Advertisement
ฝุ่นตลบไปตามๆ กัน เมื่อศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ประกาศนำรายชื่อข้าราชการที่มีส่วนพัวพันการทุจริตคอร์รัปชั่นล็อตแรกกว่า 100 คน ส่งให้ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) เพื่อโยกย้ายออกจากตำแหน่ง รอการสอบสวนลงโทษ
ข้าราชการทั้งระดับบิ๊ก ระดับกลาง ร้อนๆ หนาวๆ เช็กกันวุ่นวายว่ามีรายชื่อตัวเองไปโผล่ในบัญชีดำนี้หรือไม่ เผื่อกลับตัวทันหาทางหนีทีไล่
เพราะเกรงว่า "บิ๊กตู่" จะใช้อำนาจจัดการเซ็นแกร๊กย้ายยกแผง
เบื้องหน้าเบื้องหลังของเหตุการณ์นี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาล คสช.เห็นว่า งานปราบปรามทุจริตเกือบทั้งหมดกลายเป็นงานของ ป.ป.ช.ไป
โดยที่รัฐบาลดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังเลือกทำคดีได้เอง จนถูกวิจารณ์ว่าไม่มีระบบ ไม่มีลำดับ บางคดีเกิดทีหลังแต่เสร็จก่อน บางคดีก็ดองกันยืดยาว บางเรื่องหมดอายุความไปก็มี
และดูจะเน้นการฟาดฟันนักการเมือง ส่วนคดีเกี่ยวกับข้าราชการไม่ค่อยมี ทั้งที่มีการร้องเรียนมากมายหลายคดี
นำมาสู่การตั้ง "คตช." ในระดับบนสุด และ "ศอตช." ที่รวมเอา 4 หน่วยงานเข้ามา
เริ่มต้นจากการดึงเอาคดีเกี่ยวกับข้าราชการที่ถูกดองเอาไว้มาปัดฝุ่นพิจารณากันใหม่
เนื่องจากที่ผ่านมา คสช.ไม่ค่อยแฮปปี้ที่ข้าราชการออกอาการใส่เกียร์ว่าง เบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าและไม่เกรงกลัว เนื่องจากเห็นว่าเป็นรัฐบาลชั่วคราว
ดังจะเห็นจากการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์หลายครั้งหลายหน
ก็ต้องติดตามดูว่า รายการลงแส้ข้าราชการและหน่วยงานปราบคอร์รัปชั่น
ของ คสช.ในครั้งนี้จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน
ขณะเดียวกัน มีบางเสียงบางฝ่ายแสดงความเป็นห่วงการปราบทุจริตในหมู่ข้าราชการตามโมเดลนี้
"อังคณา นีละไพจิตร" นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรี สสร.2550 มองว่า เท่าที่ตามข่าวไม่มีการเผยแพร่เรื่องการตรวจสอบหรือหลักฐานความผิดสู่สาธารณชน ทั้งที่ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ทำงานด้านการตรวจสอบทุจริตของเจ้าหน้าที่ อาทิ สตง. ป.ป.ท. ป.ป.ช.
