ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกด
ไม่ตรงมาตรา แม่กด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางนันทพร ศรีกุลพล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนอนุบาลศาลาแดง
อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด 3) ความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด 4)หาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลศาลาแดง อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด จำนวน 5 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 84.00/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่กด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจตั้งแต่ระดับมากถึงระดับมากที่สุดทุกข้อ ( = 4.40 - 5.00 )
4. ดัชนีประสิทธิผลแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (E.I) มีค่าเท่ากับ 0.6341 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 63.41