ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โอเน็ต!ยัง โอเค?


บทความการศึกษา 16 ก.พ. 2559 เวลา 10:36 น. เปิดอ่าน : 9,344 ครั้ง
Advertisement

โอเน็ต!ยัง โอเค?

Advertisement

ย้อน กลับไปเมื่อราว 25 ปีก่อน เวลาผ่านเลยช่วงหัวค่ำไปเนิ่นนานแล้วท่ามกลางความมืดที่อยู่รายรอบของสนามกีฬาจารุเสถียร ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ "สนามจุ๊บ" (ปัจจุบันเป็นสนามกีฬาของสโมสรฟุตบอลจามจุรี ยูไนเต็ด) เมื่อสายตาเริ่มปรับเข้ากับความมืดได้ ก็พลันเห็นเงาร่างของคนจำนวนมากที่ต่างเคลื่อนตัวเข้าไปยังเป้าหมายเดียวกัน ในมือของแต่ละคน หากไม่พกเทียนพร้อมไฟแช็ค ก็จะมีไฟฉายขนาดพอกระชับมือราวกับเป็นกระบี่แสง (Lightsaber) ของนักรบเจไดก็ไม่ปาน ปลายทางของทุกคนล้วนอยู่ที่บอร์ดเบื้องหน้าที่เจ้าหน้าที่เพิ่งนำกระดาษประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเอ็นทรานซ์มาติดบนบอร์ด รายชื่อบนกระดาษสีขาวเหล่านั้นคือตัวชี้ชะตาของคนหนุ่มสาวที่เพิ่งผ่านพ้นช่วงวันคืนแห่งการเป็นนักเรียนมัธยมมาหมาดๆ ว่า "คืนส่องเทียน" คืนนั้นจะเป็นช่วงเวลาแห่งความขื่นขม หรือว่าสุขสมหวังที่ตัวเองสามารถสอบคิดคณะหรือมหาวิทยาลัยในฝันได้สมดังใจ

โอเน็ต! ยังโอเค?

เหตุการณ์ในตอนต้นนั้นเป็นภาพทรงจำของคนไทยที่เคยผ่านการสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษาในระบบเอ็นทรานซ์ ที่นักเรียนนักศึกษามีโอกาสเข้ารับการทดสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อเพียงปีละครั้ง ซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกบุคคลที่อยากจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาที่ถูกใช้มาอย่างยาวนาน ก่อนหน้าที่จะถูกแทนที่ด้วยระบบ Admission ในปี 2548

ในระบบใหม่นี้คะแนนของผู้ที่จะถูกคัดเลือกเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาจะไม่ได้มาจากการสอบเพียงอย่างเดียวทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังมีคะแนนบางส่วนจากเกรดเฉลี่ยของที่โรงเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อด้วย โดยนักเรียนต้องผ่านการทำแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า โอเน็ต (O-Net) โดยมี สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้ นักเรียนนักศึกษาที่เข้ารับการทดสอบ จะต้องสอบทุกช่วงชั้นของ 4 ช่วงชั้น (ป.3, ป.6, ม.3, ม.6) โดยสำหรับในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1 ภาษาไทย 2 คณิตศาสตร์ 3 วิทยาศาสตร์ 4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5 ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

อย่างไรก็ดี แม้การริเริ่มนำระบบแอดมิชชั่นมาใช้นั้นจะเป็นผลมาจากการประเมินว่า การสอบคัดเลือกด้วยระบบเอ็นทรานซ์ ที่นักเรียนทุกคนต้องทำแบบทดสอบจากส่วนกลางเช่นเดียวกันทั้งหมดนั้นอาจมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำจากมาตรฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน แต่กระนั้นเมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และมีการปรับปรุงรายละเอียดของวิธีการคัดเลือกให้มีปัญหาหรือข้อบกพร่องน้อยที่สุดแล้ว แต่ก็ยังมีการตั้งข้อสังเกตถึงมาตรฐานและความเหมาะสมของแบบทดสอบโอเน็ตกันอยู่เป็นระยะ รวมถึงเมื่อเร็วๆ นี้ที่มีการนำตัวอย่างข้อสอบโอเน็ตหรือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานมาแชร์กันในโลกโซเชียล โดยมีคำถามเดิมๆ เกิดขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังนำไปสู่คำถามต่อไปว่า ถึงเวลาหรือยังที่การสอบคัดเลือกบุคคลที่อยากเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาจะต้องได้รับการปฏิรูปอีกครั้ง

