ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นักวิชาการโพสต์ข้อเสนอ 3 ข้อ สำหรับช่วงเลื่อนเปิดเทอม 11 วัน


ข่าวการศึกษา 10 พ.ค. 2564 เวลา 17:25 น. เปิดอ่าน : 7,423 ครั้ง
Advertisement

นักวิชาการโพสต์ข้อเสนอ 3 ข้อ สำหรับช่วงเลื่อนเปิดเทอม 11 วัน

Advertisement

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Athapol Anunthavorasakul ถึงนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับประเด็นการประชาสัมพันธ์​ และกำหนดการในโปรแกรมอบรมครูทั่วประเทศ​ โดยได้มีข้อเสนอ 3 ข้อ​สำหรับช่วงเลื่อนเปิดเทอม​ 11​ วัน ต่อ รมว.ศธ.เพื่อพิจารณา ดังนี้

เรียน​ รมว.ศธ.​(คุณตรีนุช​ เทียนทอง)​ ตรีนุช เทียนทอง

ผมได้เห็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์​ และเห็นกำหนดการในโปรแกรมอบรมครูทั่วประเทศ​ที่ส่งต่อกันในไลน์อย่างกว้างขวางแล้ว​ เกิดข้อสงสัยอย่างยิ่งเกี่ยวกับการคัดเลือกวิทยากรโดยระดมครูจากสถาบันกวดวิชา​ แ​ละเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจากสถาบันเอกชนที่ขายคอร์สพัฒนาครูเป็นหลัก​ มาอบรมครูในระบบ เท่าที่ผมศึกษาดูจากนโยบายพัฒนาครูในหลายประเทศ​ ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา​ ยังไม่พบว่ามีประเทศใดในโลกดำเนินการด้วยแนวทางนี้นะครับ

ธรรมชาติของงานที่ติวเตอร์ทำกับครู​เต็มเวลาใน รร.ทำ​ ต่างกันมาก​ การดึงพวกเขามาไม่ใช่ความผิดพวกเขาเลย​ แต่มันสะท้อนว่าการกำหนดนโยบายยังขาดความเข้าใจเรื่องการศึกษา​และไม่ได้กำหนดนโยบายบนฐานปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปฏิรูปนิยม​ และมนุษยนิยมใหม่​ อันเป็นหัวใจของการศึกษากระแสหลักที่มีคุณภาพทั่วโลก​ รวมทั้ง​ระบุอยู่ใน พรบ.การศึกษาฉบับปัจจุบัน กิจกรรมตามนโยบายนี้สะท้อนชุดความคิดที่ยังติดอยู่ในโลกของการศึกษา​ 100 ปีที่แล้ว​ ที่คิดว่าต้องหาวิธีถ่ายทอด​ อธิบาย​ วิเคราะห์ให้ฟัง​ มองงานสอนเป็นงานเชิงเทคนิควิธีการมากกว่าการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

ความรู้ว่าด้วยการพัฒนาครูประจำการ (In-service Teacher Development)​ ในระดับนานาชาติ.เน้นการสร้างความแข็งแกร่งชองชุมชนเรียนรู้ของครู ​(TLC : Teacher​ Learning​ Community)​ ใช้การสืบสอบ​ (Inquiry)​ การวิจัยชั้นเรียน​ (Classroom​Research)​ การศึกษาบทเรียน (Lesson​ Study)​ ทำให้ครูเป็นนักปฏิบัติที่ชำนาญขึ้นจากการไตร่ตรองสะท้อนคิด​ (Reflective Practitioner) และทำให้โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้​ (SLC​: School​ as Leaning Community​)​ ที่มีชีวิตชีวาสำหรับทุกคน

การอบรมแบบฟัง​อย่างเดียวให้ได้​ Input แบบนี้หลายประเทศยกเลิกไปนานแล้ว​ ใช้เฉพาะวาระรับฟังนโยบายบางอย่างที่สำคัญมาก​ ๆ​ หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องระดับนานาชาติมาคุย

ในลิสต์รายชื่อวิทยากรที่มี​ ผมเชื่อว่าสำหรับครูไทยที่เก่ง​ ๆ​ ใฝ่รู้​ รักดี ก้าวข้ามกำแพงภาษาพอได้​ เห็นเข้าคงส่ายหัว​ พวกเขาหาฟังประชุมออนไลน์นานาชาติที่มีวิทยากรดัง​ ๆ​ ระดับเอเซีย-แปซิฟิค​ ระดับโลก​ ได้ด้วย​ Free Webinar​ หรือเรียนผ่าน​ Mooc และ Coursera ได้มากมาย​ ทั้งในและต่างประเทศ​ มาสักพักใหญ่แล้วนะครับ

