คอลัมน์ Education Ideas โดย ดร.ดนุวัศ สาคริก มหาวิทยาลัยรังสิต
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีนโยบายคืนความสุขให้ประชาชน (นักเรียน) ที่น่าสนใจสำหรับวงการการศึกษาบ้านเรา ที่มีการออกประกาศปรับลดวิชาสอบโอเน็ต?จาก 8 เหลือ 5 วิชา ของกระทรวงศึกษาธิการ มีผลในปีการศึกษา 2558 นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูป?การศึกษาที่พยายามมุ่งเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ลดความเครียดให้เด็ก ?มุ่งเสริมความแข็งแกร่งในทักษะด้านอื่น?ให้มากขึ้นนั้น เป็นก้าวใหม่ของการปฏิรูป?การศึกษาที่น่าจับตามอง
โดยจะต้องติดตามว่าจะเป็นอย่างไร ? ?ได้ผล หรือไม่ได้ผล ?
นอกจากนโยบายลดการสอบในบ้านเราแล้ว ต่างชาติก็มีให้เห็นเช่นกันครับ อย่างข้อมูลของ Council of Great City Schools บอกว่าเด็กนักเรียนในสหรัฐอเมริกาใช้เวลาราว ๆ 20-25 ชั่วโมงต่อปีกับการสอบภาคบังคับ ทั้งข้อสอบระดับชาติ (Federal Exam) และข้อสอบระดับรัฐ
ตรงนี้เองที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ?ได้เล็งเห็น และให้มีการปรับลดชั่วโมงการสอบลงเหลือ 2% ของชั่วโมงเรียนทั้งหมด พร้อมกับให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาท หรือมีส่วนร่วมรับผิดชอบปรับเปลี่ยนระบบการสอบโรงเรียนทุกแห่งในสหรัฐอเมริกา โดยมีแผนคือช่วยครูผู้สอนลดการวัดผลการเรียนที่เป็นภาระและไม่เป็นประโยชน์กับทั้งนักเรียน และผู้สอนเอง
ขจ
จากสถิติของนักเรียนในสหรัฐอเมริกาที่ต้องทำข้อสอบภาคบังคับราว ๆ 112 ข้อสอบ ตั้งแต่ก่อนเข้าอนุบาลจนถึงจบมัธยมปลาย จะเห็นว่าเวลาที่ใช้ไปกับข้อสอบภาคบังคับระหว่างปี 2014 -15 ?นั้นอยู่ราว ๆ 4.2 วัน หรือคิดเป็น 2.3% ของเวลาเรียนทั้งหมดของนักเรียนเกรด 8 ?เรียกว่าเป็นช่วงวัยที่ทำข้อสอบเยอะที่สุด ซึ่งไม่แปลกที่ผู้ปกครองเมื่อรับทราบข้อมูลการสอบของเด็ก ๆ แล้ว จะออกมาแสดงความคิดเห็น และเรียกร้องต่าง ๆ นานา
จนสุดท้ายสภาคองเกรสพิจารณาที่จะแก้ไขกฎหมาย No Child Left Behind และเกิดนโยบายที่เรียกว่า "การตั้งเพดานชั่วโมงการสอบ" ขึ้น
ถือเป็นชัยชนะของการปฏิรูปการศึกษาของอเมริกาเลยทีเดียว
สำหรับบ้านเราการประกาศปรับลดวิชาสอบโอเน็ตคงไม่เพียงมองแค่ว่าลดความเครียดให้เด็กเท่านั้น แต่สำคัญคือตัวข้อสอบที่วัดความสามารถของเด็กที่ควรต้องมีการปฏิรูปไปด้วย เป็นการแก้ทั้งระบบกับโจทย์ที่ว่าการสอบวัดความรู้นั้นต้องการวัดอะไรบ้าง ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กมีศักยภาพจากการเรียนรู้ที่ได้รับจริง ไม่ใช่แค่สอบเพื่อได้คะแนนเท่านั้น
นอกจากนี้การปฏิรูปการศึกษาควรจะทำเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการพัฒนาคนให้ออกไปสู่ตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพเพราะในอนาคตมีแนวโน้มว่าจำนวนแรงงานของไทยจะลดลง ดังนั้น ทุกคนจะต้องมีศักยภาพมีความพร้อมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก
จากประสบการณ์ของผมในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยผมมักจะพบบ่อยครั้งที่นักศึกษาถามว่า...ตรงนี้ออกข้อสอบไหมครับอาจารย์ ?
ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียน และระบบการศึกษาของเราที่ส่วนใหญ่เน้นการเรียนเพื่อไปสอบ ไม่ได้เกิด หรือสร้างการเรียนรู้เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนอย่างแท้จริง เพราะการเรียน?ส่วนมากเกิดขึ้นเพียงในชั้นเรียนเท่านั้น แต่ในประเทศพัฒนาแล้วหลาย ๆ ประเทศตัวผู้เรียนจะนำสิ่งที่ได้ใน?ชั้นเรียนไปค้นคว้าต่อยอดความรู้?นอกห้องเรียนกันเป็นส่วนมาก
การลดการสอบอาจจึงเป็นเพียงการปฏิรูปในเชิงปริมาณเท่านั้นแต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือการคำนึงถึงเรื่องของตัวข้อสอบ ที่ผ่านมาการเรียนการสอนรวมถึงการสอบในหลาย ๆ แห่งในบ้านเราเน้นเรื่องการท่องจำเพียงอย่างเดียว หากต้องการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริงควรให้ความสำคัญกับเนื้อหา และการออกข้อสอบด้วย
การเรียนการสอนและการออกข้อสอบควรมุ่งเน้นไปที่ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ควบคู่ไปกับการท่องจำและทำความเข้าในเนื้อหาวิชาและทฤษฎีต่าง ๆ ด้วย เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีทิศทางที่ดีสำหรับการศึกษาไทยในอนาคตอันไม่ไกลนี้
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 มกราคม 2559