ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผุดโมเดลรร.เล็กควบรร.ใหญ่ เลือกมีนักเรียนน้อยกว่า160คน แก้ปัญหาพัฒนาตัวเองไม่ได้


ข่าวการศึกษา 26 ม.ค. 2558 เวลา 06:47 น. เปิดอ่าน : 10,681 ครั้ง
Advertisement

ผุดโมเดลรร.เล็กควบรร.ใหญ่ เลือกมีนักเรียนน้อยกว่า160คน แก้ปัญหาพัฒนาตัวเองไม่ได้

Advertisement

สพฐ.ออกโมเดลแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดเล็กมาก มีนักเรียนน้อยกว่า 160 คน ควบรวมเต็มตัวเข้ากับโรงเรียนศูนย์กลางที่มีขนาดใหญ่เข้มแข็งกว่า โดยเลือก รร.มีระยะห่างระหว่างกันไม่เกิน 3 กม. ยันรวมกันแค่ชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้อาจยังมีการรวมชั้นเรียนในโรงเรียนเดียวกันหรือควบรวมชั้นเรียนระหว่าง รร.ในบางชั้น บางวิชา

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างเร่งด่วน ว่า จากการที่ตนได้มีโอกาสหารือกับนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและการกีฬา สนช. โดยหลักการแล้ว สนช.มีความเห็นในทิศทางเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือไม่ต้องการยุบโรงเรียนขนาดเล็กแน่นอน แม้ว่าจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้นก็ตาม และ สพฐ.เองก็มีความต้องการจะต้องรักษาโรงเรียนเหล่านี้ไว้ให้แก่เด็กที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

อย่างไรก็ตาม แต่แนวทางแก้ไขจำเป็นต้องมีการปรับกระบวนการจัดการให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ถ้าหากโรงเรียนแห่งใดไม่สามารถพัฒนาได้ก็จะมีกระบวนการเข้ามาช่วยเหลือ เช่น การควบรวมชั้นเรียนในโรงเรียนเดียวกัน, การควบรวมระหว่างโรงเรียนในบางกรณี เช่น รวมเพียงแค่บางชั้นเรียนหรือบางวิชาเท่านั้น และการควบรวมแบบควบเต็มตัวเป็นการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กเรียนจำนวนน้อยกว่า 60 คนควบรวมกัน
"การควบรวมแบบควบเต็มตัว ไม่ใช่เป็นการยุบโรงเรียน แต่เป็นการควบรวมชั่วคราว เมื่อโรงเรียนที่เข้ามาควบรวมมีความพร้อมที่จะพัฒนาประสิทธิภาพ โดยอาจจะมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นก็สามารถกลับไปโรงเรียนของตนเองได้" นายกมลกล่าว

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า การควบรวมดังกล่าวทาง สพฐ.ดำเนินการจัดกลุ่มโรงเรียนประมาณ 300-400 กลุ่ม โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่ฯ เป็นผู้คัดเลือกโรงเรียนที่จะเป็นโรงเรียนศูนย์กลางในแต่ละกลุ่ม โดยจะย้ายโรงเรียนขนาดเล็กมากมาควบรวมกับโรงเรียนศูนย์กลาง และระยะทางระหว่างโรงเรียนศูนย์กลางและโรงเรียนขนาดเล็กมากจะต้องมีระยะห่างไม่เกิน 3 กิโลเมตร นอกจากนี้ เบื้องต้นผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนศูนย์กลางจะเป็นผู้อำนวยการ ส่วนผู้บริหารจากโรงเรียนขนาดเล็กที่ย้ายมาควบรวมจะอยู่ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการชั่วคราว เมื่อย้ายกลับไปยังโรงเรียนตนแล้วก็กลับเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเช่นเดิม แต่ยังคงต้องมีการพูดคุยถึงรายละเอียดในกรณีที่ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กมีความอาวุโสกว่า ก็อาจจะมีการปรับหลักเกณฑ์ตรงนี้

"การควบรวมต้องมีการขนย้ายโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์การเรียนการสอนมายังโรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางด้วย ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายรายหัวและเงินเดือนครูจะติดตามตัวเด็กและครูมายังโรงเรียนศูนย์กลางด้วย และยังต้องมีการหารือเรื่องการเดินทาง โดยใช้รถโดยสารรับ-ส่งนักเรียนระหว่างโรงเรียนศูนย์กลางกับโรงเรียนของพวกเขา โดยจะพูดคุยกับองค์กรส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้บริหารจัดการเรื่องรถโดยสาร น่าจะเป็นประโยชน์แก่เด็ก"

นายกมลกล่าวอีกว่า แม้ว่าจะมีการควบรวมโรงเรียนเข้าด้วยกัน แต่ สพฐ.เองก็ไม่ได้นิ่งเฉยกับโรงเรียนเหล่านั้น ยังคงพัฒนาและจัดสรรงบดูแลอาคารสถานที่เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กมากดังกล่าวยังคงอยู่มี มีการเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาทุกวัน เพียงแต่ไม่มีผู้เรียนและครูเท่านั้น แต่เมื่อโรงเรียนขนาดเล็กมากมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพ ก็สามารถกลับมายังโรงเรียนของตนได้ทันที

"เรายังมองอีกว่าการควบรวมดังกล่าวนอกจากจะแก้เรื่องการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสังคมใหม่ๆ ให้แก่เด็กโรงเรียนขนาดเล็กมาก เพื่อจะมีครูและเพื่อนที่เพิ่มขึ้นด้วย” เลขาฯ กพฐ.กล่าว.

 

 

 

ที่มา ไทยโพสต์ 26 มกราคม 2558

 


ผุดโมเดลรร.เล็กควบรร.ใหญ่ เลือกมีนักเรียนน้อยกว่า160คน แก้ปัญหาพัฒนาตัวเองไม่ได้ผุดโมเดลรร.เล็กควบรร.ใหญ่เลือกมีนักเรียนน้อยกว่า160คนแก้ปัญหาพัฒนาตัวเองไม่ได้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 14,301 ☕ 31 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 221 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 535 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 600 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,031 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 1,941 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 813 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วีดีทัศน์หลักเกณฑ์ตาม ว7/2558 (เกณฑ์ PA)
วีดีทัศน์หลักเกณฑ์ตาม ว7/2558 (เกณฑ์ PA)
เปิดอ่าน 13,874 ครั้ง

ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา
ดาวน์โหลดหนังสือ Brain-based Learning (BBL) 7 เล่ม เขียนโดย อ.พรพิไล เลิศวิชา
เปิดอ่าน 118,084 ครั้ง

ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
เปิดอ่าน 10,172 ครั้ง

มารยาทในการกล่าวขอโทษ (Excuse me)
มารยาทในการกล่าวขอโทษ (Excuse me)
เปิดอ่าน 52,196 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)
ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)
เปิดอ่าน 80,709 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