เห็นสถิติเรื่องวิจัยในชั้นเรียนมีผู้สนใจเขาชมจำนวนมาก จึงพยายามนำวิจัยในชั้นเรียนมานำเสนออีกหลายๆกลุ่มสาระ เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัย ในวันี้จึงขอเสนอวิจัยอีกหนึ่งกลุ่มสาระ
วิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายพลเอก สว่างแจ้ง
สภาพปัญหา
จากการสอนวิชา วาดเส้นแสงเงา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2546 ในการเรียนการสอนที่ผ่านมา มีนักเรียนที่สนใจเลือกเรียนวิชา วาดเส้นแสงเงา จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียน 150 คน จากการสังเกตและตรวจผลงานของนักเรียนในภาคเรียนที่ 1 ผู้วิจัยพบประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหา คือ มีนักเรียน 5 คน ในจำนวน 150 คน ไม่ส่งชิ้นงานจึงส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในภาคเรียนที่ 1 ผู้วิจัยได้สังเกตและตรวจสอบคะแนนรายจุด พบว่า นักเรียนขาดความสนใจ ไม่เอาใจใส่ขณะปฏิบัติงาน และไม่ส่งชิ้นงานที่ครูสั่งตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของวิชา วาดเส้นแสงเงา ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์ 10 ชิ้นงาน ของภาคเรียนที่ 1 พ.ค. ถึง ก.ย. 2546
ชิ้นงาน
ชื่อ
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
รวม
|
ร้อยละ
|
เด็กชาย ก |
/
|
/
|
/
|
|
|
|
|
|
|
|
3
|
30
|
เด็กชาย ข |
/
|
/
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2
|
20
|
เด็กชาย ค |
/
|
/
|
/
|
|
|
|
|
|
|
|
3
|
30
|
เด็กชาย ง |
/
|
/
|
/
|
|
|
|
|
|
|
|
3
|
30
|
เด็กชาย จ |
/
|
/
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2
|
20
|
ในภาคเรียนที่ 2 มีการเรียนการสอนวิชา วาดเส้นแสงเงา ต่อจากภาคเรียนที่ 1 จากการสังเกตของผู้วิจัย พบว่า นักเรียน 5 คนเดิม ยังมีพฤติกรรมไม่สนใจและไม่ส่งชิ้นงานเหมือนภาคเรียนที่ 1 ดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์ 3 ชิ้นงานใน 10 ชิ้น ของภาคเรียนที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2546
ชิ้นงาน
ชื่อ
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
รวม
|
ร้อยละ
|
เด็กชาย ก |
-
|
-
|
-
|
|
|
|
|
|
|
|
0
|
0
|
เด็กชาย ข |
-
|
-
|
-
|
|
|
|
|
|
|
|
0
|
0
|
เด็กชาย ค |
-
|
-
|
-
|
|
|
|
|
|
|
|
0
|
0
|
เด็กชาย ง |
-
|
-
|
-
|
|
|
|
|
|
|
|
0
|
0
|
เด็กชาย จ |
-
|
-
|
-
|
|
|
|
|
|
|
|
0
|
0
|
จากข้อมูลในตารางที่ 2 ผู้วิจัยมีความคาดหวังว่านักเรียนทั้ง 5 คน แนวโน้มน่าจะมีปัญหา เพราะนักเรียนไม่ให้ความสนใจการเรียนและไม่ส่งชิ้นงาน อาจทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา วาดเส้นแสงเงา ปลายปีการศึกษาได้
ปัญหาการวิจัย ทำอย่างไรจะช่วยให้นักเรียน 5 คน สนใจการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
เป้าหมายการวิจัย เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้วยเทคนิคการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
วิธีการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 5 คน
2. วิธีการ
2.1 ประชุมนักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อชี้แจงและตกลงร่วมกันถึงหลักการปฏิบัติงาน และทำข้อตกลงในการส่งชิ้นงาน ภายในเดือนธันวาคม 2546
2.2 ต้นเดือนมกราคม 2547 ประชุมนักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อตักเตือนด้วยวาจา ถึงการไม่ส่งชิ้นงานตามข้อตกลงภายในเดือนธันวาคม 2546 ที่ผ่านมา
2.3 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้แรงเสริมทางลบ ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมด้วยการทำความสะอาดห้องเรียน ผู้วิจัยเน้นย้ำถึงข้อตกลงอีกครั้ง
2.4 สัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้การเสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยและให้การเสริมแรงทางลบสำหรับนักเรียนไม่ส่งชิ้นงาน ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยการรดน้ำต้นไม้หน้าอาคารเรียน และจัดหาที่เฉพาะให้แก่นักเรียนที่ปฏิบัติงานไม่เสร็จและไม่ส่งชิ้นงาน โดยผู้วิจัยดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
2.5 สัปดาห์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้ ผู้วิจัยให้การเสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยและให้การเสริมแรงทางลบสำหรับนักเรียนไม่ส่งชิ้นงาน ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยการทำความสะอาดหน้าอาคารเรียน และจัดหาที่เฉพาะให้แก่นักเรียนที่ปฏิบัติงานไม่เสร็จและไม่ส่งชิ้นงาน โดยผู้วิจัยดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด และลงคะแนนแต่ละชิ้นงานในสมุด ปพ.5 ให้นักเรียนทั้ง 5 คน ได้เห็นและตระหนักถึงความรับผิดชอบในการส่งชิ้นงาน ซึ่งนักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
3. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
3.1 การสัมภาษณ์นักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อนที่สนิทของนักเรียนทั้ง 5 คน ผู้ปกครองของนักเรียน และครู-อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา นักเรียนทั้ง 5 คน ในบางรายวิชาส่งชิ้นงานครบ บางรายวิชาส่งชิ้นงานไม่ครบ