ยิ่งไปกว่านั้นครูเก่ง​ ๆ​ ของเราเป็นวิทยากรอบรมระดับประเทศกันหลายคน​ พวกเขาน่าจะทำหน้าที่นี้ในการสื่อสาร​ แชร์ประสบการณ์จากห้องเรียนจริง​ ๆ​ สร้างแรงบันดาลใจ​ และพูดจาภาษาห้องเรียนเช่นเดียวกับเพื่อนครูได้มากกว่า

ปรากฎการณ์นี้ยังสะท้อนเรื่องใหญ่​ที่สำคัญในการพัฒนาครู​ นั่นคือการขาดการเชื่อมต่อยึดโยง​ (Alignment)​ กับสถาบันเตรียมครูพัฒนาครูอย่างคณะครุศาสตร์​ศึกษาศาสตร์​ ซึ่งเป็นปัญหาทั้ง​ 2 ฝั่ง​

กล่าวคือ​ ศธ.ก็มองไม่เห็นคุณค่า​ ไม่ศรัทธาเชื่อมั่น​ มองไม่เห็นทั้งความพร้อม​ที่มีอยู่​ (Availability)​ และการเปิดให้สาธารณะเข้าถึงได้​ (Accessibility) จากสถาบันครุศึกษา ในระดับสถาบัน​นะครับ ไม่ใช่การเชื้อเชิญเจาะจงตัวเป็นราย​ ๆ​ ไป

ในอีกมุมหนึ่ง​ สถาบันครุศึกษาเหล่านี้ก็ทำตัวห่างเหิน​ ไม่แสดงภาวะผู้นำทางการศึกษา​ ไม่กระตือรือร้นมากพอที่จะร่วมรับผิดรับชอบ​กับสถานการณ์ปัญหาทางการศึกษา ลอยตัวจากความล้มเหลวของระบบ​ มาอย่างยืดเยื้อเรื้อรังยาวนาน พูดภาษาชาวบ้าน​ คือ​ ผู้กำหนดนโยบายเขามองไม่เห็นหัวพวกท่าน​ เพราะพวกท่านไม่เคยอยู่ให้เห็นหัว

พอจะเห็นบางคน​ บางกลุ่ม​ ในบางสถาบัน​ ที่พยายามจัดกิจกรรม​ โปรแกรมพัฒนาครูอยู่พอสมควร​ แต่ก็เป็นการดิ้นรนพยายามด้วยความมีแก่ใจจะร่วมรับผิดชอบ​ระดับบุคคลและกลุ่ม โดยขาดแรงส่งจากกลไกเชิงสถาบันที่เป็นกลุ่มเป็นก้อน​ (เรายังมีสภาคณบดีครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ฯ​ และที่ประชุมคณบดีครุศาสตร์ฯ​ กลุ่ม​16+1 และกลุ่ม​มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​ อยู่นะครับ)​

แม้​ศธ.จะไม่ได้มีอำนาจโดยตรงในการสั่งการ​ และรีบูตบทบาทหน้าที่ให้คณะครุศาสตร์​ศึกษา​ศาสตร์​ แต่เป็น​หลักการพื้นฐานที่​ ศธ.​หรือ​ MOE.ทั่วโลก​ ต้องทำ​ คือ​ ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิ​ดกับสถาบันเตรียมครูพัฒนาครู​ อย่างคณะครุศาสตร์ศึกษา​ศาสตร์​

ถ้าพวกเขามองไม่เห็นบทบาทหน้าที่นี้​ ท่านก็ต้องหารือกับ​ กระทรวง​ อว.​ ให้จัดแพลตฟอร์มหารือกัน

เปรียบเทียบโดยง่าย​ กำลังเจอโจทย์ยากทางการแพทย์​ เช่น​ ​โรคระบาด​ ไม่มีประเทศใดจะกะเกณฑ์หมอ​ พยาบาล​ มานั่งฟังบรรยายจากนักเทคนิคการแพทย์​ หรือตัวแทนจำหน่ายยา ซึ่งทำหน้าที่ในฟังค์ชั่นอื่น มาอธิบายแนะนำ​ 'เครื่องมือ'​ และ​ 'สินค้า'​ แต่เขาจะสนับสนุนให้ระบบผู้ให้คำปรึกษา (Consultation)​ ระหว่างหมอและพยาบาลด้วยกันเข้มแข็ง​ ฟีดข้อมูลจากงานวิจัยและข้อมูลที่อัพเดตที่สุดให้คนทำงานภาคสนาม

ผมหาได้กล่าวโทษ​ หรือดูแคลนวิทยากรทุกท่านในลิสต์​ พวกเขาแค่ถูกเชิญ​ และเป็นการเลือกกำหนดโจทย์ที่ผิดจากผู้กำหนดนโยบาย

