“สมพงษ์” เผยกฎหมายการศึกษาชาติฉบับแก้ไขใหม่เดินหน้าแล้วเกือบ 80% ย้ำเป็นเวลาเหมาะที่ต้องถกเรื่องปรับโครงสร้าง ศธ. แนะดึงทีดีอาร์ไอจัดโครงสร้างใหม่ ชี้หากปล่อยคนในทำกันเองจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
วันนี้ (11 พ.ย.) ศ.ดร.สมพงษ์จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอนุกรรมการปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และอนุกรรมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ยกร่างปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติและจัดทำร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ไปแล้วเกือบร้อยละ 80เวลานี้จึงเหมาะสมแล้วที่ต้องพูดถึงเรื่องโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)เพื่อให้เหมาะสมกับกฎหมาย และแผนการศึกษาแห่งชาติที่กำลังจัดทำอยู่ทั้งนี้สาระหลักของพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติไม่ได้มองงานการศึกษาเป็นองค์กรหลัก หรือเป็นกรม แต่มองถึงภารกิจและกลุ่มเนื้องานซึ่งแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแผนการศึกษา เช่นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
2.กลุ่มผู้กำกับการศึกษา ได้แก่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
3.กลุ่มผู้จัดการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ ภาคเอกชน
4.กลุ่มผู้สนับสนุนการจัดการศึกษาเช่น สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) และ
5.กลุ่มผู้สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร เช่น สำนักงบประมาณ และกองทุนต่างๆ
Advertisement
“ถึงเวลาแล้วที่ต้องพูดคุยถึงเรื่องโครงสร้างแต่สิ่งที่เราพบขณะนี้คือ ข้าราชการ ศธ. เกิดภาวะตื่นตระหนกกับโครงสร้างใหม่ทำให้ทุกคนคิดถึงแต่ตัวเองโดยเฉพาะเรื่องตำแหน่ง หรือ ซีจึงทำให้การปฏิรูปการศึกษาเรื่องอื่นๆ เงียบหายไป เช่น การปฏิรูปการเรียนรู้การลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ คุณภาพและการประเมินนอกจากนี้การให้ข้าราชการประจำปรับโครงสร้างของตัวเองจะไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรให้หน่วยงานหรือคนอื่นที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอเป็นผู้จัดโครงสร้าง แต่ให้ข้าราชการประจำได้เข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว.
อ่านต่อที่ : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558