เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติขึ้นเงินเดือนข้าราชการและพนักงานราชการทุกประเภท 1.98 ล้านคน โดยปรับเพิ่มให้ 3 ขั้น หรือประมาณ 10% โดยใช้งบประมาณ 22,900 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเพิ่มเงินเดือนพนักงานรัฐวิสาหกิจ 35 แห่งอีก 6.5%
การปรับขึ้นเงินให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เหตุผลหลักคือเพื่อให้สะท้อนค่าครองชีพที่แท้จริง หลังเงินเดือนข้าราชการไม่ได้ปรับขึ้นมาหลายปี ซึ่งการปรับขึ้นในครั้งนี้มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบข้าราชการไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า
ปัจจุบันฐานเงินเดือนของข้าราชการไทย ไม่ได้ต่ำอย่างที่หลายคนเข้าใจ หลังจากปรับนโยบายปรับเงินเดือนข้าราชการวุฒิปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทต่อเดือน ทำให้ปัจจุบันเงินเดือนแรกเข้าของข้าราชการมากกว่าเอกชนโดยเฉลี่ย 10 % ซึ่งต่างจากอดีตที่เงินเดือนแรกเข้าของข้าราชการ วุฒิปริญญาตรี คิดเป็นเพียง 2 ใน 3 ของเงินเดือนแรกเข้าของพนักงานเอกชน
ขณะที่กำลังคนภาครัฐก็เพิ่มขึ้นเกือบ 50% หรือประมาณ 2.2 ล้านคน แต่ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรัฐและพนักงานรัฐ ที่เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ขณะที่ข้าราชการประจำแทบจะไม่เพิ่มจากเมื่อ 10 ที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายปฏิรูประบบราชการ ทำให้การบรรจุมีน้อยลง แต่ไปเพิ่มในส่วนของลูกจ้างและพนักงานรัฐแทน เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีพนักงานประจำเพียง 10,000 คน แต่มีลูกจ้างและพนักงานเกือบ 50,000 คน // ขณะเดียวกัน ก็สุ่มเสี่ยงจะเกิดปัญหาขาดแคลนบุคคลากรระดับปฏิบัติงาน เนื่องจากส่วนใหญ่ไปกระจุกที่ข้าราชการระดับ จากจำนวนข้าราชการ C9 ที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า
ด้านงบประมาณบุคลากรภาครัฐก็เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จาก 10 ปีก่อน ถ้านับรวมภาระงบบุคลากรและสวัสดิการข้าราชการ เช่น ค่ารักษาพยาบาลและบำเหน็จ บำนาญ ก็มากถึง 1.1 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 50% ของรายได้รัฐบาล // และหากเทียบงบบุคลากรต่อ GDP ก็นับเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย เกือบ 7 % เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย และมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ขอบคุณที่มาจาก NOW26.tv