Advertisement
❝ สมพิศ วงศ์กาฬสินธุ์ (2551) ผลการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่องการประดิษฐ์บายศรีปากชาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา [ CIPPA Model ]กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนหัวนาศึกษาวิทย์ อำเภอเมือง
จังหวัดหนองบัวลำภู
บทคัดย่อ
ผลการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เรื่องการประดิษฐ์บายศรีปากชาม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้รูปแบบซิปปา(CIPPA Model) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบซิปปา(CIPPA Model)ในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการประดิษฐ์บายศรีปากชาม และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การประดิษฐ์บายศรีปากชาม ในรูปแบบซิปปา(CIPPA Model) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนหัวนาศึกษาวิทย์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา เรื่องการประดิษฐ์บายศรีปากชาม จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการประดิษฐ์บายศรีปากชามชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติ t-test แบบ Dependent
ผลการพัฒนาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การประดิษฐ์บายศรีปากชาม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบซิปปา พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ( X = 83.47) ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (Sig. = 0.000) โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( X= 25.04, S.D.= 1.84) สูงกว่าก่อนเรียน ( X = 19.64 , S.D.= 3.03)
และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การประดิษฐ์บายศรีปากชาม ในรูปแบบซิปปา(CIPPA Model)
โดยภาพรวมพบว่านักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับมากที่สุด ( X = 25.32 , S.D. = 2.41 ) รองลงมาคือด้านประโยชน์ในการเรียนรู้ ( X =23.88 , S.D. = 2.05) สรุปได้ว่านักเรียนมีความต้องการให้จัดการเรียนการสอนเรื่องงานประดิษฐ์ด้วยรูปแบบซิปปา(CIPPA Model)
❞
วันที่ 17 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,179 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,640 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,083 ครั้ง |
เปิดอ่าน 86,408 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,569 ครั้ง |
|
|