3.2 บันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงานในขณะเรียน
3.3 บันทึกผลคะแนนเป็นรายชิ้นงาน
4. วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพิจารณาข้อมูลต่างๆที่ได้จากการสัมภาษณ์นักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง และครู-อาจารย์ที่สอนนักเรียนทั้ง 5 คน นำข้อมูลที่ได้มาประมวลภาพรวมแล้ววิเคราะห์ สรุป รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักเรียนในขณะเรียน และดูบันทึกผลคะแนนเป็นรายชิ้นงาน มาเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคเรียนที่ 1 พบว่า
ภาคเรียนที่ 1 ผู้วิจัยไม่ได้ใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด นักเรียนจึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยดูจากตารางที่ 1 ดังนี้
เด็กชาย ก มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 30
เด็กชาย ข มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 20
เด็กชาย ค มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 30
เด็กชาย ง มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 30
เด็กชาย จ มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 20
ภาคเรียนที่ 2 ผู้วิจัยใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด แล้วนักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นหรือไม่ จดบันทึกข้อมูลไว้เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภารเรียนที่ 1 ของนักเรียนทั้ง 5 คน
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ปรากฏผลผลดังนี้
การวิจัยเรื่อง การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชา วาดเส้นแสงเงา ปรากฏผล การติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด ของนักเรียน 5 คน มีผลดังนี้
ตารางที่ 3 แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์ 10 ชิ้นงาน ของภาคเรียนที่ 2 เดือน ธ.ค. 46 ถึง ก.พ. 2547
ชิ้นงาน
ชื่อ
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
รวม
|
ร้อยละ
|
เด็กชาย ก |
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
10
|
100
|
เด็กชาย ข |
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
10
|
100
|
เด็กชาย ค |
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
10
|
100
|
เด็กชาย ง |
/
|
/
|
/
|
/
|
-
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
9
|
90
|
เด็กชาย จ |
/
|
/
|
/
|
/
|
-
|
/
|
/
|
/
|
/
|
-
|
8
|
80
|
เมื่อพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 3 การพัฒนาความสนใจของนักเรียนโดยการใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดแล้ว พบว่า นักเรียนทั้ง 5 คน ได้มีการพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนี้
เด็กชาย ก มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 100
เด็กชาย ข มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 100
เด็กชาย ค มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 100
เด็กชาย ง มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 90
เด็กชาย จ มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 80
ข้อเสนอแนะ
1. เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อครูผู้สอนได้ลงมือปฏิบัติจริง ต้องมีการบันทึกข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน มีใจรัก อดทน ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด
2. นักเรียนบางกลุ่มใช้แรงเสริมทางบวกแล้วไม่ได้ผล บางกลุ่มใช้แรงเสริมทางลบแล้วไม่ได้ผล และบางกลุ่มต้องใช้แรงเสริมทั้งทางบวกและทางลบควบคู่กันไปจึงจะได้ผล บางกลุ่มอาจใช้แรงจูงใจทั้งทางบวกและทางลบไม่ได้ผล ขึ้นอยู่กับครูผู้ทำวิจัยจะต้องวิเคราะห์ตัวนักเรียนและสภาพแวดล้อมกลุ่มที่มีปัญหาว่าจะใช้วิธีการใดที่กล่าวมา เพื่อแก้ปัญหา
ภาคผนวก ผังการดำเนินงาน
เรื่อง การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจ
และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ขั้นตอนที่ 1
สร้างข้อตกลงร่วมกัน
|
- สร้างข้อตกลงร่วมกัน เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหา |
|
ผล = นักเรียนเสนอข้อตกลง และได้ข้อตกลงร่วมกัน |
ขั้นตอนที่ 2
ตักเตือน
|
- ตักเตือนด้วยวาจา เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหา |
|
ผล = นักเรียนรับรู้รับฝัง |
ขั้นตอนที่ 3
เสริมแรงทางบวกและทางลบ
|
- เสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยเฉพาะนักเรียนส่งงาน |
|
ผล = นักเรียนมีความพึงพอใจ |
ขั้นตอนที่ 4
เสริมแรงทางบวก เสริมแรงทางลบ และจัดหาที่เฉพาะให้ปฏิบัติกิจกรรม
|
- เสริมแรงทางลบด้วยการให้ทำกิจกรรมเฉพาะนักเรียนไม่ส่งงานผล = นักเรียนมีความพึงพอใจ |
|
- จัดหาที่เฉพาะให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด |
ขั้นตอนที่ 5
เปรียบเทียบความสนใจ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ภาคเรียนที่ 1 กับภาคเรียนที่ 2
|
ผล = นักเรียนปฏิบัติงานได้ชิ้นงานครบตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ |
ไม่ได้ผล
ย้อนกลับตรวจสอบตามขั้นตอน 1-5 ใหม่