Advertisement
“Doing.!”.. The 7 principles of school Routine หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควร “ต้อง”ทำให้เป็น “กิจวัตรประจำวัน Routine” คือ
1.Every morning ceremonial flag pole คือ การเข้าแถวร้องเพลงชาติหน้าเสาธง การสวดมนต์ แผ่เมตตา และฟังการอบรมบ่มเพาะความดีงาม 5 นาทีทุกวันทำการ ใช้คำพูดเชิงบวก หรือ Positive remarks,เสริมกำลังใจ encouragement,ให้ความหวัง หรือ Give Hope ในการปฏิบัติตนเป็นคนดี ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าไม่มีสนามหน้าเสาธงให้ใช้หน้าห้องเรียน..นี้เป็นงานประจำในหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงเรียน ที่ตระหนักในคุณค่าของจิตวิทยาการศึกษา และคุณภาพของโรงเรียนนั้น จำตกต่ำลงทันที ที่ให้ผู้อื่นทำการแทน...
*** Home Room มีไว้เพื่อชี้แนะหรือนัดหมายของครูประจำชั้น***
***การอบรมในห้องประชุมสุดสัปดาห์ก็เป็นการอบรมเพื่อ “สรุป” เรื่องราวต่างๆตลอดเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา และ “ความมุ่งหวังว่าจะได้เห็นสิ่งดีงามในสัปดาห์หน้า” นี้คือหน้าที่โดยตรงของผู้อำนวยการโรงเรียน และข้อมูลต่างๆในการอบรมนั้น “ต้องสามารถปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม” และได้มาโดยวิธี Authentic Observation ของตัวผู้บริหารเอง ประกอบกับข้อสรุปของ “ทีมงาน”ที่ได้รับมอบหมาย***
2.Strengthen Self-discipline ฝึกฝนระเบียบวินัยประจำตน ด้วยคุณค่าของวิชา ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ทำความเข้าใจเข้าใจแก่นแท้และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง...ออกแบบ Designวิธีอบรมคุณธรรมให้ไปถึงเป้าหมายหลักของวิชาเหล่านี้..เน้นจิตวิทยาวัยรุ่น..ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือ Design appropriate learning.
***วินัยประจำตน Self-discipline เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนการเรียนรู้แบบ “ความร่วมมือ การช่วยเหลือเกื้อกูล Cooperative Learning, การเรียนรู้ร่วมกัน Collaborative Learning, การระดมความคิด Brainstorming, และระบบหมู่ The Patrol system” แล้วจึง “สรุปการสอนด้วย คติพจน์ กฎและคำปฏิญาณ ของลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด***
***ระเบียบ และ วินัยประจำตน เกิดขึ้นได้จากฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็น ทักษะ Skill และเกิด “สำนึกภายในตน Inside Realization” มิใช่คำสั่งหรือกฎระเบียบที่บังคับไปจากภายนอก***
***การสอน “โดยการให้ท่องจำกฎระเบียบเพื่อให้นำไปปฏิบัติตาม”นั้น ได้ผลในทางปฏิบัติน้อยกว่า “การฝึกฝนจนเกิดสำนึกดีภายในจิตใจ แล้วจึงสรุปเป็นกฎเกณฑ์”จะได้ผลในทางปฏิบัติดีที่สุด..อย่างแรกนิยมใช้ในสถานกักกัน..อย่างหลังเหมาะสำหรับสอนในสถานศึกษา***
3. Human Rights and Religion เรียนรู้สิทธิมนุษยชนและศาสนา สอนหน้าที่พลเมือง และ วิชาศีลธรรม ในฐานะวิชาหลัก
*** Human Rights and Religion นั้น ต้องเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง เป็น Experience learning เท่านั้น จึงจะได้ผล***
4.Learner Centered มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดปรัชญาการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21.ซึ่งจุดหมายปลายทางแห่งการเรียนรู้คือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้” ในโลกแห่งความเป็นจริง Real World Environment.
