รมว.ศึกษาธิการ ถก ประเมินคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ชี้ การประเมินตนเองของสถานศึกษาจะทำให้เกิดขึ้นจริงให้ได้
วันนี้ (11 ต.ค.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ว่า ในการประชุมครั้งนี้ตนได้ซักซ้อมและทำความเข้าใจในการประเมินคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่ให้แก่หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งที่ประชุมได้นำเสนอตัวอย่างสถานศึกษาที่ได้ทดลองการประเมินคุณภาพการศึกษาได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ และ โรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) โดยตนเห็นว่าการประเมินของสถานศึกษานำร่องยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร เพราะตนเข้าใจว่าสถานศึกษายังไม่ชินกับวิธีการประเมินตนเอง ซึ่งตนเห็นว่ารูปแบบการประเมินตนเองเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาวางแผนอย่างต่อเนื่อง โดยการประเมินตนเองที่มีแนวโน้มที่จะถูกต้องและเข้มแข็งต้องเกิดจากการรวบรวมข้มูลการประเมินหลายแหล่งเช่น การวิเคราะห์การเรียนการสอนและผลงานของนักเรียน การวิเคราะห์ความคืบหน้าและผลสัมฤทธิ์ในอดีตของนักเรียน เป็นต้น
"ผมเข้าใจว่าสถานศึกษายังไม่ชินกับการประเมินตนเอง เพราะผมถามว่าทำไมถึงประเมินสถานศึกษาตัวเองในระดับดีเยี่ยมใช้มาตรฐานใดอ้างอิง ซึ่งสถานศึกษาตอบว่าใช้การอ้างอิงที่คิดเอาเองโดยไม่ใช้เกณฑ์กลางและแนวทางการประเมินตนเองของศธ. ซึ่งก็ทำให้เราพบว่า เราอาจประกาศหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวยังไม่ชัดเจน โดยผมคงต้องมาประกาศเกณฑ์กลางและแนวทางประเมินตนเองใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นทิศทางเดียวกัน โดยที่ผ่านมาเราไม่เคยมีวิธีการประเมินตนเอง ใช้แต่ข้อสั่งการจากส่วนกลางและเขียนติกตามเอกสาร แต่ผมสั่่งให้สถานศึกษาคิดว่ารู้ได้อย่างไรสถานศึกษาตัวเองมีคุณภาพดีเยี่ยม ซึ่งสถานศึกษาก็คิดเอาว่ารู้ได้อย่างไรด้วยวิธีการของตัวเอง แต่ความจริงคุณภาพสถานศึกษาดีเยี่ยมจะต้องรู้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นในที่ประชุมจึงซักซ้อมทำความเข้าใจกันอย่างดุเดือดและทำให้ผมรู้หลายเรื่อง เช่น มีข้อท้วงติงไม่อยากให้สอศ.ยกเลิกการสอบวีเน็ต เพราะไม่เช่นนั้นเราจะไม่รู้มาตรฐานการจัดการศึกษาของอาชีวะอยู่ในระดับไหน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการประชุมครั้งนี้ทำให้ผมรู้ว่าวิธีปฎิบัติที่จะเป็นมาตรฐานจริงๆไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดขึ้นกับการประเมินตนเองของสถานศึกษา แต่ผมคิดว่าเราจะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้" รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2561
หมอธี ซักซ้อมความเข้าใจการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา
“ธีระเกียรติ” ประชุม ซักซ้อมและทำความเข้าใจในการประเมินคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่ ให้ สพฐ.-สอศ. เผย สถานศึกษายังไม่ชินกับการประเมินตนเอง ที่ผ่านมาใช้แต่ข้อสั่งการจากส่วนกลางและเขียนติกตามเอกสาร
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ว่า ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการซักซ้อมและทำความเข้าใจในการประเมินคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่ให้แก่หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดทั้งสำนักงานคณะกรรมการกาอาชีวศึกษา (สอศ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งที่ประชุมได้นำเสนอตัวอย่างสถานศึกษาที่ได้ทดลองการประเมินคุณภาพการศึกษาได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ และ โรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) โดยตนเห็นว่าการประเมินของสถานศึกษานำร่องยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร เพราะตนเข้าใจว่าสถานศึกษายังไม่ชินกับวิธีการประเมินตนเอง ซึ่งตนเห็นว่ารูปแบบการประเมินตนเองเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาวางแผนอย่างต่อเนื่อง โดยการประเมินตนเองที่มีแนวโน้มที่จะถูกต้องและเข้มแข็งต้องเกิดจากการรวบรวมข้อมูลการประเมินหลายแหล่ง เช่น การวิเคราะห์การเรียนการสอนและผลงานของนักเรียน การวิเคราะห์ความคืบหน้าและผลสัมฤทธิ์ในอดีตของนักเรียน เป็นต้น
"ผมเข้าใจว่าสถานศึกษายังไม่ชินกับการประเมินตนเอง เพราะผมถามว่าทำไมถึงประเมินสถานศึกษาตัวเองในระดับดีเยี่ยมใช้มาตรฐานใดอ้างอิง ซึ่งสถานศึกษาตอบว่าใช้การอ้างอิงที่คิดเอาเองโดยไม่ใช้เกณฑ์กลางและแนวทางการประเมินตนเองของศธ. ซึ่งก็ทำให้เราพบว่า เราอาจประกาศหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวยังไม่ชัดเจน โดยผมคงต้องมาประกาศเกณฑ์กลางและแนวทางประเมินตนเองใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นทิศทางเดียวกัน โดยที่ผ่านมาเราไม่เคยมีวิธีการประเมินตนเอง ใช้แต่ข้อสั่งการจากส่วนกลางและเขียนติกตามเอกสาร แต่ผมสั่งให้สถานศึกษาคิดว่ารู้ได้อย่างไรสถานศึกษาตัวเองมีคุณภาพดีเยี่ยม ซึ่งสถานศึกษาก็คิดเอาว่ารู้ได้อย่างไรด้วยวิธีการของตัวเอง แต่ความจริงคุณภาพสถานศึกษาดีเยี่ยมจะต้องรู้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นในที่ประชุมจึงซักซ้อมทำความเข้าใจกันอย่างดุเดือดและทำให้ผมรู้หลายเรื่อง เช่น มีข้อท้วงติงไม่อยากให้สอศ.ยกเลิกการสอบวีเน็ต เพราะไม่เช่นนั้นเราจะไม่รู้มาตรฐานการจัดการศึกษาของอาชีวะอยู่ในระดับไหน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการประชุมครั้งนี้ทำให้ผมรู้ว่าวิธีปฎิบัติที่จะเป็นมาตรฐานจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดขึ้นกับการประเมินตนเองของสถานศึกษา แต่ผมคิดว่าเราจะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้" รมว.ศธ. กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยโพสต์ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561