Advertisement
รู้เรื่อง “โบท็อกซ์” ก่อนเสริมสวยอย่างมั่นใจ |
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในวงการแพทย์ผิวหนังบ้านเราต้องร้อนๆ หนาวๆ ไปตามกัน เมื่ออดีตพระเอกภาพยนตร์เรื่องขุนศึก วิทย์-วรวิทย์ แก้วเพชร เจอฤทธิ์จากการเสริมความหล่อเข้าไปเต็มเปา เพราะหลังจากที่ไปฉีดโบท็อกซ์ที่สถาบันเสริมความงามแห่งหนึ่ง เพื่อลดเลือนริ้วรอยบริเวณรอบดวงตา แต่กลับทำให้หนังตาข้างซ้ายหย่อนผิดปกติ จนกลายเป็นข่าวดังขึ้นหน้าหนึ่งทีเดียว
วันนี้เจึงจะขอพาผู้อ่านไปรู้จักกับ “โบท็อกซ์” สารเสริมความหล่อ-สวย รวมทั้งเทคนิคในการเลือกใช้สถานบริการเสริมความงามว่าควรเลือกอย่างไรเพื่อให้ปลอดภัยกับผิวหน้า
รศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ ประธานวิชาการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับ “โบท็อกซ์” ว่า เป็นชื่อทางการค้าของ สารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ซึ่งเป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากแบคทีเรียชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) อันเป็นสารก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่มนุษย์ หากได้รับในปริมาณมากๆ ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ถ้าได้รับสารพิษจากอาหารกระป๋องที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมไม่ทำงาน จึงทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจ
การออกฤทธิ์ของ โบทูลินั่ม ท็อกซินนั้น จะไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ซึ่งผลที่จะตามมากับร่างกายคือ จะทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆบริเวณนั้นเป็นอัมพาต โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2-3 วัน และเห็นผลสูงสุดในเวลาประมาณ 7-14 วัน
“ในวงการแพทย์เราทราบมานานแล้วว่า หากฉีดสาร โบทูลินั่ม ท็อกซิน เข้าไปในกล้ามเนื้อปริมาณน้อยๆ โบทูลินั่ม ท็อกซินจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น “คลายตัว” ดังนั้น ในยุคแรกๆ จักษุแพทย์จึงนำโบทูลินั่ม ท็อกซิน มาฉีดรักษาโรคที่เกี่ยวกับตา ไม่ว่าจะเป็นตาเหล่ ตาเข และจากการที่นำสารตัวนี้มาฉีดบริเวณรอบดวงตา ก็ทำให้แพทย์พบว่าริ้วรอยบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะ บริเวณหน้าผาก หว่างคิ้วและรอบดวงตาดีขึ้นด้วย”
เมื่อเห็นผลเช่นนี้ในเวลาต่อมาจึงมีการนำ “โบทูลินั่ม ท็อกซิน” มาใช้ประโยชน์ในวงการเสริมความงามตามมาอย่างแพร่หลาย และมีเทคนิควิธีการที่ต่างๆ กันออกไป โดยมีการนำมาฉีดเพื่อทำให้หน้าเรียวเล็กลง หรือช่วยในการยกกระชับผิวหนัง รวมทั้งลดเหงื่อบริเวณรักแร้ ฝ่ามือ ตลอดจนรักษาอาการปวดศีรษะ ปวดเกร็งต้นคอ และอีกหลายปัญหาสุขภาพ
สำหรับการฉีด “โบท็อกซ์” นั้น รศ.นพ.ประวิตร อธิบายว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ละปีนั้นมีการฉีดมากถึงเป็นล้านๆ ครั้ง ซึ่งผลของการฉีดสามารถอยู่ได้นานประมาณ 3-8 เดือน แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าใช้สารประเภทนี้ฉีดเพื่อรักษาอาการอะไร ฉีดบริเวณใด ฉีดเป็นครั้งแรกหรือเป็นการฉีดซ้ำ รวมทั้งต้องดูอายุของผู้เข้ารับการฉีดด้วยว่าอายุเท่าใด แต่ผลของการรักษานั้นไม่สามารถอยู่ได้อย่างถาวร ผู้ฉีดจึงต้องเข้ารับการฉีดอยู่เรื่อยๆ จึงจะได้ผลดี
ทุกอย่างบนโลกใบนี้เมื่อได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ถึงแม้ว่าจากการรวบรวมประวัติผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารโบท็อกซ์ จำนวนมากในต่างประเทศพบว่า ไม่มีอันตรายถึงชีวิต หากได้รับการฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลข้างเคียงตามมาเพราะผลข้างเคียงส่วนมากที่เกิดจากการฉีดมักจะเป็นแบบเฉพาะที่ เช่น หนังตาตก กลืนอาหารลำบาก ใบหน้าเกิดความไม่สมดุลกัน หรือตรงบริเวณที่ฉีดมีเลือดออกมาก
“เมื่อเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดโบท็อกซ์นั้น สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำเป็นลำดับแรกคือต้องใจเย็นๆ และค่อยๆรอให้ผลของโบท็อกซ์ค่อยๆ หมดไปเอง ซึ่งโดยส่วนมากแล้วพิษนั้นจะหมดไปภายใน 2-3 เดือน แต่ถ้าในกรณีหนังตาตกนั้นผู้ทำการรักษาควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นกรณีไป” รศ.นพ.ประวิตร แจกแจง
นอกจากนี้ รศ.นพ.ประวิตร ยังฝากทิ้งท้ายถึงหนุ่มๆ สาวๆ ที่คิดจะใช้บริการเสริมความงามด้วยวิธีนี้ว่า ควรเลือกเข้าสถานบริการที่เชื่อถือได้ ซึ่งอาจจะต้องยอมจ่ายเงินในราคาที่สูง แต่ถ้าแลกกับความปลอดภัยที่จะได้รับก็คงดีไม่น้อย รวมทั้งผู้ที่คิดจะฉีดโบท็อกซ์ ก็ควรฉีดกับแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ที่สำคัญควรหาข้อมูลและมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาพอสมควร เพราะ ปัจจุบันสถานพยาบาลหลายแห่งทำเพื่อธุรกิจมากกว่า
...ทุกคนอย่าลืมว่าปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นจากความร่วงโรยของอายุนั้น หนุ่มๆสาวๆ อาจคิดมากไปเองก็ได้
|
วันที่ 7 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,383 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,890 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,877 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,107 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,234 ครั้ง |
|
|