ชื่อเรื่อง การศึกษาความพีงพอใจของผู้ปกครองต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนโรงเรียนตะดอบวิทยา
ชื่อผู้ศึกษา นายประจวบ โกลละสุต รองผู้อำนวยการโรงเรียนตะดอบวิทยา
บทคัดย่อ
การศึกษาการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนตะดอบวิทยา ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมใน 8 ด้าน คือ 1. ความขยัน 2. การประหยัด 3. ความซื่อสัตย 4. การมีวินัย 5. สุภาพ 6.สะอาด 7.สามัคคี และ 8. ความมีน้ำใจของนักเรียน โดยมีปัจจัยต่างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดกิจกรรม โครงงานและโครงการ การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ การเป็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของครูให้กับนักเรียนและการบริหารจัดการกิจกรรม การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาการรับรู้และตรวจเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน 8 ด้าน ได้แก่ ความขยัน การประหยัด ความซื่อสัตย์ การมีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และความมีน้ำใจ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม โครงงาน โครงการต่างๆ การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ ทั้ง 8 กลุ่มวิชา และ การบริหารจัดการกิจกรรม โครงงาน โครงการต่างๆเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยคำถามปลายปิด และประเภทประมาณค่า แบบ Check List และแบบ Rating Scale เนื้อหาของแบบสอบถาม 1 ชุด จำนวน125 ข้อ ประกอบด้วย 7 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง ตอนที่ 2 การรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมโรงเรียนและการเยี่ยมบ้านนักเรียนของครู ตอนที่ 3 พฤติกรรมที่เกี่ยวกับคุณธรรมของนักเรียน ตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในนักเรียน ตอนที่ 5 การจัดการสอดแทรกพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียน ตอนที่ 6 การเป็นแบบอย่างเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอน ตอนที่ 7 การบริหารจัดการโครงการ กิจกรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆเกี่ยวกับคุณธรรม – จริยธรรม ตัวอย่างในการศึกษา หาขนาดตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างชนิดที่ทราบค่าความน่าจะเป็น(Probability sampling) จำนวน 305 คน เก็บข้อมูลในลักษณะเก็บทุกตัวอย่าง ทำการเก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551 ใช้การเก็บข้อมูลโดยนักเรียนอาสาสัมภาษณ์เก็บข้อมูลตามบ้านผู้ปกครองที่ได้ให้ไว้กับทางโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนระดับความพึงพอใจ
ผลการศึกษา
1. การรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมโรงเรียนและการเยี่ยมบ้านนักเรียนของครู
ผู้ปกครองส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ทราบกิจกรรมที่ทางโรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้น 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม โครงการเสริมสร้างวินัยในโรงเรียน กิจกรรมธนาคารความดี กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำวันศุกร์และโครงการวันสำคัญ มีเพียงส่วนน้อย ไม่เกินร้อยละ 15 ที่ไม่ทราบว่าโรงเรียนจัดกิจกรรมอะไรบ้าง ในเรื่องของโครงการเปิดบ้านคุณธรรม โครงงานเยาวชนลูกเสือไทยสานใจให้ครอบครัวอยู่พอเพียง มีผู้ปกครองทราบว่ามีกิจกรรมนี้ร้อยละ 97.3 และ 23.7 ไม่ทราบร้อยละ 2.7 และ 76.3
การรับรู้ข่าวสารกิจกรรมของโรงเรียนพบว่า การประชาสัมพันธ์จากทางโรงเรียนทำให้ผู้ปกครองทราบถึงร้อยละ 73.3 นักเรียนเป็นผู้บอกกิจกรรมกับผู้ปกครองในส่วนของนั้นทำให้ผู้ปกครองทราบกิจกรรมของโรงเรียนเพียงร้อยละ 11.1
ผู้ปกครองทราบถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมร้อยละ 73.3 ไม่ทราบร้อยละ 9.7 และไม่แน่ใจถึงร้อยละ 11.16
การออกเยี่ยมบ้านของครูประจำชั้นพบว่า มีการออกไปเยี่ยมผู้ปกครองนักเรียนปีละครั้งร้อยละ 84.1 ไปมากกว่า 1 ครั้งต่อปี 15.9
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อวิธีการเรียนการสอน, ความรู้ เนื้อหาสาระและสบการณ์, ระยะเวลาในการจัดทำกิจกรรม โครงงานและโครงการ, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, การมีส่วนร่วมของนักเรียน
2. พฤติกรรมที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
พฤติกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนที่ผู้ปกครองพึงพอใจมากที่สุด คือ ความขยันในการช่วยงานบ้านผู้ปกครอง, ไม่โกหกผู้ปกครอง, ไม่แอบหยิบเงินผู้ปกครอง, นักเรียนไปโรงเรียนทันเวลาทุกครั้ง, การซักเสื้อกางเกงของตนเองทุกชิ้นก่อนนำมาใส่, ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกับพี่น้องของตน, ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้, ชอบช่วยเหลือผู้อื่น, เป็นผู้เสียสละและรู้จักแบ่งปันสิ่งต่างๆ ให้กับผู้อื่น
3. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในนักเรียน
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนเป็นประจำ, ผู้ปกครองได้มีส่วนในการออกความคิดเห็น เสนอแนะในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน, ค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน, โครงการเสริมสร้างวินัยในโรงเรียน, กิจกรรมธนาคารความดี, กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมวันศุกร์, โครงการวันสำคัญและโครงงานเยาวชนลูกเสือไทยสานใจให้ครอบครัวอยู่พอเพียง
4. การจัดการสอดแทรกพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5. การเป็นแบบอย่างเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอน
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนมากที่สุดในด้านความมีน้ำใจ
6. การบริหารจัดการโครงการ กิจกรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ เกี่ยวกับคุณธรรม – จริยธรรม
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อวิธีการเรียนการสอน, ความรู้ เนื้อหาสาระ และประสบการณ์, ระยะเวลาในการจัดทำกิจกรรม โครงงานและโครงการ, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, การมีส่วนร่วมของนักเรียน