เสียงสะท้อนมาตรฐานโอเน็ต

หลังจากที่กลายมาเป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้ง ภายหลังจากที่มีการเผยแพร่ตัวอย่างข้อสอบโอเน็ต ในสื่อสังคมออนไลน์ จนถูกวิพากษ์วิจารย์ถึงความเหมาะสม ซึ่งในครั้งนี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และรีบออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวในทันที

โดยยอมรับว่า ข้อสอบดังกล่าวมีความไม่เหมาะสมจริง และไม่สามารถประเมินคุณภาพทางการศึกษาได้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน จากทั้งการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยทางกระทรวงฯ ได้เตรียมออกมาตรการแก้ไข ทั้งการเผยแพร่แนวข้อสอบ การจัดทำคลังข้อสอบ รวมถึงการเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกร่วมออกข้อสอบด้วย โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.กระทรวงศึกษาธิการได้แถลงถึงกรณีนี้ว่า "เรื่องแบบนี้ต้องไม่เกิดขึ้นอีก ถ้ามีเกิดขึ้นอีก ต้องมีคนรับผิดชอบ สรุปก็คือต้องมีการแก้ตั้งแต่มาตรฐานขอหลักสูตร มีการแก้ตั้งแต่การได้มาซึ่งข้อสอบ จะสอบอะไรก็ต้องมีการบอกล่วงหน้า มีการแก้ตั้งแต่ต้องมีการตรวจข้อสอบ ทั้งในเชิงคุณภาพ ไม่ใช่อ่านอย่างเดียว แต่ต้องลงไปทดสอบเด็กด้วย"

ด้านครูผู้สอน ซึ่งเป็นผู้ปฎิบัติในการเรียนการสอน มองว่า หากจะแก้ปัญหานี้ ควรมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างผู้ออกข้อสอบ ผู้ออกแบบหลักสูตร สถาบันอุดมศึกษา และครูผู้ปฎิบัติงานจริง รวมทั้งควรมีการประเมินปริมาณและเนื้อของข้อสอบ ให้เหมาะสมกับระยะเวลาการทำ แผนการเรียน และความรู้ของเด็กด้วย

"ในกระบวนการของการออกข้อสอบของ สทศ. นั้น เขาควรเชิญให้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์ในฝ่ายปฏิบัติจริงๆ ก็คือ เป็นอาจารย์ผู้สอน อาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือท่านใดก็ตามแต่ที่มีความสามารถมากๆ ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการออกข้อสอบด้วย เนื่องจากว่า อาจารย์ผู้สอนจริงๆ เขาน่าจะมองเห็นภาพ แล้วก็เห็นปัญหา แล้วก็สามารถประเมินความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนได้ว่า ความสามารถของนักเรียนอยู่ ณ จุดใด และข้อสอบควรจะออกมาในรูปแบบไหน" สุพรรษา ศรประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสารวิทยา กล่าว

สำหรับเรื่องนี้ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คงหนีไม่พ้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยพวกเค้าเห็นด้วยกับการบอกแนวข้อสอบ แต่ก็ต้องการให้มีการออกข้อสอบที่เน้นการวิเคราะห์ มากกว่าการท่องจำ เพราะจะสามารถวัดความรู้ความเข้าใจได้มากกว่า พร้อมอยากให้พิจารณาถึงเรื่องเวลาเรียนของนักเรียนชั้น ม.6 เนื่องจากส่งผลต่อการเตรียมตัวในการสอบ "ผมว่าน่าจะออกข้อสอบที่อยู่ในเนื้อหาของทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ครอบคลุมกันนะครับ อาจจะเป็นศิลป์สักประมาณ 50% วิทย์อีก 50% มาปนๆ กันนะครับ แล้วก็เป็นข้อสอบที่ไม่เจาะลึกมากเกินไป" ภุชงค์ ล่ำสัน นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสารวิทยา แสดงข้อคิดเห็น

