ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"


บทความการศึกษา 3 มี.ค. 2559 เวลา 19:43 น. เปิดอ่าน : 16,523 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"

29 กุมภาพันธ์ 2559 พลันที่รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสที่สี่และภาพรวมปี 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ ถูกเผยแพร่ออกมา ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษาสไลด์ประกอบการรายงาน ก็ให้สะดุดกับข้อมูลเกี่ยวกับสัมฤทธิผลทางการศึกษาที่ดูเหมือนยิ่งระดับการศึกษาสูงขึ้น ความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเยาวชนของชาติดูจะแย่ลง แม้ดูเหมือนในระดับการศึกษาเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปค่าเฉลี่ยของผลการสอบดูเหมือนจะทรงๆ ค่อนไปทางขยับตัวสูงขึ้นบ้างเล็กน้อย ต่อเมื่อชำเลืองมองไปที่กราฟแท่งแสดงร้อยละของรายจ่ายการศึกษาภาครัฐต่อ GDP ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าประเทศไทยมีการลงทุนไปกับการศึกษาเป็นสัดส่วนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ถ้าข้อมูลในกราฟซึ่งอ้างมาจาก UNDP ปี ค.ศ.2014 ที่ระบุว่าไทยลงทุนไปกับการศึกษาคิดเป็นสัดส่วน 7.6% ของ GDP แล้วเกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษาไทย?

เพื่อความมั่นใจในข้อมูล ผู้เขียนตามไปดูผลการจัดอันดับ “World Talent Report 2015” ซึ่งดำเนินการโดย The IMD World Competitiveness Center ของสวิสเซอร์แลนด์ โดยการทำสำรวจขีดความสามารถของประเทศต่างๆ 61 ประเทศ กรณีของ “World Talent Report 2015” จะพิจารณาปัจจัยต่างๆ 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านการลงทุนและพัฒนา (Investment and Development) ปัจจัยด้านความดึงดูด (Appeal) และปัจจัยด้านความพร้อม (Readiness)

ในส่วนของ “ปัจจัยด้านการลงทุนพัฒนา” IMD สนใจการลงทุนในภาคการศึกษา ทั้งยอดรวมการลงทุน และค่าเฉลี่ยต่อจำนวนนักเรียน สัดส่วนครูต่อจำนวนนักเรียน การฝึกงาน การฝึกอบรมพนักงาน การใช้แรงงานสตรี และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข “ปัจจัยด้านความดึงดูด” ก็จะสนใจค่าครองชีพ คุณภาพชีวิต แรงจูงใจ อัตราสมองไหล ความสามารถในการดึงดูดให้คนทำงาน การจ่ายค่าตอบแทน ในขณะที่ “ปัจจัยด้านความพร้อม” ก็จะพิจารณาอัตราการเติบโตของแรงงาน แรงงานทักษะ ความสามารถด้านการเงิน ประสบการณ์ทำงานกับต่างประเทศ ความสามารถของผู้บริหารระดับสูง ระบบการศึกษา การศึกษาระดับอุดมศึกษา การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และการจัดการ ภาษา และการประเมินสัมฤทธิผลทางการศึกษา สรุปง่ายๆ ว่าปัจจัยด้านความพร้อมดูเหมือนจะแสดงให้เห็นผลลัพธ์ของการลงทุน และการบริหารจัดการ (อันส่งผลต่อการดึงดูดให้ผู้คนจะทำงานด้วย) ความสนุกและน่าสนใจเกิดขึ้นเมื่อเราพลิกไปดูผลการสำรวจและจัดอันดับ “Talent” ของประเทศไทยเทียบกับอีก 60 ประเทศ (รวม 61 ประเทศ) ผู้เขียนขอชวนคุณผู้อ่านพุ่งความสนใจไปที่ปัจจัยด้านการลงทุน เทียบกับปัจจัยด้านความพร้อม

ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเรามีการลงทุนในภาคการศึกษาสูงเป็นอันดับต้นๆ ของ 61 ประเทศ แต่ทว่าผลลัพธ์ตอนจบกลับพบว่าทักษะฝีมือ การศึกษาระดับอุดมศึกษา ภาษา และการทดสอบสัมฤทธิผลทางการศึกษากลับตกไปอยู่อันดับท้ายๆ ของประเทศทั้งหมด (อันดับเกิน 45 แทบจะทุกรายการ)

เกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาบุคคลากรของประเทศไทย?

ผู้เขียนสอนหนังสืออยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ.2537 เมื่อครั้งสำเร็จการศึกษาแค่ระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ และผ่านเข้าสู่กระบวนการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยด้วยการรับทุน ทั้งการทำวิทยานิพนธ์ร่วมกับนักวิจัยชื่อดังในต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก อาจกล่าวได้ว่าได้เคยผ่านการเป็นอาจารย์รุ่นเยาว์ความรู้ระดับปริญญาตรี-โท ในช่วง 8 ปีแรกของการทำงาน ยอมรับว่าก็สามารถสอนหนังสือให้กับลูกศิษย์ด้วยระดับความรู้และประสบการณ์เท่าที่เคยมี และอาจพูดว่าตัวเองเริ่มเข้าสู่การเป็นครูบาอาจารย์เต็มตัวหลังปี พ.ศ.2547 เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาเอกและมีประสบการณ์ทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น โดยประสบการณ์ส่วนตัวหากว่ากันโดยปัจเจกบุคคล ผู้เขียนพบว่านักเรียนนักวิชาการของไทยหลายต่อหลายคนที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศไม่ได้มีทักษะฝีมือด้อยไปกว่าชาวต่างชาติเลย บ่อยครั้งมีทักษะฝีมือที่เหนือกว่าด้วยซ้ำ จากข้อมูลทั้งของสภาพัฒน์ฯ และ IMD ดูเหมือนประเทศไทยอาจจะไม่ได้มีปัญหากับการจัดการศึกษาขั้นมูลฐานนัก แต่อาจจะเริ่มโซซัดโซเซในระดับมัธยมปลาย อาชีวศึกษา และล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในระดับอุดมศึกษา

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาในประเทศไทย?

เราไม่ได้ไม่ลงทุนกับการศึกษา เราไม่ได้ไม่ใส่ใจกับการศึกษา (เผลอๆ ใส่ใจมากเกินไปจนถึงกับต้องมากรอกสารพัดเอกสารเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อนๆ อาจารย์ด้วยกันคงคุ้นเคยและมีความสุขกับการกรอกเอกสาร “มคอ” ที่ใครๆ แซวว่า “ไม่มีใครอ่าน” กันอย่างดี)

อยากฝากผู้อ่านช่วยกันคิด แล้วเราจะกลับมาคุยกันต่อในตอนต่อไปครับ

 

ผู้เขียน ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 3 มีนาคม 2559

 

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"บทความพิเศษเมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ครูพันธุ์ควอลิตี้

ครูพันธุ์ควอลิตี้


เปิดอ่าน 9,370 ครั้ง
เคล็ดลับเรียนแล้วรวย

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย


เปิดอ่าน 7,937 ครั้ง
การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก


เปิดอ่าน 8,878 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน

4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน

เปิดอ่าน 11,303 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1
ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1
เปิดอ่าน 6,618 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษา...จากแนวราบ กลับสู่แนวดิ่ง
การศึกษา...จากแนวราบ กลับสู่แนวดิ่ง
เปิดอ่าน 12,624 ☕ คลิกอ่านเลย

อุดมศึกษาไทยเสื้อไซซ์เดียว
อุดมศึกษาไทยเสื้อไซซ์เดียว
เปิดอ่าน 8,389 ☕ คลิกอ่านเลย

การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
เปิดอ่าน 16,221 ☕ คลิกอ่านเลย

สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
สร้างความรู้ใหม่ คือหัวใจปฏิรูปการศึกษา : เสรี พงศ์พิศ
เปิดอ่าน 10,485 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
เปิดอ่าน 8,306 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ดาวน์โหลดที่นี่ แบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็ว  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เริ่มใช้ภาคเรียนที่ 1/2559
ดาวน์โหลดที่นี่ แบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เริ่มใช้ภาคเรียนที่ 1/2559
เปิดอ่าน 163,646 ครั้ง

วิธีทำให้ความจำดีขึ้น
วิธีทำให้ความจำดีขึ้น
เปิดอ่าน 14,716 ครั้ง

คุณครอบครองลูกได้กี่ปี? ทุกๆปีสำคัญขนาดไหน? อ่านดูแล้วรู้เลยว่าทุกเวลามีค่าขนาดไหน!
คุณครอบครองลูกได้กี่ปี? ทุกๆปีสำคัญขนาดไหน? อ่านดูแล้วรู้เลยว่าทุกเวลามีค่าขนาดไหน!
เปิดอ่าน 17,631 ครั้ง

ตัวอย่างใบงานจากการ์ตูนความรู้
ตัวอย่างใบงานจากการ์ตูนความรู้
เปิดอ่าน 49,456 ครั้ง

ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้
เปิดอ่าน 33,358 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