เมื่องานที่ทำ ยังไม่เป็นงานที่ใช่ จะอยู่ทำก่อนหรือจากไป
โดยบริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด
หลายคนคงประสบปัญหากั
บการทำงานที่ไม่ใช่ และบางครั้งคุณอาจจำเป็นต้
องทนอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่
อรอการเติบโตขึ้นไปตามขั้นบั
นไดของบริษัท แต่อย่างไรก็ดีให้คิดเสียว่า คุณคือ ผู้โชคดี ที่ฝ่าฟันจนผ่านการคัดเลือกเข้
าทำงาน มีอาชีพและที่ได้ใช้ความรู้
ความสามารถที่มีสร้างผลงาน แต่หลายคนมักจะเริ่มรู้สึกว่า งานที่ตัวเองทำอยู่ไม่เหมือนที่
คิดไว้ วันนี้
jobsDB มีวิธีจัดการกับเรื่องนี้
มานำเสนอ
1. ลองปรับตัวให้เข้ากับงานที่ “ต้อง” ทำ
ณ จุดที่ “ต้อง” ทำงาน ซึ่งรู้สึกไม่แน่ใจว่า คืองานที่ ใช่ หรือ ไม่ใช่ / ชอบ หรือ ไม่ชอบ สิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้อย่างแรกคือ การปรับตัวเองให้เข้ากับงาน เพื่อนร่วมงาน และการใช้ชีวิตในสังคมใหม่ ซึ่งในการทำงานเราจะต้องเจอคนใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย ปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องแก้ด้วยตนเอง และเพื่อนร่วมงานต่างเพศต่างวัยต่างนิสัย จึงอาจจะทำให้เราอึดอัด ไม่เป็นตัวของตัวเอง จนทำให้รู้สึกได้ว่า “งานแบบนี้ไม่ใช่งานที่ต้องการ!!!” การปรับตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะขอแนะนำให้ลองทำดูเป็นอย่างแรก แต่ถ้ารู้สึกไม่ดีขึ้น ลองวิธีที่ 2 กันต่อไป
2. แค่คิดใหม่ว่า “เราทำได้” ลุย ลุย!!!
ภาวะความไม่คุ้นชิน ทั้งจากสิ่งแวดล้อมใหม่ การเริ่มต้นกับหน้าที่ใหม่ และงานใหม่ ที่ดูจะไม่ราบรื่นเหมือนอย่างที่
คิด ทำอะไรไปก็ดูจะติดขัด ผิดพลาด จนรู้สึกเบื่อหน่าย และกลายเป็นไม่ชอบ ลองมา
เปลี่ยนวิธีคิดและปรับทัศนคติด้วยคำพูดว่า “เราทำได้” อาจจะช่วยให้งานที่น่าเบื่อ กลายเป็นความท้าทายใหม่ๆ สำหรับทุกวันที่ทำงาน คนที่เริ่มต้นกับงานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเพิ่งเรียนจบหรื
อเปลี่ยนงานใหม่ ย่อมมีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ความผิดพลาดจากงาน คือประสบการณ์ที่จะค่อยๆ สอนให้คุณเก่งขึ้น หากจดจำและแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิ
ดซ้ำๆ ได้อีก อย่าท้อที่จะแก้ปัญหา ให้ท่องไว้ในใจว่า
“เราทำได้” จะยิ่งเป็นแรงเสริมทำให้คุ
ณบากบั่นที่จะเรียนรู้และแก้ปั
ญหาให้งานนั้นๆ ลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งท้ายที่สุด งานที่มีปัญหามากที่สุด อาจจะเป็นงานที่ “ใช่” ขึ้นมาก็ได้ แต่ถ้ายัง “ไม่ใช่” ลองดูวิธีอื่นกันต่อ
3. สร้างกิจกรรมที่ชอบ ให้เป็นงานที่ “ใช่”
