึกษาไปมากกว่านี้

นอกเหนือจากปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาที่ต้องจับตามองแล้ว ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค อนุกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และรักษาการรองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ได้วิเคราะห์เทรนด์การศึกษาที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 รวมถึงทิศทางการศึกษาในปีนี้ที่จะมีบทบาทสำคัญในอนาคต โดยเปิดเผยว่า ประเด็นที่น่าสนใจของแวดวงการศึกษาหลังจากสถานการณ์คลี่คลายคือ การเยียวยาสุขภาพจิตใจของเด็กและการฟื้นฟูความรู้ถดถอยที่เกิดในช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ที่วงการศึกษาทั่วโลกต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโจทย์ในครั้งนี้

· สุขภาพจิตใจของเด็ก เรื่องสำคัญที่ผู้ใหญ่ไม่ควรมองข้าม
การเรียนออนไลน์ผ่านหน้าจอเป็นเวลานานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ไม่เพียงแต่สร้างความเบื่อหน่ายและทำให้ผลการเรียนของเด็กนักเรียนแย่ลง แต่ยังส่งผลในด้านอารมณ์และสังคม (Social-Emotion) เนื่องจากไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างที่ควรจะเป็นตามช่วงวัย ทำให้เด็กเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ไปจนถึงภาวะอารมณ์ดิ่ง นอกจากนี้ในเด็กกลุ่มเปราะบางยังต้องเผชิญกับปัญหาครอบครัว เช่น พ่อแม่ตกงาน พ่อแม่ติดโควิด ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ส่งผลไปถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การกิน การนอน หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงมีอาการซึมเศร้า หรือเสี่ยงมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมได้ สำหรับประเทศไทยในช่วงปี 2563 – 2564 ที่ผ่านมา ผลการประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยโดยกรมสุขภาพจิตพบว่า ร้อยละ 28 มีภาวะเครียดสูง ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 22 มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย สะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยจำนวนมากกำลังเผชิญกับความเครียด ความกังวล และภาวะซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการสำรวจสภาพจิตใจของเด็กอยู่เสมอและการเยียวยาสุขภาพจิตใจของเด็กจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจัดหานักจิตวิทยาโรงเรียนเพื่อคอยช่วยเหลือเด็กๆ ซึ่งประเทศไทยถือว่ายังมีจำนวนไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับสัดส่วนของนักเรียน

· K-Shaped Recovery ที่กำลังก่อตัวในวงการศึกษา
ในแง่ของเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 เรากำลังเข้าสู่ยุคที่บางธุรกิจสามารถปรับตัวได้และเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น ธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ แต่ในทางกลับกันบางกลุ่มมีแนวโน้มการเติบโตแบบดิ่งลง เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ต้องปิดกิจการไป หรือที่เรียกว่าการฟื้นตัวรูปตัว K (K-Shaped Recovery) เช่นเดียวกับด้านการศึกษา เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เด็กที่มีความพร้อมในการเข้าถึงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านครอบครัว สภาพแวดล้อมที่มีความพร้อม อุปกรณ์การเรียน สถานศึกษาและครูที่มีศักยภาพ จะเป็นกลุ่มที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่เด็กบางกลุ่มอาจปรับตัวได้ช้ากว่า เนื่องจากอุปสรรคความยากจน สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ หรือชีวิตได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น พ่อแม่ไม่มีเงินส่งเรียน รวมถึงกลุ่มที่กำพร้าพ่อแม่จากโควิด ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้ผลกระทบในระยะยาวอย่างรุนแรง จึงเป็นอีกประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะการฟื้นตัวแบบ K-Shape ในระบบการศึกษาไทย และต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือเด็กนักเรียนเพื่อลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น

· อสม.การศึกษา บทบาทสำคัญของชุมชนเติมเต็มการเรียนรู้
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีเด็กนักเรียนจำนวนมากประสบปัญหาการเรียนรู้ผ่านระบบทางไกล โดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ผู้ปกครองหลายครอบครัวไม่สามารถควบคุมหรือช่วยเหลือบุตรหลานในการเรียนรู้ได้ กลไกสำคัญที่เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเด็กนักเรียนเหล่านี้ในช่วงเวลาวิกฤตคือ อาสาสมัครการศึกษา (อสม.การศึกษา) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาโดยเชื่อมโยงกับพื้นที่ชุมชน อสม.การศึกษา จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนในชุมชน เช่น ช่วยดูแลเรื่องอุปกรณ์การศึกษา ปรับจูนสัญญาณโทรทัศน์ หรือเป็นตัวเชื่อมทางด้านภาษาระหว่างครูและนักเรียนเนื่องจากบางพื้นที่เป็นชนเผ่า อาสาสมัครซึ่งเป็นคนในพื้นที่ช่วยสื่อสารเจตนารมณ์ของโรงเรียน หรือช่วยสอนหนังสือในกรณีที่ครูเข้าถึงพื้นที่ได้ไม่ทั่วถึง นับเป็นอีกหนึ่งกลไกในการเติมเต็มช่องว่างทางการเรียนรู้ของเด็ก และแม้ว่าโรงเรียนจะกลับมาเปิดเรียนตามปกติ แต่บทบาทของชุมชนยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องผลักดันต่อไป เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยเฉพาะการติดตามเด็กในชุมชนที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบ รวมถึงช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกไปแล้วให้มีโอกาสกลับมาเรียนอีกครั้งและได้รับการพัฒนาทักษะเพื่อสร้างอาชีพต่อไปได้

