ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ลายเซ็นกับสุขภาพ...วิธีแก้ไข...ข้อห้าม


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,198 ครั้ง
Advertisement

ลายเซ็นกับสุขภาพ...วิธีแก้ไข...ข้อห้าม

Advertisement

ลายเซ็นกับสุขภาพ

เรื่องลายเซ็นรับรองตอนนี้จบแน่ๆ ค่ะ  คนที่อ่านทีหลังไม่รู้เรื่องอ่านตอนแรก ๆ ได้ที่บล็อกครูตุ๋มนะคะ ตอนนี้จะพูดถึงลายเซ็นที่ไม่ถูกลักษณะ  ซึ่งตำราบอกว่าจะมีผลต่อสุขภาพ  แต่คุณไม่ต้องกังวลค่ะ  สบายใจได้เลย เขามีวิธีแก้ไขให้ดีขึ้นได้  หลักการแก้ไขลายเซ็นที่ทำร้ายสุขภาพเรามีหลักง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

***ห้ามเซ็นตัดหรือแทงในตำแหน่งที่ 1 ในตำแหน่งพยัญชนะหรือประธานจะเทียบเท่ากับร่างกายเรา อย่าเซ็นตัดตัวหรือเซ็นแทงลงในตำแหน่งนี้ จะบอกถึงสุขภาพของผู้เซ็น เซ็นตัดตำแหน่งไฟก็จะเกิดผลร้ายที่ตำแหน่งนั้น



การแก้ไขอักษร ส ศ

แก้อักษร ส. เพื่อเปลี่ยนปัญหาปวดศรีษะเป็นเจ็บคอแทน
แก้อักษร ศ.เพื่อเปลี่ยนอาการปวดศรีษะเป็นเจ็บข้อเท้าแทน
ศ.ส. เป็นอักษรที่มีเส้นแทงโดยธรรมชาติข้างบน ตำแหน่งนี้จะบอกถึงความรุนแรงของเรื่องระบบความคิดจะ มีการปวดหัว วิธีการแก้ปัญหาคือ ลากเส้น ส. ให้สะบัดคล้องเพื่อตวัดขึ้นเป็นหัว จะลดอาการปวดหัวมาเป็นเจ็บคอแทน



ส่วน ศ. ถ้าสมมุติลากจาก ค. แล้วมีอักษรแทงที่หัว จะมีอาการปวดหัว มีปัญหาเรื่องระบบความคิด วิธีการแก้คือลากเป็น ค. ไปแล้วมีเส้นแยงขึ้นไป มันจะลดความรุนแรงของการปวดหัวลงให้เหลือเป็นเจ็บขา



การแก้ไขเหลี่ยมคมในพยัญชนะ

เหลี่ยมคมในพยัญชนะหมายถึง ความก้าวร้าว แข็งกร้าว รุนแรง การต่อสู้ปะทะ การลบเหลี่ยมคมช่วยบรรเทาลักษณะดังกล่าวลง
ตัวอักษรในลายเซ็นส่วนมากจะมีรูปทรงแหลมคมหรือเหลี่ยมมุม ซึ่งรูปทรงเหล่านี้เป็นลักษณะของความแข็งกร้าว การต่อสู้ ปะทะ การโต้แย้ง ซึ่งจริง ๆ แล้วจะว่าไม่ดีก็ไม่เชิง ซึ่งลักษณะอันนี้อาจจะเหมาะสมกับอาชีพตำรวจทหาร แต่ถ้าคนทั่วไปวิธีการแก้ปัญหาคือ อาจจะเปลี่ยนเป็นโค้งมน เพื่อลดความรุนแรง



จากการที่เราได้ทราบเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ลายเซ็น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตัวอักษร องค์ประกอบตัวอักษร และการแก้ไขลายเซ็นแบบต่าง ๆ เมื่อท่านได้อ่านแล้ว ท่านสามารถนำไปปรับเปลี่ยนจากลายเซ็นเดิมของท่าน ซึ่งอาจจะไม่ดี แต่เมื่อเราปรับเปลี่ยนแล้วจะดีขึ้น ให้นำส่วนที่เสียออกไป สิ่งที่เหลือจะเป็นสิ่งที่ดี การใช้ลายเซ็นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวผู้ใช้ลายเซ็น ต้องเป็นคนดีด้วย ลายเซ็นจึงจะสมบูรณ์

