บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ประเมินผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งฟาร์ม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 ตามสถานภาพกลุ่มได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและ กรรมการสถานศึกษารวม 394 คน (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งฟาร์มตามขนาดของโรงเรียน ขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้
ในการประเมินของโครงการ ใช้รูปแบบCipp model ของสตัฟเฟิลบีม (Daniel. Stuffilebeam) ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น ที่ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance : Anova) ผลการประเมิน พบว่า ตามทรรศนะของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.97) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าสภาพแวดล้อม มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65) ด้านปัจจัยนำเข้า มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77) ด้านกระบวนการ มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.88) ด้านผลผลิต มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87) ผลการประเมินตามขนาดโรงเรียน พบว่าโดยภาพราม มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด( = 4.80) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสภาพแวดล้อม โรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66) ซึ่งมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็กที่มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการในระดับมากที่สุด ( = 4.65) ด้านปัจจัยนำเข้า โรงเรียนขนาดเล็กมีผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77) ซึ่งมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการในระดับมากที่สุด ( = 4.76) ด้านกระบวนการ โรงเรียนขนาดเล็กมีผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.89) ซึ่งมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการในระดับมากที่สุด ( = 4.86) ด้านผลผลิต โรงเรียนขนาดเล็กมีผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87) ซึ่งเท่ากันกับโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีระดับความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการในระดับมากที่สุด ( = 4.87)
ผลการเปรียบเทียบเมื่อพิจารณาผลการประเมินตามขนาดโรงเรียน จำแนกตามทรรศนะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กมีผลการประเมินในแต่ละด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ( = 4.89) ด้านผลผลิต ( = 4.87) ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.77) และด้านสภาพแวดล้อม ( = 4.65) ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่มีผลการประเมินในแต่ละด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิต ( = 4.87) ด้านกระบวนการ ( = 4.86) ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.76) และด้านสภาพแวดล้อม ( = 4.66)
สรุปผลการประเมินตามทรรศนะของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งฟาร์ม ในระดับมากที่สุด ( = 4.75) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่า 0.093 ทั้งนี้เป็นเพราะว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม มีระดับความคิดเห็นที่สูงมากเพราะผลของงานที่ปรากฏต่อสังคมและโรงเรียน โดยการเข้าไปกระตุ้นเตือนของผู้รับผิดชอบในการที่จะให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งฟาร์ม และนำองค์ความรู้ ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง การพัฒนาคนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาให้แต่ละคน มีหลักคิดและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง/ครอบครัว/ชุมชน/ชาติ ให้สามารถพึ่งตนเองได้และก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล ตลอดจนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
คำสำคัญ หนึ่งโรงเรียนหนึ่งฟาร์ม