ผมเข้าใจว่า​ ท่าน​ รมว.ในฐานะผู้มาใหม่ของวงการย่อมถูกห้อมล้อม​ ให้คำแนะนำ​และมีคนพยายามขอเข้าพบจำนวนมากจากสารพัดบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจการศึกษา​และพร้อมเสนอความช่วยเหลือด้วยความหวังดีห่วงใย

น่าสนใจว่าเราเปลี่ยนรัฐมนตรีมาไม่รู้กี่คน​ แต่ปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่ ​เครือข่ายระหว่างเทคโนแครต ข้าราชการระดับสูง​ และหน่วยธุรกิจเหล่านี้​ น่าจะแข็งแกร่งเป็นกำแพงเหล็กที่ท่านคงต้องพยายามหาทางเจาะช่องรับฟังสื่อสารกับครูจริง ๆ ที่เป็นคนทำ​งานที่หน้างานให้มากขึ้น

ฟังเสียงครู​ เสียงเด็ก​ ๆ​ ที่เป็นผู้เรียนให้มากที่สุด​ ทำความเข้าใจกลไกเชิงระบบ​ จัดทีมศึกษาข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดีจากต่างประเทศ​ แล้วกำหนดแผนการทำงานที่เป็นประโยชน์​ บนหลักวิชา ความรู้​ และงานวิจัย

ผมมีข้อเสนอ 3 ข้อ​สำหรับช่วงเลื่อนเปิดเทอม​ 11​ วัน

1. สนับสนุนให้ทุก รร.มีการจัดการประชุมออนไลน์ถอดบทเรียนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา​ ครูทุกคนได้มีประสบการณ์ตรงและลงมือแก้ปัญหามาหมดแล้ว​ ทั้ง​ Online​ (เลื่อมเวลา/ประสานเวลา)​ -​ On​ Air - On Screen - On Hand - On Site. รวมทั้ง​ Hybrid

ไม่มีติวเตอร์หรือนักวิชาการเจอบริบทการสอนการทำงานแบบเดียวกับคุณครูในช่วง​ พ.ค.-ก.ค.​63​ ​และ​ ธ.ค.63​ -​ม.ค.64​ ที่ต้องจัดกิจกรรมการเรียนทั้ง​ 5 ช่องทางนี้ผสมกัน

คุณครูเท่านั้นที่เคยล้มเหลว​ เรียนรู้​ หลายคนปรับตัว​ จนเกิดแนวปฏิบัติที่ดี​ สามารถแลกเปลี่ยน​ ให้คำแนะนำเพื่อนครูร่วม​ รร.ได้

การรับมือสถานการณ์นี้ เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนครู​ รร.อื่น​ ผู้สอนในบริบทอื่นได้​ แต่เรื่องสำคัญ​ คือการแลกเปลี่ยนกันเองกับครูที่ดูแลนักเรียนในบริบทเดียวกัน​ วิธีที่ใช้ได้กับ​ รร.ขนาดกลางระดับชุมชนเมือง​ ไม่อาจใช้ได้กับ​ รร.ในพื้นที้ห่างไกล​ หรือกระทั่ง​ รร.ใหญ่ในเมือง​

และต่อให้ขนาดใกล้เคียงกัน​ รร.ในบริบทเด็กหลากชาติพันธุ์​ เด็กในบริบทวัฒนธรรมเฉพาะ​ และเด็กที่มีพื้นเพสถานะ​ ความพร้อมสนับสนุนของครอบครัวก็ไม่อาจเหมือนกัน

ให้เวลาคุณครูได้คุยหารือ​ ได้พัก​ ได้เตรียมตัวสอนเถิดครับ ดีกว่าบังคับให้เปิดหน้าจอเช็คชื่ออบรมออนไลน์กับใครก็ไม่รู้​ ที่ไม่ได​้เข้าใจปัญหาเฉพาะหน้าที่ครูกำลังต้องเผชิญ​ แล้วก็ต้องแอบปิดกล้องนั่งประชุมเตรียมสอนกันไป

และฝากโจทย์ให้คุณครูขบคิดวิธีการทำความรู้จักสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับ​ นร.​ ในการสอนทางไกลตั้งแต่สัปดาห์แรกของเทอม

