Advertisement
|
โรคหัวใจ
ตัวบวม น้ำหนักเพิ่มผิดปกติ เหนื่อยง่าย นอนหงายไม่ได้ จะรู้สึกอึดอัดเหมือนมีคนกดทับ ทำให้ต้องลุกนั่งสลับนอนตลอดทั้งคืน สาเหตุใหญ่มาจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลว
หัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ
แน่นหน้าอก มักจะแน่นตรงกลางหน้าอกเกิดขณะออกกำลังกายหรือทำงานหนัก พอหยุดออกกำลังกายไม่กี่นาทีอาการแน่นหน้าอกจาหายไป มีอาการปวดร้าวปริเวณอื่นร่วมด้วย เช่น แขนซ้าย คอ กราม หลัง ลิ้นปี่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือมีอาการอื่นที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม มือเท้าเย็น มีอาการชาตามมือเท้า ขนขาไม่มีแรง
โรคไต
อ่อนเพลียเรื้อรัง ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางคืน ปัสสาวะกระปริดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ร่างกายบวม ปวดหลัง ปวดเอว เป็นตะคริวบ่อย มือเท้าเย็น นอนไม่หลับ เวลานอนแขนขากระตุกหรือสะดุ้งตื่นเป็นประจำ เท้าบวม ผิวหน้าและใต้ตาหมองคล้ำ ผมร่วง ปกติไตจะเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 30 แต่จะเร็วหรือช้าต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ การใช้ชีวิต เช่นการอดหลับอดนอน ความเครียด กินยามากเกินไป ชอบกินรสเค็ม
มะเร็งตับ
ดวงตาและผิวเป็นสีเหลืองหรือเหลืองจัดจนเห็นได้ชัดท้องโตและขาบวมทั้งสองข้าง แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดช่องท้องหรือเสียดชายโครางด้านขวา อาจคลำเจอก้อนได้
มะเร็งลำไส้
ระบบการย่อยผิดปกติ ปวดท้องรุนแรง น้ำหนักลดลงรวดเร็ว มีเลือดออกปนมากับอุจจาระ
มะเร็งมดลูกหรือปากมดลูก
มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งที่ไม่มีรอบเดือน เจ็บปวดและมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือมีอาการบวมในช่องท้อง
มะเร็งรังไข่
มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ท้องอืด อาการไม่ย่อย น้ำหนักลดและมีอาการปวดหลัง ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีอาการเจ็บปวดหลังมีเพศสัมพันธ์
มะเร็งทรวงอก
หัวนมบวมหรือผิวเนื้อทรวงอกหนาขึ้น มีก้อนบวมสัมผัสได้ เมื่อคลำบริเวณใต้รักแร้บางครั้งอาจมีตุ่มหรือสิวเกิดขึ้นที่เต้านมเป็นเวลานานมีเลือดหรือของเหลวบางอย่างไหลจากหัวนม
มะเร็งในเม็ดเลือด (ลิวคีเมีย)
ตัวซีดเซียว เหนื่อยง่าย เกิดอาการฟกช้ำที่ผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุและมักเกิดร่วมกับอาการปวดตามข้อต่างๆ ท้องอืดและคลำพบก้อนบวมที่ด้านซ้ายของช่องท้อง
โรคหลอดเลือดสมอง
ร่างกายชา อ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ เวียนศรีษะปวดหัวรุงแรงเฉียบพลัน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ตามัว มักมองเห็นภาพซ้อน อาการของโรคเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดขึ้นกับสมอง ซึ่งส่งผลต่อความผิดปกติของร่างกายในระบบที่สมองนั้นควบคุมอยู่
โรคเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อยกลางดึก และพบว่าปัสสาวะมีมดตอมอ่อนเพลีย หิวเก่ง แต่น้ำหนักลดลงเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ แผลหายช้า เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่า
Lily
ขอขอบคุณ หนังสือแพรว
|
|
วันที่ 22 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,352 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,229 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 146,913 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,323 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,717 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,259 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,726 ครั้ง |
|
|