“กล้วยมหัศจรรย์ ฉันรักษ์เธอ” โรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร สพม.33 สุรินทร์ คว้ารางวัลเหรียญเงิน ระดับประเทศ จากการนำเสนอผลงาน หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ประจำปี 2561 ในการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2561 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดย นางธิดารัตน์ พรมดี ครู อันดับ คศ.3 นางอัจฉราวดี บุญแสน ครู อันดับ คศ.1 และ นางสาวนุชนาถ ศรีอุตม์ นางสาวขวัญใจ บุญกระจาย นักเรียนโรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา
นางสาวธรรมนูญรัตติ พิศลืม ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร ผู้ร่วมเดินทางไปเข้าร่วมนำเสนอผลงานในครั้งนี้ เปิดเผยว่า การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของนักเรียนขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร เพราะมีสาเหตุมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู โรงเรียนจึงได้วางแผนแก้ไขและพัฒนาการศึกษาโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูในโรงเรียนไปพร้อม ๆ กัน โดยมีแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาครูให้ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Management) และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้แหล่งเรียนรู้สวนกล้วยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ เพื่อให้นักเรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย ได้เรียนรู้จากสถานที่จริง เรียนรู้จากธรรมชาติ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รวมถึงการออกแบบนวัตกรรม โดย การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สอดคล้องกับ ปรัชญาการศึกษาแบบ Progressivismของ John Dewey- ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้าน Cognitive ที่ใช้ Constructivism Approach ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ Ausubel การถ่ายโยงการเรียนรู้ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง MIT (Massachusetts Institute of Technology) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีสาระสำคัญที่ว่า ความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เชื่อมโยง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ ไว้ในมาตรา ๒๕ ดังนี้ “มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ โดยมีคุณครูธิดารัตน์ พรมดี และคุณครูอัจฉราวดี บุญแสน เป็นผู้สร้างนวัตกรรม เป็นผู้รวบรวมเอกสารหลักฐาน เป็นผู้ประสานให้ครูทุกคนส่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการให้เข้ากับเรื่อง "กล้วยมหัศจรรย์ ฉันรักษ์เธอ"
“กล้วยมหัศจรรย์ ฉันรักษ์เธอ” ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ ๑ ขั้นวิเคราะห์งาน (Analysis)
กลยุทธ์ที่ ๒ กำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Target)
กลยุทธ์ที่ ๓ ทีมงานและการทำงานเป็นทีม ใช้วัฒนธรรมองค์กรให้เกิดประโยชน์ (Team work and Put your culture to work)และพัฒนาสู่ความยั่งยืนของนวัตกรรม
กลยุทธ์ที่ ๔ ลดค่าใช้จ่ายเพื่อโตต่อ (Cut costs to grow stronger)
กลยุทธ์ที่ ๕ กำหนดอนาคตของตนเอง (Shape your future) โรงเรียนพัฒนาขีดความสามารถของตนอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้โรงเรียนทุ่งมนวิทยาคาร ได้รับรางวัล ชนะเลิศเหรียญทอง ระดับภาค หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม “กล้วยมหัศจรรย์ ฉันรักษ์เธอ” ก้าวเข้าสู่การนำเสนอผลงานในระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้รับรางวัลเหรียญเงินระดับประเทศ และผลที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงนักเรียนสามารถบูรณาการความรู้เกี่ยวกับเรื่องกล้วยได้อย่างหลากหลายนักเรียนสามารถแปรรูปผลผลิตจากกล้วยและออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกล้วยได้อย่างหลากหลาย นักเรียนจัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย กำไร-ขาดทุน จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกล้วย มีจิตสำนึกและเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์พันธ์กล้วยในท้องถิ่น ทั้งนี้จากการส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง นางสาวธรรมนูญรัตติ พิศลืม กล่าว