Advertisement
❝ ข้อมูลการพิจารณาการต่อ กบข. ❞
1. ในกรณีที่ไม่ต่อกบข.(มีอายุราชการไม่น้อยกว่า 9 ปี 6 เดือน,น้อยกว่านี้ถ้าออกรับบำเหน็จ)
1.1 ข้อดี
- ได้รับเงินบำนาญเลยทันที นับย้อนหลังตั้งแต่วันที่ลาออกเป็นพนักงาน
ต่ำสุด 5,100 บาท(อนาคตตาม มติ ครม.เดือน พย.2551 ได้ 6,000 บาท แต่ต้อง
รอ ทำประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาก่อน)
- สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลได้รับทันที เพราะเป็นข้าราชบำนาญ
- ได้รับเงินจาก กบข.ทุกหมวด พร้อมเงินดำรงชีพ
(15 เดือนของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท)
(สถานการณ์ ของกบข.ตอนนี้เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจโลก (ติดลบ))
(เงินกองทุน กบข.จ่ายสมทบจากสมาชิก ยังติดบวกภายใน 8 ปีนี้ คือเงินที่รับจาก
สมาชิกยังมียอดเงินมากกว่าที่ต้องจ่ายให้สมาชิกที่ออกเพราะเกษียณ)
- ไม่มีภาระผูกพันกับ กบข.แล้ว ดังนั้น ถ้าถูกประเมินออก หรือต้องการลาออกจาก
การเป็นพนักงาน หลังจากทำงานไประยะหนึ่งแล้วไม่ต้องการทำต่อ ก็ยังเป็น
ข้าราชการบำนาญตลอดชีวิต ถึงแม้จะมีอายุการทำงานของข้าราชการ บวก
พนักงานไม่ถึง 25 ปี หรืออายุของตนเองยังไม่ถึง 50 ปี
1.2 ข้อเสีย
- เงินบำนาญน้อยเกินไป ไม่พอใช้เมื่อมีอายุ 60 ปี (ตอนที่เกษียณ)
2. ในกรณีที่ต่อ กบข.
2.1 ข้อดี
- เงินบำนาญได้มากเมื่อมีอายุ 60 ปี (ตอนที่เกษียณ)ได้รับเงินบำนาญ ตามการขึ้น
เงินเดือนของบัญชีอ้างอิงปีละขั้นครึ่ง ถ้าปีใดเป็นพนักงานแล้วถูกประเมินไม่ขึ้นเงิน
เดือน ก็จะไม่ได้ขึ้น ขั้นครึ่งในปีนั้น และไม่มีเพดานในการขึ้นเงินเดือนตามบัญชี
อ้างอิง ดังนั้นส่วนใหญ่จะได้รับบำนาญไม่น้อยกว่า 30,000 บาท ตอน อายุ 60 ปี
- เงินที่ถูกหักสมทบกองทุนกบข. หัก 3 %หลวงจะสมทบให้อีก 5 %
(จ่าย 3 %ได้ 8 %ในแต่ละเดือน)
2.2 ข้อเสีย
- ยังไม่ได้รับเงินบำนาญ จะได้รับตอนที่เกษียณ 60 ปี
- ยังไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาล ถึงแม้กฤษฎีกาจะตีความว่าได้ แต่ยัง
ต้องรอ มติ ครม. เพื่อทำประกาศเพิ่มเติมให้มีสิทธิในการรับสวัสดิการ (ต้องรอ???)
ใบเสร็จต้องเก็บไว้ก่อน และถ้ามีอายุของใบเสร็จเกินหนึ่งปี สามารถทำข้อตกลง
กับทางสำนักงบประมานในการเบิกย้อนหลังได้
- ยังมีภาระผูกพันกับ กบข. โดยเราได้สละสิทธิการเป็นข้าราชการบำนาญเพราะ
เหตุทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง (สิทธินี้คือได้เป็นข้าราชการบำนาญ ถ้าทำงาน
เพียง 9 ปี 6 เดือน) ดังนั้นหลังจากทำงานไประยะหนึ่งแล้วไม่ต้องการทำต่อ หรือถูก
ประเมินออก ถ้ามีอายุการทำงานของข้าราชการ บวกพนักงานไม่ถึง 25 ปี หรืออายุ
ของตนเองยังไม่ถึง 50 ปี ตนเองจะไม่ได้เป็นข้าราชบำนาญ จะได้รับบำเหน็จและ
เงิน กบข.จะไม่ได้รับทุกหมวดตามกฎของ กบข.
- และถ้าทำงานเป็นพนักงานไประยะหนึ่ง ต้องการออกจาก กบข.อย่างเดียว โดยยัง
ต้องการทำงานเป็นพนักงานอยู่ไม่สามารถทำได้ ต้องออกจากการเป็นพนักงาน
ด้วย และถ้ามีอายุการทำงานของข้าราชการ บวกพนักงานไม่ถึง 25 ปี หรืออายุ
ของตนเองยังไม่ถึง 50 ปี ตนเองจะไม่ได้เป็นข้าราชบำนาญ จะได้รับบำเหน็จและ
เงิน กบข.จะไม่ได้รับทุกหมวดตามกฎของ กบข.เช่นกัน
วันที่ 9 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,265 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,296 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,291 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,542 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,686 ครั้ง |
เปิดอ่าน 40,378 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,384 ครั้ง |
เปิดอ่าน 79,164 ครั้ง |
|
|