หลักการเขียนลายเซ็นแบบง่าย ๆ

ถูกต้องตามลักษณะและเป็นลายเซ็นที่ดีควรจะทำอย่างไรบ้าง
1.ต้องใช้สติในการเขียน ให้เขียนลายเซ็นด้วยสติ อย่าใช้อารมณ์เขียนเขียนจรดปากกาอย่างมีสติ ควบคุมเส้นให้มั่นคงและเขียนตามโครงสร้างของลายเซ็น การเขียนแบบหวัดมากมันจะมีผลต่อการเขียนลายเซ็น เพราะว่าอารมณ์เราคอนโทรลต้องใช้สติคอนโทรล มันถึงจะทำให้คุณมีพลังในการเขียน

2.เริ่มเขียนจากพยัญชนะนำตำแหน่งที่ 1 เขียนให้ใหญ่ เต็มตัวแบบสมบูรณ์ และหัวในพยัญชนะหรือสระที่มีหัว คือเรื่องของความคิดในเชิงสร้างสรรค์



ถ้ามีหัวควรจะเซ็นให้มีหัว ถ้าไม่มีหัวอย่าเติม ไม่เซ็นให้ขาหรือเกิน เช่น ส. ต้องเป็น ส.ที่มีหาง ไม่ใช่ ล.ลิง หรือการเซ็น ค. เซ็นเป็น ศ.ศาลาเป็นต้น



และที่สำคัญคืออย่าเขียนย้อนกลับมา เพราะจะหมายถึงความคิดแปรปรวน



3.ตำแหน่งบริวารเว้นวรรคกับตำแหน่งประธาน (ตำแหน่ง 1 กับ 2) เว้นช่องไฟขนาดเศษหนึ่งส่วนสองของตัวอักษร อย่าเซ็นให้ติดกัน



ลายเซ็นให้มีขนาดเล็กกว่าตำแหน่งที่ 1 ให้อยู่ในตำแหน่งที่ 2.1
ถ้าอยู่ในตำแหน่ง 2.2 ก็จะทำให้ตำแหน่งของพยัญชนะนำหรือประธานล้ำมาอยู่ในโ ซนต่ำ แสดงว่าบริวารจะมีอิทธิพลเหนือกว่าตัวเรา



หรือถ้าตำแหน่งที่ 2 ไม่มีช่องไฟกับตำแหน่งที่ 1 ก็จะแสดงว่าบริวารและตัวเราเข้ามาพัวพันหรือเข้ามามี อิทธิพลต่อเรา ซึ่งอาจจะเป็นทางร้ายก็ได้



4.เว้นช่องไฟให้ถูกต้อง ขนาดของตำแหน่งช่องไฟระหว่าง 1 กับ 2 และ 4 กับ 5 ควรมีขนาดเศษหนึ่งส่วนสองของตัวอักษร



ส่วนช่องไฟระหว่าง 2 กับ 4 ควรมีขนาดเท่ากับหนึ่งตัวอักษร เทียบจากขนาดตัวอักษรในการเซ็นของคุณ การเว้นระยะที่เหมาะสมของช่องไฟในแต่ละชุดจะทำให้ชีว ิตคุณดำเนินได้อย่างไม่สมดุล ไม่วุ่นวาย

5.ตำแหน่งพยัญชนะนำของนามสกุลต้องมีขนาดเท่ากับ 1 หรือไม่น้อยกว่าเศษสามส่วนสี่ของตำแหน่งที่ 1 และควรเขียนให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน



ในอีกความหมายหนึ่งของตำแหน่งที่ 1 และ 4 ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญ ตำแหน่งที่ 1 คือหมายถึงหาทรัพย์เข้ามา และตำแหน่งที่ 4 หมายถึง การจ่ายออก



