ชื่อนวัตกรรม การจัดกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลายเพื่อพัฒนาจินตนาการความคิด
สร้างสรรค์
นวัตกรรมด้าน การพัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์
ชื่อ สกุล นางระภา เอี่ยมสุธี
โรงเรียน ชุมชนบ้านคลองลาน อำเภอ คลองลาน จังหวัด กำแพงเพชร
บทคัดย่อ
การรายงานผลพัฒนาการจัดกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลายเพื่อพัฒนา
จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ จัดทำโดย นางระภา เอี่ยมสุธี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของคู่มือกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุ โดยเทียบกับเกณฑ์ 70/70 2. เพื่อเปรียบเทียบผลพัฒนาการจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้จากคู่มือกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลาย โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนชุมชนบ้านคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ได้มาโดยไม่มีการสุ่ม จำนวน 27 คน 3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้คู่มือกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลาย
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือพัฒนาการจัดกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลายเพื่อพัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1. คู่มือการจัดกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลาย จำนวน 30 กิจกรรม 2. แผนการจัดกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลาย ชั้นอนุบาล 2 จำนวน 30 แผน 3. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อแบบ ก ของทอร์แรนซ์ 4. แบบประเมินเจตคติของนักเรียนต่อคู่มือการจัดกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุ คือแบบทดสอบพัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้สถิติ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) คู่มือการจัดกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลายเพื่อพัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์และการทดสอบ t - test
ผลการศึกษาพบว่า
1. คู่มือกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลายเพื่อพัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์กำหนด
2. นักเรียนชั้นอนุบาล 2/2 ที่เรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อคู่มือกิจกรรมการปั้นด้วยสื่อวัสดุหลากหลายเพื่อพัฒนาจินตนาการความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก