ชื่อเรื่องการศึกษา การฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลวงเหนือ (วิทิตตานุกูล) อำเภองาว จังหวัดลำปาง
ผู้ศึกษา นางเนาวนิจ บุญชมภู ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
ผู้เชี่ยวชาญ นางสาวนิจ จันทร์มล นางศรีจันทรัตน์ กันทะวัง นายทวี มั่นตรง
นางเพลิน สุขรัตน์ นางศิริพร ปิยพันธ์
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ การสรุปใจความสำคัญ เชิงวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ในการใช้ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลวงเหนือ (วิทิตตานุกูล) อำเภองาว จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย (1) ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การสรุปใจความสำคัญ เชิงวิเคราะห์ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาประสิทธิภาพชุดฝึกโดยสูตร E1/E2 และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า (1) ได้ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม (2) ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 89.71/87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 (3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 10.38 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 23.75 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 13.375 ร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 44.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของคะแนนเต็มและเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้ชุดฝึกทักษะการสรุปใจความสำคัญเชิงวิเคราะห์โดยใช้นิทานพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับ มากที่สุด