ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผลประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ครั้งที่ 8/2559


ข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ 16 ก.ค. 2559 เวลา 06:24 น. เปิดอ่าน : 7,907 ครั้ง
Advertisement

ผลประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ครั้งที่ 8/2559

Advertisement

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ คณะทำงานสานพลังประชารัฐ (คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ : Public-Private Steering Committee) ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ E5 (Human Capital Development) ประชุมหารือความร่วมมือด้านการศึกษากับนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน ของคณะทำงานดังกล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 17.00-20.30 น. ณ ห้องประชุม สพฐ. โดยมี พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ม.ล.ปริยดา ดิศกุล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้บริหารองค์กรหลัก ตลอดจนคณะทำงานกลุ่มย่อยจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมประชุมหารือ

 

รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานที่สำคัญของคณะทำงานกลุ่มย่อยทั้ง 5 กลุ่ม ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 2 ได้นำหลักสูตรของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีครูภาษาไทย คณิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ในโรงเรียนนำร่อง 255 เขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการอบรมจำนวน 1,956 คน ซึ่งเนื้อหาการจัดอบรมประกอบด้วยรายวิชาภาษาไทยสำหรับชั้น ป.1 ป.4 และ ม.1, รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับชั้น ป.1-6 และ ม.1 และรายวิชาสังคมศาสตร์ สำหรับชั้น ม.1 ผลที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ คือ การบันทึกเทประหว่างการอบรมและนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์โรงเรียนประชารัฐ พร้อมทั้งจัดทำเว็บบอร์ดเพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างครูที่เข้ารับการอบรมและวิทยากร จากนั้นคณะทำงานฯ ได้วางแผนติดตามผลและมีแนวทางการจัดอบรมเชิงปฏิบัติในรูปแบบดังกล่าวในภาคเรียนที่ 2

2) ด้าน STEM Education คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 2 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ทำการคัดเลือกโรงเรียนนำร่องที่จะขยายผลการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ STEM Education จำนวน 2,250 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนประชารัฐจำนวน 735 โรงเรียน จากนั้นได้ดำเนินการจัดอบรมครูและโรงเรียนพี่เลี้ยงผ่านระบบออนไลน์ของ สสวท. รวมทั้งได้ทำการประเมินผลการอบรมและจะขยายผลการอบรม STEM Education ไปยังโรงเรียนประชารัฐอื่น ๆ ต่อไปด้วย

3) โรงเรียนคุณธรรม คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 2 ร่วมกับ สพฐ. และ มูลนิธิยุวสถิรคุณ จัดอบรมครูเพื่อเป็นวิทยากรด้านคุณธรรมให้กับโรงเรียนของต้นสังกัดและโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะต้องเป็นครูที่มีใจ และมีความต้องการที่จะเป็นวิทยากรด้านคุณธรรมจริง ๆ ซึ่งได้จัดอบรมครั้งละ 2 วัน อย่างต่อเนื่องทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2559 (การอบรมในวันที่ 1 จะทำการอบรมครูวิทยากร และในวันที่ 2 ครูที่ได้รับการอบรมจะทำการอบรมให้กับคณะนักเรียนตัวอย่าง) ซึ่งภายหลังการอบรมครูวิทยากรจะสามารถนำความรู้ไปต่อยอดและขยายผลให้กับโรงเรียนของตนเองได้ ปัจจุบันมีครูผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 2,200 คนจากการคัดเลือก 1,100 โรงเรียน (โรงเรียนละ 2 คน) รวมทั้งศึกษานิเทศก์ ขณะนี้ได้จัดอบรมตามภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 9 รุ่น แล้ว

4) ด้านภาษาอังกฤษ คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 2 กำลังเตรียมการที่จะอบรมภาษาอังกฤษให้กับครูภายในเดือนสิงหาคม 2559 โดยเป็นการอบรมครูด้วยการใช้สื่อเสริมและแผนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษจาก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็น 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจะทำการคัดเลือกครูแกนนำจำนวน 393 คน จาก 3 ส่วนงาน คือ ครูสอนภาษาอังกฤษ 183 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา 183 เขต, ศึกษานิเทศก์จำนวน 183 คน และ Master Trainers จากการอบรมภาษาอังกฤษ Boot Camp อีก 27 คน ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายผลการสร้างเครือข่ายครูภาษาอังกฤษให้มีทักษะ เทคนิค และกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ดีมากยิ่งขึ้น

5) การจัดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร/ครู ผ่านระบบ TEPE Online คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 3 ได้ดำเนินการพิมพ์เอกสารหลักสูตรสำหรับการอบรมครูเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งได้ทำการถ่ายวีดิทัศน์ประกอบการสอนในหลักสูตรต่าง ๆ และจะนำมา Upload เพื่อให้ครูสามารถศึกษาและทบทวนด้วยตนเองได้ ซึ่งหัวข้อการอบรมสำหรับครู 6 ข้อ คือ ครบเครื่องเรื่องการศึกษา, การบริหารจัดการชั้นเรียนยุคดิจิทัล, Guru ครูมืออาชีพ, จากครูสู่ผู้อำนวยการเรียนรู้, สร้างคุณค่าในการประเมินการเรียนรู้ และการสร้างจิตสำนึกของการเป็นพลโลกที่ดี โดยการคัดเลือกครูที่จะเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร ประกอบด้วยครูคอมพิวเตอร์ 1 คน, ครูฝ่ายวิชาการ 1 คน และครูที่สอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 คน รวม 3 คน จาก 1 โรงเรียน ทั้งนี้ คณะทำงานฯ กำลังดำเนินการจัดพิมพ์หลักสูตรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำหรับการดำเนินงานในขั้นต่อไป คือ การหารือกับ สพฐ. เกี่ยวกับช่วงเวลา สถานที่ และรูปแบบการอบรมที่เหมาะสมกับจำนวนของครูที่จะเข้ารับการอบรม โดยคาดว่าจะให้ School Partners เข้ามามีส่วนร่วมในการอบรมด้วย เนื่องจาก School Partners ต้องทำงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนประชารัฐ

6) ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 4 ได้หารือกับ สพฐ. เกี่ยวกับแนวคิดการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดย สพฐ. ได้เสนอการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางเสอเพลอโมเดล ในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือกัน อาทิ พ่อแม่ผู้ปกครอง/ชุมชน, องค์การบริหารส่วนตำบล, ภาคเอกชน, สพฐ./สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ครู และ ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะลงพื้นที่สำรวจแนวทางการดำเนินงานว่าแต่ละภาคส่วนมีความร่วมมือกันรูปแบบใด เพื่อนำมาพิจารณาปรับใช้กับโรงเรียนประชารัฐต่อไป นอกจากนี้ คณะทำงานฯ จะลงพื้นที่เพื่อศึกษาการพัฒนาต้นแบบโรงเรียนประชารัฐในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2559 โดยจะเข้าไปศึกษาวิจัยโรงเรียนประชารัฐที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 13 แห่ง อาทิ โรงเรียนที่มีความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอน แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ หรือโรงเรียนที่ขาดแคลนบุคลากร อุปกรณ์ และสื่อการเรียนการสอน แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ เป็นต้น จากนั้นจะนำผลการวิจัยมาสร้างเป็น Guideline การพัฒนาโรงเรียนประชารัฐให้แก่ School Partners ในโครงการ CONNEXT ED ตลอดจนนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาประมวลผลเพื่อนำมาหารูปแบบและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประชารัฐต่อไป

7) ด้านการประสานผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการศึกษาของไทย คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 4 ได้นำเสนอในที่ประชุมว่า ขณะนี้มีองค์กรด้านการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ที่เสนอความร่วมมือในการสนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ อาทิ

- British Council: เสนอการอบรมเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
- Microsoft & Google: เสนอการอบรมทักษะด้าน ICT ให้กับครู
- University of Auckland: เสนอการอบรม Trainer ด้านภาษาอังกฤษให้กับครู โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยไทยใน 4 ภูมิภาค
- UNESCO: เสนอแนวทางการพัฒนาการศึกษาจากทั่วโลก, สื่อการเรียนการสอน Online และการบริหารจัดการ Cloud Funding เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน
- SEAMEO Indonesia: เสนอรูปแบบการเรียนการสอนผ่าน Real Time Online

8) การพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต (Technology 4 Mega Trends R&D Hub / Excellent Center) คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 5 ได้ศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างงานวิจัยในประเทศไทย พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลด้านงานวิจัย และจัดประชุมหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนการจัด R&D Excellent Workshop ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ณ สถาบันวิทยสิริเมธี จังหวัดระยอง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาสู่ศูนย์กลางการศึกษาแห่งความเป็นเลิศด้านงานวิจัย (Education Hub) อีกทั้งได้จัด R&D Excellent Workshop ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ (Energy Complex) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน หลักเกณฑ์ และผลักดันให้เกิดกองทุนเพื่อการวิจัยระดับชาติ

9) ด้านการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ (Leadership/ Change Management/ Innovation: LCI) คณะทำงานกลุ่มย่อยที่ 5 ได้รวบรวมกิจกรรม STEM Education สำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งส่งเสริมความเป็นผู้นำและคุณธรรมให้กับเยาวชนผ่านกิจกรรมที่จัดทำในรูปแบบ “LCI Catalog” โดยได้ประสานขอข้อมูลจากหน่วยงานในภาครัฐ คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งมอบ LCI Catalog ให้โรงเรียนประชารัฐด้วยการ Upload ไฟล์ในรูปแบบ PDF บนเว็บไซต์โรงเรียนประชารัฐ เพื่อให้โรงเรียนศึกษาและเลือกกิจกรรมที่สนใจได้

10) ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต (Connectivity โรงเรียนประชารัฐ) โดยมีแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนสามารถเข้าถึงการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการนำอินเทอร์เน็ตไปสู่โรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ สำหรับโรงเรียนประชารัฐก็ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการนำอินเทอร์เน็ตเข้าไปสู่โรงเรียน พร้อมทั้งจัดหาให้ทุกห้องเรียนมีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในทุกโครงการ ขอให้ สพฐ. เร่งสร้างความเข้าใจกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีโรงเรียนประชารัฐ เพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการอย่างแท้จริง และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

 

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการ CONNEXT ED หรือโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (Leadership Program for Sustainable Education) ขณะนี้อยู่ในช่วงการรับสมัครและสัมภาษณ์พนักงานจากบริษัทภาคเอกชนที่สมัครเข้ามาเป็น School Partners โดยมียอด School Partners ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว 387 คน และคาดว่าจะปิดรับสมัครช่วงเดือนสิงหาคม 2559

นอกจากนี้ ได้ทำการออกแบบการอบรมให้กับ School Partners มาเป็นระยะ พร้อมทั้งดำเนินการจัดเตรียมสถานที่และประสานงานกับศึกษานิเทศก์ในการจัดอบรมให้กับ School Partners ไปควบคู่กัน ซึ่งหลังจากที่ได้จำนวน School Partners ที่แน่นอนแล้วจะทำการ Workshop ก่อนลงพื้นที่จริงในโรงเรียนประชารัฐ อีกทั้งจะมีการ Workshop ทุก ๆ 2 เดือนในระหว่างที่ลงพื้นที่ ซึ่งการจัด Workshop มีเป้าหมายการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

1) กันยายน-ตุลาคม 2559 สร้างแรงบันดาลใจและชี้ให้เห็นถึงข้อมูลพื้นฐานการศึกษาของไทยและเครื่องมือที่จะใช้ในการทำงานในฐานะ School Partners
2) ตุลาคม-ธันวาคม 2559 เรียนรู้วิธีการทำแผนโครงการเสนอ School Sponsor
3) ธันวาคม 2559-กุมภาพันธ์ 2560 รายงานความคืบหน้าของการทำแผนโครงการและแบ่งปันให้ School Partners คนอื่น ๆ ทราบ
4) กุมภาพันธ์-เมษายน 2560 รายงานความคืบหน้าของการทำแผนโครงการและแบ่งปันให้ School Partners คนอื่น ๆ ทราบ
5) เมษายน-มิถุนายน 2560 ประเมินแผนโครงการและตัวชี้วัด (KPIs)
6) มิถุนายน-สิงหาคม 2560 เป็นช่วงสุดท้ายของโครงการ School Partners ที่มีรอบการดำเนินงาน 1 ปี โดย School Partners จะมีโอกาสได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากการลงพื้นที่กับผู้อื่นด้วย

สำหรับสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้จาก School Partners คือ การพัฒนาโรงเรียนตามยุทธศาสตร์ 10 ด้านของโรงเรียนประชารัฐ, การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโรงเรียนผ่านการเป็นคู่คิดคู่ทำกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ด้วยการพัฒนาแผนงานแก้ปัญหาโรงเรียนตามยุทธศาสตร์ 10 ด้าน, มีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการโรงเรียน และผลักดันการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและสังคม ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความเป็นผู้นำของตนเอง

ในส่วนของการพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคตนั้น ประเทศไทยต้องมองตนเองให้เป็น Hub ด้านการวิจัยและวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเรามีทุนเดิมด้านการเป็น Hub ในหลาย ๆ ด้านอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น การมีนักเรียนนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาศึกษาต่อที่ประเทศไทย เพราะเชื่อว่าประเทศไทยเป็น Hub ของการศึกษาในบางด้าน

ดังนั้น เราต้องกล้าลงทุนและสร้างแรงจูงใจในการลดหย่อนภาษีเพื่อชักชวนให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน แม้ว่าในปัจจุบันภาคเอกชนได้ทำการลงทุนในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้ประสบความสำเร็จและยังไม่ส่งผลดีต่อประเทศเท่าที่ควร อีกทั้งควรต่อยอดสิ่งที่สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ อยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสได้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค (Regional Hub) ได้

 

อรพรรณ ฤทธิ์มั่น
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
นวรัตน์ รามสูต : ถ่ายภาพ
15/7/2559 

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 15 กรกฎาคม 2559


ผลประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (Human Capital Development) ครั้งที่ 8/2559ผลประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ(HumanCapitalDevelopment)ครั้งที่82559

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางการดำเนินงานด้านการศึกษา ปี 2556

แนวทางการดำเนินงานด้านการศึกษา ปี 2556

เปิดอ่าน 10,113 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 13,650 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการประชุมสภาการศึกษา 1/2558
ผลการประชุมสภาการศึกษา 1/2558
เปิดอ่าน 4,676 ☕ คลิกอ่านเลย

โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
เปิดอ่าน 11,822 ☕ คลิกอ่านเลย

ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์การสอบคัดเลือก ผู้บริหารสถานศึกษา,บุคลากรฯ38ค(2)และครูผู้ช่วย
ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์การสอบคัดเลือก ผู้บริหารสถานศึกษา,บุคลากรฯ38ค(2)และครูผู้ช่วย
เปิดอ่าน 19,009 ☕ คลิกอ่านเลย

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
เปิดอ่าน 12,921 ☕ คลิกอ่านเลย

มติ ครม. 10 ก.ค.55 ทีเกี่ยวข้อง กับ ศธ.
มติ ครม. 10 ก.ค.55 ทีเกี่ยวข้อง กับ ศธ.
เปิดอ่าน 14,092 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดม่านการศึกษา : 16 เม.ย. 58 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดม่านการศึกษา : 16 เม.ย. 58 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดอ่าน 9,482 ครั้ง

คำเตือน เมนทอส กับเบียร์ อันตรายถึงชีวิต
คำเตือน เมนทอส กับเบียร์ อันตรายถึงชีวิต
เปิดอ่าน 14,964 ครั้ง

รวม 10 อันดับขับรถสุดเห่ย ขอให้มีสตินะครับ
รวม 10 อันดับขับรถสุดเห่ย ขอให้มีสตินะครับ
เปิดอ่าน 16,393 ครั้ง

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อของติดคอเด็ก
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อของติดคอเด็ก
เปิดอ่าน 22,127 ครั้ง

ธรรมคุณ 6
ธรรมคุณ 6
เปิดอ่าน 200,855 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