· ยุคของการศึกษาทางเลือก และการสร้างสรรค์นวัตกรรม
การเรียนออนไลน์ของเด็กนักเรียนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ปกครองหลายคนมองเห็นความสำคัญของการเรียนแบบ Home School มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง พ่อแม่หลายคนรู้สึกไม่คุ้มค่าที่ต้องจ่ายค่าเทอมแพงแลกกับการเรียนที่บ้าน สิ่งที่น่าสนใจคือภาครัฐจะมีแนวทางเข้าไปช่วยเหลือพ่อแม่หรือเด็กกลุ่มนี้เท่าเทียมกับเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาได้อย่างไร นอกจากการศึกษาทางเลือกที่มีบทบาทมากขึ้นแล้ว อีกเรื่องที่ได้เห็นกันมากขึ้นในช่วงโควิดคือ นวัตกรรมการศึกษาที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งโรงเรียนและครูผู้สอนต่างคิดค้นนวัตกรรมและออกแบบสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้เพื่อนำมาช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพ เช่น การแต่งตัวเพื่อดึงดูความสนใจจากเด็ก การใช้แนวทางแบบครูหลังม้า การใช้รถพุ่มพวงทางการศึกษา หรือนวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ (Learning Box) สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มอิสระและความยืดหยุ่นของกระทรวงศึกษาธิการในการสนับสนุนการบริหารจัดการของสถานศึกษา และคาดว่าในอนาคตจะสามารถผลักดันให้ทุกโรงเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็กตามสถานการณ์ต่อไปได้

สรุปได้ว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งการฟื้นฟูเยียวยาทั้งด้านความรู้วิชาการและด้านสุขภาพกายและใจของเด็ก แต่ประเทศไทยยังคงมีโจทย์ใหญ่ทางการศึกษาที่ต้องเร่งดำเนินการคือ การยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างทัดเทียมให้กับเด็กและเยาวชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักในการปฏิรูประบบการศึกษาไทย ของ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ที่กำหนดแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาในเป้าหมายหลัก 5 ด้าน (5 Big Rocks) ได้แก่ 1.การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา 2. การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนรับศตวรรษที่ 21 3. การปฏิรูปการผลิตพัฒนาครู 4.การปฏิรูปอาชีวศึกษา 5.การปฏิรูปบทบาทการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา อย่างไรก็ดีการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้นและยังคงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

 


ส่อง 4 เทรนด์การศึกษาช่วงโควิด ผลสำรวจชี้เด็กไทยจำนวนมากเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า บอร์ดปฏิรูปฯ เผยทิศทางปี 65 เร่งเยียวยาสุขภาพจิต-การเรียนรู้ถดถอยส่อง4เทรนด์การศึกษาช่วงโควิดผลสำรวจชี้เด็กไทยจำนวนมากเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าบอร์ดปฏิรูปฯเผยทิศทางปี65เร่งเยียวยาสุขภาพจิต-การเรียนรู้ถดถอย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ว 18/2567 การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ผู้มีผลงานการสร้างและพัฒนานวัตกรรม เลื่อนเป็นเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ

ว 18/2567 การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ผู้มีผลงานการสร้างและพัฒนานวัตกรรม เลื่อนเป็นเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ

เปิดอ่าน 20,181 ☕ 6 ก.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 88 ☕ 27 ก.ค. 2567

การดำเนินการเช่าใช้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
การดำเนินการเช่าใช้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 75 ☕ 27 ก.ค. 2567

สมศ. เผยสถานศึกษาขอรับการประเมินปี 67 เกินเป้า 20% พร้อมเปิดโอกาสสถานศึกษาร่วมสะท้อน ฟีดแบ็กได้ในทุกขั้นตอน
สมศ. เผยสถานศึกษาขอรับการประเมินปี 67 เกินเป้า 20% พร้อมเปิดโอกาสสถานศึกษาร่วมสะท้อน ฟีดแบ็กได้ในทุกขั้นตอน
เปิดอ่าน 620 ☕ 24 ก.ค. 2567

ประกาศคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง
เปิดอ่าน 1,199 ☕ 23 ก.ค. 2567

รับสมัครโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อเข้ารับการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นปี พ.ศ.2567
รับสมัครโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อเข้ารับการประเมินรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นปี พ.ศ.2567
เปิดอ่าน 979 ☕ 22 ก.ค. 2567

การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
เปิดอ่าน 2,785 ☕ 16 ก.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คำอธิษฐานวันลอยกระทง
คำอธิษฐานวันลอยกระทง
เปิดอ่าน 27,798 ครั้ง

ประกาศจัดตั้งอุทยานใหม่อีก 15 แห่ง
ประกาศจัดตั้งอุทยานใหม่อีก 15 แห่ง
เปิดอ่าน 10,343 ครั้ง

อิทธิพลของดวงจันทร์
อิทธิพลของดวงจันทร์
เปิดอ่าน 2,184 ครั้ง

อะไรคือ "คุณภาพแท้" ของการศึกษา
อะไรคือ "คุณภาพแท้" ของการศึกษา
เปิดอ่าน 15,716 ครั้ง

สร้าง "คนเก่ง" ให้เป็น "ครูสอนดี"
สร้าง "คนเก่ง" ให้เป็น "ครูสอนดี"
เปิดอ่าน 10,719 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