ส่วน ศอตช.เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ทั้งยังมีข่าวว่าเตรียมรายชื่อเพื่อพิจารณาโยกย้ายข้าราชการกว่า 100 คน ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง
คนที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต หากคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถใช้ช่องทางของศาลปกครองเพื่อฟ้องร้องผู้บังคับบัญชาได้ น่าจะเป็นอีกทางออกหนึ่ง
เช่น กรณี นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาฯ สมช. ถูกโยกย้ายโดยไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ใช้ช่องทางของศาลปกครองเพื่อฟ้องร้องว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ขณะที่ผู้บังคับบัญชาไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คงต้องพิจารณาให้รอบคอบ ระมัดระวังอย่างมาก เพราะถ้าเป็นจริงตามข่าว ครั้งนี้จะเป็นการโยกย้ายเนื่องจากการ ทุจริตคอร์รัปชั่นที่มากที่สุดเลยทีเดียว
"การตรวจสอบต้องมีหลักฐานชัดเจน เพราะการทุจริตไม่ได้ส่งผลต่อผู้กระทำเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงครอบครัวเขาด้วย หากมีหลักฐานจริงต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม บางทีเราอาจบอกว่าการใช้อำนาจของท่านนายกฯตาม ม.44 เร็วดี แต่หากไม่มีหลักฐานชัดเจน อาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาตามกระบวนการยุติธรรมด้วย" อังคณากล่าว
อังคณาเสนอความเห็นด้วยว่า นายกฯไม่ควรใช้ ม.44 เพราะอาจทำให้เป็นการใช้อำนาจส่วนตัว อาจทำให้มีปัญหา ไม่สามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากข้าราชการถูกกลั่นแกล้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้นทุกอย่างต้องใช้ความโปร่งใส ไม่ใช่บอกว่า "มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า..." แต่ไม่ได้บอกว่าหลักฐานคืออะไร
ถามถึงการทำงานของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการทุจริตในภาครัฐ อังคณากล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความไม่มีประสิทธิภาพ แต่อยู่ที่ความล่าช้า ในฐานะที่เคยเข้าไปอยู่ในกลไกการร้องเรียน เห็นว่าการตรวจสอบแต่ละเรื่องต้องใช้เวลาหลายปี
เมื่อองค์กรเหล่านี้ร้องขอเอกสารจากหน่วยงานใด หน่วยงานนั้นควรรีบส่งเอกสารให้อย่างรวดเร็ว นอกจากปัญหาการส่งเอกสารล่าช้าแล้วยังมีปัญหาการไม่ส่งเอกสาร ทำให้สุดท้ายตรวจสอบไม่พบการทุจริต เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอที่บอกว่าทุจริตหรือไม่ องค์กรพวกนี้ดูเหมือนไม่ค่อยได้ทำอะไรอย่างที่ชาวบ้านครหาว่าบางคดีล่าช้า บางคดีรวดเร็ว
พูดกันถึงในระบบราชการมีการคอร์รัปชั่น ที่ผ่านมาอาจไม่ได้คอร์รัปชั่นในรูปของตัวเงิน แต่เป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย อย่างการปฏิบัติงานล่าช้า เมื่อล่าช้าแล้วก็เกิดความไม่เป็นธรรม หรือหลักฐานบางอย่างหายไป มีความไม่เป็นกลางหรือลำเอียง ถือเป็นการไม่ทำตามนโยบาย ไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนตัวอยากเห็นการปฏิรูปกระทรวงยุติธรรมให้สามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมได้จริง บางหน่วยงานของกระทรวงมีค่าตอบแทนสูงมาก แต่งานที่ออกมาคุ้มค่ากับค่าตอบแทนหรือเปล่า ทั้งยังมีหลายกรม ทั้งกรมราชทัณฑ์ กรมพินิจฯ กรมคุมประพฤติ ทำงานเรื่องยุติธรรมที่กว้างขวางและผูกพันกับชีวิตประชาชนมาก
"ฉะนั้น หากข้าราชการไม่ซื่อสัตย์ พัวพันการทุจริต จึงเป็นเรื่องน่าอับอายและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่วิธีแก้ไขต้องไม่เป็นการละเมิดหมู่คนหรือเจ้าหน้าที่เองด้วย" อังคณากล่าวทิ้งท้าย
--------------------------------------------------------------------------------
(ที่มา:มติชนรายวัน 11 เมษายน 2558)
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 50,925 ครั้ง เปิดอ่าน 4,755 ครั้ง เปิดอ่าน 30,228 ครั้ง เปิดอ่าน 1,988 ครั้ง เปิดอ่าน 22,760 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 23,212 ครั้ง เปิดอ่าน 13,128 ครั้ง เปิดอ่าน 13,802 ครั้ง เปิดอ่าน 33,669 ครั้ง เปิดอ่าน 5,897 ครั้ง เปิดอ่าน 20,311 ครั้ง เปิดอ่าน 8,115 ครั้ง เปิดอ่าน 40,150 ครั้ง เปิดอ่าน 15,104 ครั้ง เปิดอ่าน 4,813 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 1,361 ☕ 9 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 293 ☕ 22 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 210 ☕ 22 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 444 ☕ 20 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 817 ☕ 19 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 1,830 ☕ 19 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 735 ☕ 17 ธ.ค. 2567 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,183 ครั้ง |
เปิดอ่าน 49,448 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,169 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,279 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,237 ครั้ง |
|
|