การเลือกทำในสิ่งที่ชอบควบคู่ไปกับการทำงาน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดความเบื่อหน่ายจากการทำงาน เมื่อเราคือ 1 ในผู้โชคดีที่มีงานทำ แต่ยังรู้สึกไม่แน่ใจว่า งานนี้คืองานที่อยากจะทำ หรือทำแล้วมีความสุขใช่หรือไม่ ให้จัดสรรเวลางานและเวลาว่าง เพื่อหากิจกรรมที่ชอบหรือพัฒนาทักษะอื่น ๆ ที่คิดว่าเป็นตัวคุณเอง ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ อาจจะเป็นอีกทางเลือก ที่จะช่วยบาลานซ์ชีวิตให้รู้สึกมีความสุขมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่แน่ว่าวันหนึ่งวันใด งานอดิเรกที่คุณรักอาจจะกลายเป็นอาชีพหลักที่คุณใฝ่ฝันในอนาคตก็เป็นไปได้
4. เรียนรู้จากโอกาส ที่ได้จากการทำงานใหม่
โอกาสในการทำงาน ถือเป็นกำไรชีวิต ให้นึกไว้เสมอว่า คุณกำลังก้าวไปข้างหน้าเพิ่มขึ้นทีละก้าวจากงานที่คุณอาจจะมองว่าไม่ใช่ การเรียนรู้จากงานใหม่ๆ ข้อผิดพลาดใหม่ๆ คำแนะนำ คำติ คำเตือน จากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน ถือเป็นประสบการณ์จริงที่ทำให้คุณก้าวได้เร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรรีบฉวยโอกาส จากสิ่งที่อยู่ตรงหน้า และถ้าคิดว่ามีสิ่งที่ใช่กว่า จงอย่ากลัวที่จะเดินออกมาหาประสบการณ์หรืองานใหม่ๆ ที่รอให้คุณเลือก
5. เปลี่ยนงานใหม่ ง่ายนิดเดียว
การเปลี่ยนงาน เป็นวิธีสุดท้ายที่จะแนะนำ เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่
ยนแปลง ย่อมมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี
ตามมา อยู่ที่การตัดสินใจและเหตุ
ผลของแต่ละคน ทุกครั้งที่จะเปลี่ยนงานขอให้คิ
ดให้ถ้วนถี่ เพราะการเปลี่ยนงานคือการเปลี่
ยนชีวิตและอนาคต จะดีหรือไม่ดี ใช่หรือไม่ใช่ อยู่ที่การตัดสินใจอย่างรอบด้
านของแต่ละคน ถ้าคุณพร้อม ใน jobsDB มีตำแหน่งงานบริษัทที่ใช่รอคุ
ณอยู่มากมาย เพียงคุณ
สร้างโปรไฟล์กับ jobsDB นั่นคือ คุณได้เพิ่มโอกาสให้ได้งานใหม่
ที่ดีกว่า
เกี่ยวกับ jobsDB
จ๊อบส์ดีบี เชื่อว่าในโลกที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน มีโอกาสและความเป็นไปได้อยู่มากมาย: การเริ่มต้นใหม่ อาชีพใหม่ การต้อนรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของอีกหลายสิ่งที่เราได้ช่วยผู้คนค้นหา
ในฐานะผู้นำด้านเว็บไซต์หางาน ที่มีตำแหน่งงานสำคัญในประเทศฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เราเป็นเว็บไซต์ในดวงใจของผู้หางานในเอเชีย ด้วยทีมงานกว่า 1,000 คนที่มีความสามารถ และข้อมูลเชิงลึกที่เรามี ตลอดจนเทคโนโลยีของเรา จะช่วยให้ผู้หางานพบกับโอกาสที่ดีที่สุดซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ประกอบการ
เราสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเรา ล่าสุดได้เปิดตัวฟังก์ชั่นการค้นหาด้วยเงิน เดือนที่ให้ผู้หางานค้นหางานที่ตรงกับเงินช่วงเงินเดือนที่ต้องการ ผู้หางานจะได้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานเพื่อผลตอบแทนที่ต้องการ ซึ่งที่สุดแล้วจะเป็นการประหยัดเวลาทั้งของนายจ้างและผู้หางาน