การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โดยครูจิราภรณ์ หอมกลิ่น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์
และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงเรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงเรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
สมมุติฐานของการศึกษา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรงเรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ความสำคัญของการศึกษา
1. ได้บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ
2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สนใจในการพัฒนาการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง ซึ่งจะส่งผลถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียน 93 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนห้อง ม. 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยการจับสลากห้องเรียน มีขั้นตอนดังนี้
2.1 กำหนดห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จำนวน 3 ห้องเรียน
2.2 สุ่มห้องเรียนโดยการจับสลากมา 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 3 ห้องเรียน ปรากฏว่าสุ่มได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 38 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้
3. ระยะเวลาในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549
4. เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน ใช้เวลาสอนทั้งหมด 12 ชั่วโมง
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ แต่ละเล่มมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเล่มละ 10 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
วิธีดำเนินการ
1. ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น บันทึกผลการทดสอบที่ได้เป็นคะแนนก่อนเรียน
2. ผู้วิจัยดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ และใช้บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค ที่ผู้รายงานออกแบบขึ้น โดยใช้เวลาสอนทั้งหมด 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปทดสอบหลังเรียน (Posttest) ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับการทดสอบก่อนเรียน (Pretest)
4. ตรวจผลการทดสอบแล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติ
5. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 38 คน หลังจากเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยแบบวัดความพึงพอใจที่ได้ผ่านการตรวจสอคุณภาพแล้วจำนวน 20 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีวิธีของกูดแมน, เฟลทเชอร์ และชไนเดอร์ (Goodman, Fletcher and Schneider)
3. วิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ t-test ( Dependent Sample)
4. วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผล
1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.22/83.43
2. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7989 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7989 หรือคิดเป็นร้อยละ 79.89
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด
......................................................