ถ้า 1 เล็กกว่า 4 ก็แปลว่าหาได้น้อยกว่าจ่าย ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่สมดุลทางด้านการเงิน

6.เว้นวรรคตำแหน่ง 4 กับ 5 ตำแหน่งพยัญชนะนำต้องเว้นช่องไฟให้กับบริวาร ตำแหน่งญาติพี่น้อง ลูกหลานก็มีหลักการเดียวกัน



เว้นระยะช่องไฟระหว่าง 4 กับ 5 ขนาดเศษหนึ่งส่วนสองตัวอักษร เซ็นให้ตัวเล็กกว่า 4 และอยู่ในตำแหน่งที่ 5.1 อย่าเซ็นให้ติดกัน

7.การเซ็นสระและวรรณยุกต์ต้องเซ็นที่หลัง สระที่อยู่ในชื่อมักจะทำให้รูปแบบของลายเซ็นเสียหาย และเป็นเรื่องที่ควบคุมยาก สระเอกับสระแอที่นำหน้าส่วนใหญ่มักจะลากเป็นกำแพง ดังนี้



หลักในการเขียนสระและวรรณยุกต์คือให้เซ็นหลังสุดหลังจากที่เขียนชื่อแล้ว และเขียนนามสกุลไม่ให้สระเออยู่สูงกว่าพยัญชนะนำ ยกเว้นสระ โ ไ ใ ซึ่งอยู่สูงกว่าธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการเขียนสระทีหลังเพื่อให้เรามีสติควบคุม เส้นไม่ให้เกินตำแหน่งที่กำหนดไว้



และนี่คือเป็นหลักการของการเขี่ยนลายเซ็น ถ้าคุณเลือกเซ็นลายเซ็นอย่างนี้ละก็ รับรองว่าลายเซ็นคุณสมบูรณ์แน่นอน

ลักษณะต้องห้ามในลายเซ็น

1.เซ็นตัดตัวเอง ห้ามเซ็นตัดตัวเองในตำแหน่งที่ 1 จะมีความหมายไม่ดีต่อสุขภาพ ร่างกาย เป็นการตัดหือทิ่มแทงตัวเอง  หรือเซ็นตัดทุกตำแหน่ง ต้องแก้ไขนะ เป็นเรื่องที่ซีเรียสมากสำหรับลายเซ็น เดี่ยวจะขยายความเรื่องลายเซ็นกับสุขภาพ

ตัวอย่างลายเซ็นตัดตัวเอง



2.เซ็นเป็นเส้นแทง เส้นแทงมีความหมายถึงการทำร้ายตำแหน่งของตัวเอง ตัวอย่างเส้นแทงที่พบบ่อยคือ เกิดจากรูปแบบตัวอักษร ส. ศ. เกิดจากวิธีการเขียน ธ. ร.



เส้นที่เกิดจากการลากตวัดมือ



3.เซ็นพยัญชนะเกินกรอบ ไม่มีอักษรส่วนเกินอกนอกเส้นกรอบ เดี๋ยวจะอธิบายเรื่องกรอบของพยัญชนะ แต่หลักการคืออย่าเขียนออกนอกกรอบและเขียนเกินตัวอัก ษร



4.เซ็นพันกัน อย่าเซ็นพันกัน ลายเซ็นที่มีลักษณะที่พันกันยุ่งเหยิงเหมือนเส้นด้าย เปรียบเสมือนชีวิตที่พบกับความยุ่งยาก ไม่สามารถสะสางปัญหาได้ และจะมีอุปสรรคในชีวิต ขาดระบบระเบียบ ขาดการจัดการ ระบบความคิดไม่ดี ส่วนมากลายเซ็นแบบนี้จะเป็นโรคประสาท



5.เซ็นสระยาวเกินไป อย่าลากสระยาวเกินความจำเป็น การลากสระอุ สระอู ยาวเกินไปจะบ่งบอกถึงว่า ลายเซ็นส่วนใหญ่อยู่ในโซนต่ำ สิ่งเหล่านี้จะบอกถึงเรื่องอดีตเก่า ๆ ที่ผ่านมา



