วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2016 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเฉพาะกิจออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559 เวลา 20.15 น. โดยมีพันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นพิธีกร
ในประเด็นด้านการศึกษา นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามพิธีกร ดังนี้
พิธีกร: การปฏิรูปการศึกษาของรัฐ
นายกรัฐมนตรี: ทุกคนต้องมองว่าการปฏิรูปเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วย แต่คราวนี้เราจะทำอย่างไร เราไม่ได้ว่าระบบเราเหลวแหลก ล้มเหลวไปทั้งหมด ไม่เช่นนั้นอยู่ไม่ได้ ประเทศนะ ทีนี้ทำยังไงจะดีขึ้น ดีขึ้นก็คือว่า ผลิตคนที่ตรงความต้องการของประเทศ แล้วประชาชนมีการเรียนรู้มากกว่าเรียนเพื่อจะรับปริญญา หรือเพื่อจะเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ใช่ ต้องเรียนรู้ทั้งในภาคการศึกษา แล้วสอนให้คนมีคุณธรรม ไม่ทุจริตอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นอนาคตทั้งนั้น
การศึกษาที่เราเร่งมากที่สุดคือว่า ทำอย่างไรจะมีการบูรณาการระหว่าง 5 แท่งให้ได้ ผมก็จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ในการที่จะ แก้ไขปัญหา ไม่ใช่ยุบ เพียงแต่ว่ามีคณะกรรมการบูรณาการมา ไม่เช่นนั้นทุกแท่นทำกันเองหมด พรบ. ตัวเอง งบประมาณตัวเอง เสร็จแล้วรัฐมนตรีก็สั่งอะไรไม่ได้มากนัก เพราะแบ่งงานให้รัฐมนตรีช่วยไปหมด นั่นคืออดีต
วันนี้ผมให้รัฐมนตรีว่าการรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวข้างบน แล้วสั่งการลงมา มีรัฐมนตรีช่วย ช่วยกันแล้วก็ขับเคลื่อนคณะกรรมการ ขับเคลื่อนบูรณาการด้านการศึกษา ซึ่งมี 5 แท่ง คือหัวหน้าหน่วยงาน 5 แท่ง จะสร้างไปข้างล่างให้ต่อกัน ตอนนี้หลายอย่างเกิดขึ้นมาใหม่แล้ว อาจจะไม่ทันใจมากนัก เพราะติดกฎหมายหลายตัว ไม่จำเป็นผมไม่ใช้ เกี่ยวกับเรื่องการศึกษา แต่จำเป็นจริง ๆ
วันนี้มีจัดตั้งเขตการศึกษาใหม่ 18 เขต แล้วให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอะไรต่างๆ ก็เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การศึกษา อบท. อะไรต่างๆ แต่อย่าเพิ่งไปโอนให้ใครเลย ผมว่าวันนี้ทุกคนมาร่วมมือกัน ทำให้การศึกษาในท้องที่ดีขึ้น วันนี้คณะกรรมการ 12 คณะของเราก็ลงไปดูเรื่องการศึกษาด้วย มีการจัดทวิภาคีด้วย ก็หลายอย่างมาเสริมกันหมด หลายอย่างก็ให้ติดตามแล้วกัน
อันที่สองคือการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาเรียนรู้ อันนี้คือเรียนและเรียนรู้ เรียนเพื่อปริญญา เรียนเพื่อตัวเอง แต่ก็ต้องเรียนรู้เพื่อสังคมด้วย จะต้องอยู่กันยังไง ไม่ขัดแย้ง อันนี้ สอง สาม พูดรวมกันแล้วกัน
อันที่สี่คือโครงการ “โรงเรียนคู่พัฒนา” ที่เรียกว่าทวิภาคี ยังไง คือจะต้อง โรงเรียนนี้ กับโรงเรียนโน้น พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อนไปด้วยกัน แล้วทั้งสองโรงเรียนก็จะเป็นคู่กันในการพัฒนาร่วมกัน จะได้ลดความแตกต่าง ในด้านมาตรฐานการสอน ที่ผ่านมาบางทีต่างคนต่างสอน ไม่ได้ดูกันยังไง วันนี้ต้องดูกันแล้วก็พัฒนาตัวเองให้เท่าเทียม คนได้ประโยชน์คือใคร คือเด็กใช่หรือไม่ คือครูใช่ไหม คือประเทศชาติใช่หรือไม่