อย่างไรก็ตาม จวบจนถึงตอนที่รายงานนี้ ยังไม่มีบทสรุป ออกมาอย่างชัดเจนหรือเป็นรูปธรรมว่า ทิศทางของการคัดเลือกบุคคลที่อยากจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในช่วงเวลาจากนี้จะเป็นอย่างไร จะเป็นเพียงปรับย่างก้าวในปัจจุบันคือ การปรับปรุงแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ให้มีความเหมาะสม และเปี่ยมประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นการปฏิรูปการคัดเลือกด้วยการเฟ้นหาวิธีการใหม่ ที่น่าจะมีผลดีกับ ตัวนักเรียนไปจนถึงคุณภาพของการศึกษาของประชากรในประเทศ แต่ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบไหน เราก็หวังอย่างยิ่งว่า ความพยายามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะนำพาการศึกษาของไทยไปถึงเป้าหมาย คือ คุณภาพการศึกษาและคุณภาพของคนที่ดียิ่งขึ้น เพราะเรื่องการศึกษาของเด็กไทยมีคุโณปการต่อการพัฒนาของประเทศมากกว่าที่จะมาเสียเวลาเปล่าไปกับการลองผิดลองถูกเท่านั้น

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์นิวร้อยแปด 


โอเน็ต!ยัง โอเค?โอเน็ต!ยังโอเค?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย


เปิดอ่าน 7,904 ครั้ง
การศึกษาในกะลา

การศึกษาในกะลา


เปิดอ่าน 11,535 ครั้ง
คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 17,076 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?

การประเมินจากภายนอกสถานศึกษาจำเป็นหรือไม่?

เปิดอ่าน 6,499 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การศึกษาไทยต้อง Change สถานเดียว
การศึกษาไทยต้อง Change สถานเดียว
เปิดอ่าน 9,138 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทยจะเอา "คุณภาพ" หรือ "คุณธรรม"
การศึกษาไทยจะเอา "คุณภาพ" หรือ "คุณธรรม"
เปิดอ่าน 23,788 ☕ คลิกอ่านเลย

อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย "อ่านน้อย" จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้
อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซ้ำร้าย "อ่านน้อย" จับประเด็นไม่ได้ วิกฤตใหญ่ที่ไทยต้องแก้
เปิดอ่าน 21,853 ☕ คลิกอ่านเลย

เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เปิดอ่าน 9,033 ☕ คลิกอ่านเลย

ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
เปิดอ่าน 14,328 ☕ คลิกอ่านเลย

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
เปิดอ่าน 11,534 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

บทบาทผู้นำองค์กร 2020
บทบาทผู้นำองค์กร 2020
เปิดอ่าน 8,799 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริโภค "ต้นหอมญี่ปุ่น"
ประโยชน์ของการบริโภค "ต้นหอมญี่ปุ่น"
เปิดอ่าน 20,289 ครั้ง

อังกฤษเตรียมเปลี่ยนชื่อ "บิ๊กเบน" ตามพระนามควีน
อังกฤษเตรียมเปลี่ยนชื่อ "บิ๊กเบน" ตามพระนามควีน
เปิดอ่าน 8,765 ครั้ง

บาร์โค้ด ประวัติ การประดิษฐ์บาร์โค้ด รหัสแท่งมหัศจรรย์
บาร์โค้ด ประวัติ การประดิษฐ์บาร์โค้ด รหัสแท่งมหัศจรรย์
เปิดอ่าน 42,654 ครั้ง

จัดสวนอย่างไร ให้มี "ฮวงจุ้ย" ดี
จัดสวนอย่างไร ให้มี "ฮวงจุ้ย" ดี
เปิดอ่าน 18,861 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