6.เซ็นตัวอักษรขาด อย่าลากตัวอักษรขาด หมายความว่า เซ็นพยัญชนะเดียวแต่ยกปากกาขึ้น ทำให้ตัวพยัญชนะขาดออกจากกัน เช่น คำว่า “ปกรณ์” แบบนี้ จะทำให้พยัญชนะนำของตัวอักษรสำคัญขาด อันนี้เสียหายมาก เป็นอันตรายทีเดียว หรือย่างเช่น ทศธรรม ถ้าเขียนอย่างนี้ ความไม่สมบูรณืของตัวอักษรตัวพยัญชนะประธานก็คือความ ไม่สมบูรณ์ของตัวคุณเอง



7.เซ็นสระที่อยู่หน้าเป็นกำแพง อย่าเซ็นสระเป็นกำแพงกั้นตัวเอง อย่างที่อธิบายไปแล้วในวิธีการเซ็นสระ ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่ายุ่งยากก็สามารถตัดออกจากลายเซ็นได้นะคะ โดยไม่เสียหายอะไร



8.เซ็นกลับหลัง อย่าเซ็นกลับหลัง เช่น เซ็น ส. แทนที่จะเป็น ส. ก็เซ็นเป็น s การทำแบบนี้ทำให้ระบบต่าง ๆ ในความคิดผิดปกติ พยัญชนะขาดพลังและขาดทิศทางที่ถูกต้อง




ขอบคุณข้อมูล : Forward Mail

 

 

 

 

 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 18 มี.ค. 2552


ลายเซ็นกับสุขภาพ...วิธีแก้ไข...ข้อห้าม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

แนะอาหาร....ลดคอเลสเตอรอล

แนะอาหาร....ลดคอเลสเตอรอล


เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
ว๊าว!!.....!!

ว๊าว!!.....!!


เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
ศิลปะของการทำงานที่ดี

ศิลปะของการทำงานที่ดี


เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อนิจจา...สังคมมนุษย์...

อนิจจา...สังคมมนุษย์...

เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลากลีลา(ขำ..ฮานะแล้วจะว่าไม่บอก)
หลากลีลา(ขำ..ฮานะแล้วจะว่าไม่บอก)
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

ล้างพิษ 10 วิธี !!  ก่อนกิน...สงสัยไหม  ?  ทำไมต้องล้าง.......ไปฟังครับ
ล้างพิษ 10 วิธี !! ก่อนกิน...สงสัยไหม ? ทำไมต้องล้าง.......ไปฟังครับ
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

ใครคือสาเหตุความร้าวฉานไทย-เขมร    ใครกันแน่???????
ใครคือสาเหตุความร้าวฉานไทย-เขมร ใครกันแน่???????
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

รายงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์:คอนสตรัคติวิสต์:ความน่าจะเป็น:ชั้น ม.5
รายงานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์:คอนสตรัคติวิสต์:ความน่าจะเป็น:ชั้น ม.5
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

ล้วงความลับ..ช๊อกโกแลต!!
ล้วงความลับ..ช๊อกโกแลต!!
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย

นอนดีก..อันตรายเร่งอายุสั้น
นอนดีก..อันตรายเร่งอายุสั้น
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รับชมย้อนหลัง ระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา (การเบิกค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรม)
รับชมย้อนหลัง ระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา (การเบิกค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรม)
เปิดอ่าน 36,797 ครั้ง

"โมสาร์ท เอฟเฟกต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย
"โมสาร์ท เอฟเฟกต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย
เปิดอ่าน 29,613 ครั้ง

รอบรู้เรื่องการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
รอบรู้เรื่องการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
เปิดอ่าน 26,022 ครั้ง

คนกินเค็มต้องระวัง "โซเดียมในเลือดสูง"
คนกินเค็มต้องระวัง "โซเดียมในเลือดสูง"
เปิดอ่าน 3,717 ครั้ง

"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์
"ความแตกต่างระหว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กับ โรงเรียนอนุบาล" โดย ดร.สุวรรณ พิณตานนท์
เปิดอ่าน 133,453 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