2. ให้เด็ก​ ๆ​ ได้พัก​ ได้เล่นสนุกตามใจบ้างเถิดครับในช่วง​ 11​ วันที่เลื่อนเปิดเทอม​ เด็ก​ ๆ​ ล้ามาเต็มทีกับการเรียนปนไปปนมาระหว่างออนไลน์์/ออฟไลน์​ หลายคนเครียด เบื่อ​ เหนื่อยล้า​ หมดแรงจูงใจไปแล้ว​ รวมทั้งอีกไม่น้อยที่ซึมซับรับรู้ความเครียดทางเศรษฐกิจ สังคม​ และความหวั่นกลัวการติดเชื้อร่วมกับผู้ใหญ่
ให้เขาได้เล่​น ได้เป็นเด็ก มีเวลาว่างสั้น ๆ สัก​ 11​ วัน​ ถ้าท่านเกรงว่าจะสูญเปล่า​ แนะนำว่าให้ รร.ประสานงานกับเด็กล่วงหน้าว่าไม่มีงาน​ ไม่มีการบ้าน​ ให้เล่นเต็มที่​ แต่ฝากให้เขียนสั้น ๆ หรือวาดอะไร​ เตรียมมาเล่าให้เพื่อนและครูฟังในวันแรกที่ได้เปิดเทอมว่า​ '11 วันที่ได้มีเวลาว่าง​ ฉันทำอะไร'

3. หารือด่วนกับ​ อว.​ และเครือข่ายสถาบันครุศึกษา​ เชิญชวนผู้นำองค์กรของกลุ่มมหาวิทยาลัยทึ่มีคณะครุศาสตร์​ศึกษา​ศาสตร์​ หารือ​ ร่วมกันแบ่งพื้นที่ดูแลสนับสนุนงานคุณครูในช่วงภาคการศึกษาต้น​ ไม่มีงบประมาณก็น่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่​ ทุกสถาบันภายใต้มหาวิทยาลัย​ถูกกำกับด้วยตัวชี้วัดต้องให้บริการวิชาการอยู่แล้ว​ ทำเป็นออนไลน์แพลตฟอร์ม​ ให้เรียนรู้สนับสนุนยึดโยงกันระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัย

เริ่มจากมหาวิทยาลัยไหนที่ส่งนิสิตนักศึกษาลงฝึกสอน​ ต้องร่วมสนับสนุนงาน​ รร.นั้น​ และ​ รร.ใดทึ่ไม่ใช่พื้นที่ฝึกงานของนิสิตนักศึกษา​ ก็ควร​จัดโซนพื้นที่​ ระดมพลังช่วยสนับสนุนกัน

ทั้งหมดนี้คือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่อยากนำเรียนฝากไว้เพื่อพิจารณาใคร่ครวญอย่างถ้วนถี่รอบคอบ​

ด้วยความเคารพ
อรรถพล​ อนันตวรสกุล
คณะครุศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​

......
หากข้อความนี้เป็นประโยชน์​ ฝากคุณครู​ นิสิตนักศึกษาครู​ นักการศึกษา​ นักวิชาการ​ สื่อมวลชน และทุกท่านช่วยแชร์เพื่อส่งไปให้ถึงท่านรัฐมนตรีและคณะทำงานด้วยครับ

 

ขอบคุณที่มาจาก เฟซบุ๊ค Athapol Anunthavorasakul

 

เรียน​ รมว.ศธ.​(คุณตรีนุช​ เทียนทอง)​ ตรีนุช เทียนทอง ผมได้เห็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์​...

โพสต์โดย Athapol Anunthavorasakul เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม 2021

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


นักวิชาการโพสต์ข้อเสนอ 3 ข้อ สำหรับช่วงเลื่อนเปิดเทอม 11 วันนักวิชาการโพสต์ข้อเสนอ3ข้อสำหรับช่วงเลื่อนเปิดเทอม11วัน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 10,218 ☕ 28 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เปิดอ่าน 284 ☕ 20 ธ.ค. 2567

ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 687 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 1,618 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
เปิดอ่าน 656 ☕ 17 ธ.ค. 2567

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 496 ☕ 17 ธ.ค. 2567

อักษร เอ็ดดูเคชั่น ลงทุนกว่า 200 ล้าน ยกระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนไทย
อักษร เอ็ดดูเคชั่น ลงทุนกว่า 200 ล้าน ยกระดับการเรียนการสอนในห้องเรียนไทย
เปิดอ่าน 525 ☕ 17 ธ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

FOCUS ประเด็นจาก PISA : การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลส่งผลอย่างไรต่อการเรียนรู้
เปิดอ่าน 8,166 ครั้ง

ศัพท์บัญญัติการศึกษา
ศัพท์บัญญัติการศึกษา
เปิดอ่าน 50,945 ครั้ง

บัตรประชาชนทายรัก
บัตรประชาชนทายรัก
เปิดอ่าน 11,064 ครั้ง

ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์
ร่างกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์
เปิดอ่าน 15,321 ครั้ง

เงินเดือนเป็นความลับ
เงินเดือนเป็นความลับ
เปิดอ่าน 23,148 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