***การเรียนการสอนจะเป็นไปได้ด้วยความราบรื่น ก็ต่อเมื่อ “ครูทั้งโรงเรียน ทำ Workshop เพื่อสร้าง Learning Innovation ร่วมกัน เพื่อให้ได้รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมทั้งการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ การสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนการสอน งานโครงการ การบ้าน และกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนการดำเนินงานที่สอดคล้องต้องกันทั้งโรงเรียน***
***ดังนั้น การวัดผล ประเมินผล Assessment จึงต้องสอดคล้องกับ “ปรัชญาแห่งการเรียนรู้ Philosophy of Learning” คือ ผู้เรียน “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้”หรือไม่ เรียกว่า “การประเมินผลตามความเป็นจริง หรือ Authentic Assessment”อย่างถูกต้องตามหลักวิชา***
***คุณครูสามารถ ออกแบบการเรียนรู้ Learning Design เพื่อให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ คือ มีความรู้ และความเข้าใจ “ที่เรียกว่าปัญญาของตนเอง It’s own Intellectual” นั้น จะต้องเป็นการเรียนรู้ ด้วยการปฏิบัติ หรือ Learning by Doing ด้วย “วิธีเรียน Learning Approach แบบต่างๆตามความเหมาะสม และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้นั่นเอง***
5.Learning and Teaching Design ออกแบบการเรียนและออกแบบการสอนทุกครั้ง..และคิดค้นวิธีสอนรายวิชา ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน..ยึดหลักการเรียนรู้และสร้างความรู้ในตน “ด้วยตนเอง Self-learning”ตามหลักการ Constructivist Approach Theory เป็นหลักในการเรียนการสอน..และอ้างอิง กรวยประสบการณ์ หรือ Dale’s Cone of Experience ของ ดร.Edgar Dale แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University USA.
***การออกแบบการเรียนและออกแบบการสอนก่อนทุกครั้ง “ทำให้ครูเกิดความพร้อม Availability” ทั้งบทบาทของครู นักเรียน เนื้อหาวิชา วัสดุอุปกรณ์การสอน และวิธีการหาความรู้ของนักเรียน หรือ How to Learn จึงทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง***
6.Solidarity and Unity ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและมีเอกภาพ หมายความว่า คุณครู และผู้บริหารหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียว..แต่ละฝ่ายเรียนรู้ “ซึ่งกันและกัน Each Other” เพื่อแสดงบทบาทที่ถูกต้องของตนเอง ในการกำหนดทิศทาง และ จุดหมายปลายทางการเรียนรู้ร่วมกัน
***สถานศึกษาใดที่มีบุคลากรทุกคนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดุจความรักของพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน ย่อมประสบความสำเร็จสูง..สถานศึกษาใดที่มีแต่ความแตกแยก ย่อมล้มเหลว***
7.Freedom to teach มีอิสระในการสอนในหน้าที่ของครู หน้าที่หลัก 2.ประการ คือ
1.สอนวิชาความรู้ หรือ Teaching knowledge ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน...และ
2.สอนนักเรียนเพื่อให้เป็นคนดี หรือ Taught to be a good person
***การวัดผลความสำเร็จของครู หรือ การประเมินผลงานของครูต้องวัดหรือประเมินตามความเป็นจริง หรือ Assessment by Factual และ เสียงสะท้อน Feedback จากสังคมทั้งภายใน และภายนอกโรงเรียน***
ท่านที่เคารพ..ผู้บริหารที่ล้มเหลวในการพัฒนาการศึกษา จะไม่ใส่ใจในหลักการดังกล่าวนี้เลยแม้แต่ข้อเดียว..ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสามารถ คือผู้ที่ “ทำคุณธรรมทั้ง 7 ประการนี้ให้เกิดขึ้น และรักษาไว้ได้อย่างยั่งยืน” จะเป็นผู้สถิตในใจด้วยความเคารพ
ขอบคุณที่มาจาก EduZones
Advertisement
เปิดอ่าน 14,478 ครั้ง เปิดอ่าน 11,169 ครั้ง เปิดอ่าน 15,319 ครั้ง เปิดอ่าน 8,803 ครั้ง เปิดอ่าน 7,919 ครั้ง เปิดอ่าน 12,210 ครั้ง เปิดอ่าน 8,657 ครั้ง เปิดอ่าน 11,966 ครั้ง เปิดอ่าน 14,479 ครั้ง เปิดอ่าน 7,362 ครั้ง เปิดอ่าน 12,996 ครั้ง เปิดอ่าน 64,159 ครั้ง เปิดอ่าน 9,133 ครั้ง เปิดอ่าน 32,809 ครั้ง เปิดอ่าน 12,593 ครั้ง เปิดอ่าน 22,547 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 9,331 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,095 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,952 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,247 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,915 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,474 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,372 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 413,777 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,203 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,854 ครั้ง |
เปิดอ่าน 71,405 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,308 ครั้ง |
|
|