ชื่องานวิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความโดยใช้
หนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนบ้านขี้เหล็กซ้ายดอนแตง
ผู้ศึกษา นายจำนงค์ จันทร์ดำ ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านขี้เหล็กซ้ายดอนแตง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒
ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๐
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) สร้างและพัฒนาหนังสือประกอบการเรียนรู้
ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒)ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง
๓) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของนักเรียน
ที่เรียนด้วยหนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรองกับนักเรียนที่เรียนตามปกติ ๔) ศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านขี้เหล็กซ้ายดอนแตง และโรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร
กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๙ จำนวน ๒ โรงเรียน นักเรียน ๕๖ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านขี้เหล็กซ้ายดอนแตง โรงเรียนบ้านหัวหนองแวง และโรงเรียนหนองผึ้งวิทยาคาร ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ จำนวน ๓ โรงเรียน จำนวน ๗๗ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
๑) หนังสือประกอบการเรียนรู้ ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ ๑ เรื่อง ภาษาไทยในเพลง ขับบรรเลงให้ไพเราะ เล่มที่ ๒ เรื่อง เที่ยวอีสาน แหล่งตำนานอารยธรรม เล่มที่ ๓ เรื่อง นิราศสวนหินผางาม
(คุนหมิงเมืองไทย) เล่มที่ ๔ เรื่อง ฮีตสิบสอง คองอีสาน ตำนานประเพณี เล่มที่ ๕ เรื่อง
ขอเชิญน้องพี่ ชมของดีเมืองร้อยเอ็ด เล่มที่ ๖ เรื่อง มหาเวสสันดร นิทานคำกลอนสอนใจ
เล่มที่ ๗ เรื่อง ขับขานสรภัญญ์ อัศจรรย์ภาษาไทย เล่มที่ ๘ เรื่อง ผญาลิขิต กับบทสุดท้ายชีวิต บนจิตกาธาน เล่มที่ ๙ เรื่อง เลือกสรรคำ ลำนำบทร้อยกรอง และ เล่มที่ ๑๐ เรื่อง กาพย์นิทาน
“หัวอกแม่” ๒) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๑๑ ฉบับ ประกอบด้วย แบบทดสอบหลังเรียนหนังสือประกอบการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๒ ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก ๑๐ ข้อ และตอนที่ ๒ เป็นแบบทดสอบอัตนัยเขียนตอบ จำนวน ๕ ข้อ รวม ๑๕ ข้อ เรื่องละ ๑ ฉบับ รวมแบบทดสอบ ๑๐ ฉบับ และ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๑ ฉบับ ๔๕ ข้อ ประกอบด้วย ตอนที่ ๑ แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔๐ ข้อ และตอนที่ ๒ เป็นข้อสอบอัตนัยเขียนตอบ จำนวน ๕ ข้อ ๓)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือประกอบการเรียนรู้ ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน ๑ ฉบับ ๑๕ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และ t – test แบบ Independent Sample
ผลการศึกษา ปรากฏผลดังนี้
๑. ประสิทธิภาพของหนังสือประกอบการเรียนรู้ ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยหนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง ในวงรอบที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๙มีประสิทธิภาพ ๘๔.๘๖ / ๘๔.๐๐ ส่วนวงรอบที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐
มีประสิทธิภาพ ๘๖.๗๑ / ๘๘.๐๙ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐ / ๘๐
๒. ค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I) ของการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยหนังสือประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในวงรอบที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๙ เท่ากับ ๐.๖๙๖๕ และในวงรอบที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เท่ากับ ๐.๗๗๙๑ ซึ่งแสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือประกอบ
การเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ชุดนี้แล้ว นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ๐.๖๙๖๕ หรือคิดเป็นร้อยละ ๖๙.๑๑ และ ๐.๗๗๙๑ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๗.๙๑ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ ๐.๕๐ หรือร้อยละ ๕๐
๓. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองซึ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น กับนักเรียนกลุ่มควบคุม
ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ปกติโดยไม่ใช้หนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .๐๑ โดยมีค่า t เท่ากับ ๓.๗๒๓
๔. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านขี้เหล็กซ้ายดอนแตง และโรงเรียน
บ้านหัวหนองแวง ที่เป็นกลุ่มทดลอง มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนด้วยหนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
มีค่าเฉลี่ย ๔.๕๖ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ “มากที่สุด” และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๖๙
แสดงว่านักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันค่อนข้างสูง
จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้หนังสือประกอบการเรียนรู้ประเภทร้อยกรอง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ตรงตามความสนใจ ความต้องการของผู้เรียน สอดคล้องกับสภาพ และท้องถิ่นของผู้เรียน สามารถนำมาใช้เป็นสื่อพัฒนา
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์และเขียนสื่อความ ได้เป็นอย่างดี และเป็นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้สนใจ นำไปใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความให้มีประสิทธิภาพต่อไป