อันที่ห้าคือ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มไว้ DLTV นานแล้ว วันนี้เราก็สามารถทำได้ทั้งหมดแล้ว ประมาณ 15,000 กว่าโรงเรียน เพื่อสนองแนวทางพระราชดำริ กำลังปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้น ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงต้องไปสู่การเป็น Digital Economy ด้วย
ต่อไปเรื่องที่หก คือโรงเรียนประชารัฐ เรามีความมุ่งหมายว่า ทำยังไงจะทำให้มีส่วนร่วมในโรงเรียนเหล่านี้ ในการประสานความร่วมมือในภาคประชารัฐ ในภาคประชาชน ภาครัฐบาล ภาคประชาสังคม มาร่วมมือในโรงเรียนด้วย เป้าหมายระยะแรก 1 ตำบล 1 โรงเรียนต้นแบบก็คือ 7,424 แห่ง แต่ละตำบลนะครับ แล้วต่อไปก็จะขยายลงมา จากตำบลก็ไปเป็น พื้นที่ ๆ เล็กลงไปกว่านั้น
พิธีกร: เข้าไปถึงหมู่บ้านเลย
นายกรัฐมนตรี: ต้องดูกัน ต้องฝากครูฝากบุคคลากรทางการศึกษาช่วยดูกันด้วย ดูแลด้วย ถ้าเราไม่ทำตามนี้ ไปไม่ได้ ต่างคนต่างเรียน ต่างคนต่างขับเคลื่อน ไม่ได้
เรื่องการขับเคลื่อนเรื่องวิจัยพัฒนานี่สำคัญ เพราะเราบางทีรัฐลงทุนไม่ได้มากนัก ต้องไปร่วมมือกับใคร ของรัฐก็มี ของ สวทช. ของ ภาคเอกชนที่ ทุกบริษัทใหญ่ๆ เขามีหมด สถาบันวิจัยของเขาเอง เราก็ไปร่วมมือกับเขา อันที่สามร่วมมือกับสถานศึกษาของเราตามมหาวิทยาลัยมีมากมาย เรื่องวิจัย ตอนนี้รัฐบาลกำลังรวบรวมทั้งหมดไว้ แล้วมาดูซิว่าเราจะจัดระเบียบตรงนี้อย่างไร ทุนการศึกษา เฉพาะในสิ่งที่เราต้องการนี่เป็นหลัก
อันที่สองคือตามอิสระ ต้องจัดการอย่างนี้ ถ้าเพียงจ่ายทุน ๆ แล้วกลับมาอะไรหรือเปล่าไม่รู้ไปไหนก็ไม่รู้ อย่างนี้ไม่ได้ วันนี้ก็ให้รวบรวมมาได้แล้วนะ ประเทศไทยมีจบปริญญาเอกเท่าไรรู้ไหม 30,000 กว่าคน
พิธีกร: เป็น ดอกเตอร์ ทั้งนั้นเลย
นายกรัฐมนตรี: ดอกเตอร์ 3 หมื่นกว่าคน ต้องทำให้ดอกเตอร์ 3 หมื่นกว่าคน ทำให้คนไทยฉลาดขึ้นให้ได้ แล้วทำให้คนไทยเลิกความขัดแย้ง ให้เข้าใจว่าโลกภายนอก เขาเป็นอย่างไร มองตัวเองคนเดียวไม่ได้แล้ว ต้องแก้ไข เรื่องการพัฒนาระบบ ICT ให้กว้างขวางทั่วประเทศ พูดไปแล้ว
ตัวอย่างที่เห็นเร็วๆ ตอนนี้ก็คือ “การสร้างพลังประชารัฐ จากพลังเยาวชน” ผ่านกลไกสภานักเรียน ซึ่งผมเห็นกระทรวงศึกษาเขาทำอยู่ มีประโยชน์ แล้วก็มีความก้าวหน้ามากขึ้น ผมคิดว่าสิ่งนี้จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต
พิธีกร: เท่าที่เห็นทุก ๆ ปี สภานักเรียนจะมายื่นข้อเสนอกับท่านนายกฯ ทีนี้ ฝันของสภานักเรียนจะเป็นจริงแล้วใช่ไหมคะ
นายกรัฐมนตรี: ต้องเป็นจริงเพราะว่า แต่บางอย่างเป็นปัญหาที่ทับซ้อน ต้องแกะออกมา ต้องแกะปัญหาออกมาเป็นปัญหาย่อย ปัญหาเล็กน้อย แล้วก็แก้ทีละปัญหา ปัญหาใหญ่ถึงจะจบ อะไรที่แก้ได้เลยก็แก้เลย กระทรวงศึกษาต้องแก้เลยนะ ผมถึงให้อำนาจเขา เพราะฉะนั้นจะต้องให้ทำงานร่วมกันกับกระทรวงศึกษา ของสภานักเรียน ให้ครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ในสังคม วันนี้ก็เห็นเขามีความสุขขึ้น ตัวแทนมาพบรัฐมนตรีศึกษา ก็บอกพอใจ ศธ. จะเป็นตัวกลาง เชื่อมสภานักเรียนกับกระทรวงยุติธรรม ในเรื่องของยาเสพติด เชื่อมกับกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่องป่า น้ำ ขยะ กระทรวงวัฒนธรรม เรื่องการเสพสื่อ Social เหล่านี้ ก็ต้องเร่งทุกอัน กระทรวงศึกษากำลังทำอยู่ แล้วต้องนำเรื่องของกรปลูกฝังประชารัฐ ฟังเสียงเยาวชน ร่วมสร้าง กำหนดอนาคตที่เด็กๆ ต้องการ เพื่อจะสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ 20 ปีข้างหน้าด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 29 เมษายน 2559