การจัดการศึกษาสำหรับเด็กออทิสติกจะมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เป็นต้นว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากรทางการแพทย์ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่จะมีความเข้าใจและเห็นใจเด็กออทิสติก ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม โดยผู้บริหารเข้าร่วมปฏิบัติการบริหารจัดการโดยแนวทางตามโครงสร้างซีทและกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพแบบเดมมิ่ง(PDCA) ซึ่งใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐาน ...สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรเช่นเดียวกับการใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) โดยดำเนินการตามวงจร PAOR ตามแนวคิดของ Kemmis and Mc Taggart มาดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน(P)การปฏิบัติงาน(A)การสังเกตการณ์(O) และการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน(R) ผู้รายงานนำกระบวนการประชุมแบบมีส่วนร่วมAIC เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมคือ ขั้นการสร้างความรู้(Appriciatoin:A)ขั้นการสร้างยุทธศาสตร์พัฒนา(Influence:I) และขั้นการสร้างแนวทางปฏิบัติ(Control:C) จากการศึกษาของ วรจักร มั่นคง.(2550) เพื่อให้การจัดการศึกษาสำหรับเด็กออทิสติกนั้นได้พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้ทุกด้านเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ โดยการเรียนรู้ทักษะทางสังคมที่เหมาะสมกับวัย การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศักยภาพของบุคคลออทิสติกในรูปแบบการเรียนรวมกับเด็กปกติ เพื่อการดำรงและดำเนินชีวิตในสังคมลักษณะรวมกัน ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต่างยอมรับซึ่งกันและกัน และใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก ก็จะทำให้เด็กออทิสติกเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของแต่ละคน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา...ได้ตระหนักถึงความสำคัญ…ส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียนแกนนำ ดำเนินการตามกรอบโครงสร้างซีท(SEAT Framework) เน้นการบริหารจัดการตามองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ องค์ประกอบด้านนักเรียน (S- Students) สิ่งแวดล้อม (Environment) กิจกรรมการบริหาร (A-Activities) และองค์ประกอบด้านเครื่องมือ (T-Tools) ซึ่งได้ดำเนินการอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมา
โดย ลัดดา ทักษิณาวงศ์สกุล
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านหาดใหญ่)
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา