ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมTechnology  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่า


Technology 28 พ.ย. 2555 เวลา 07:23 น. เปิดอ่าน : 12,576 ครั้ง
Advertisement

สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่า

Advertisement

 

สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่า


           
เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าของโทรศัพท์มือถือสมัยใหม่หมายความว่าการทำโทรศัพท์หายจะไม่ใช่แค่การสูญหายของรายชื่อเบอร์ติดต่อหรือข้อความในฐานข้อมูลของมือถืออีกต่อไป และถึงแม้คุณจะไม่ได้ใช้มือถือเข้าอินเตอร์เน็ตหรือเก็บข้อมูลลับเฉพาะ คุณก็ยังมีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรยุคดิจิตอลหากไม่ป้องกันมือถือให้รัดกุม วันนี้เราได้รวบรวมวิธีรับมือกับภัยเงียบจากการใช้ smartphone มาแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้ smartphone มั่นใจได้ว่าไม่ได้กำลังตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้ายที่มีจำนวนมากขึ้นทุกที

 
การรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นด้วยรหัสล็อคโทรศัพท์
            การล็อคหน้าจอเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ช่วยยับยั้งไม่ให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราได้โดยไม่ได้รับอนุญาต หากมือถือถูกวางทิ้งไว้หรือสูญหาย โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการปลดล็อคหน้าจอเพื่อเข้าถึงข้อมูลด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยการกดรหัส แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ pin code หรือรหัสผ่านก็เป็นวิธีป้องกันที่ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด
            แน่นอนว่า ยิ่งรหัสรักษาความปลอดภัยที่ตั้งไว้ในโทรศัพท์ง่ายต่อการจดจำเท่าไหร่ความปลอดภัยก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น การล็อคโทรศัพท์มือถือเป็นขั้นตอนรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นที่ไม่ได้หยุดยั้งผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจใช้วิธีขโมยซิมการ์ดเพื่อใช้งานในมือถือเครื่องอื่นได้ เพราะฉะนั้น การตั้งระบบล็อคที่ซิมการ์ดสำหรับการเข้าใช้งานก็เป็นมาตรการเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง


การเสริมความปลอดภัยอีกขั้นด้วยซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลลับเฉพาะ
            การป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีใช้มือถือด้วยการเข้ารหัสอาจไม่เพียงพอสำหรับโทรศัพท์มือถือสมัยใหม่ที่มีศักยภาพในการใช้งานเกือบเทียบเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดย่อม

เพราะเซียนมือถือสามารถกู้ข้อมูลใน smartphone ได้อย่างง่ายดายด้วยการถอดมีเดียการ์ดออกมาหรือเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการรองรับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนนี้จึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

            smartphone ชั้นนำอย่าง BlackBerry หรือ iPhone ได้พัฒนาเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือไปไกลกว่าการพึ่งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาแล้ว ในเวลานี้ ระบบรักษาความปลอดภัยในตัวของ BlackBerry รองรับทั้งการใช้งานส่วนตัวและการใช้งานเชิงธุรกิจ ซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานส่วนบุคคลจะช่วยการันตีความปลอดภัยของข้อมูลในโทรศัพท์และมีเดียการ์ดของผู้ใช้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันภัยคุกคามทางอีเมลจากบรรดาอีเมลขยะ ไวรัสหรือมัลแวร์ได้ ในขณะที่ซอฟต์แวร์อย่าง BlackBerry Enterprise Server และ BlackBerry Enterprise Server Express ก็จะทำหน้าที่ปกป้องข้อมูลขององค์กรใน smartphone ให้มีความปลอดภัยรัดกุม ส่วนทางฝั่ง iPhone ก็มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหลายรูปแบบให้เลือกด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารหัสข้อมูล เครือข่ายส่วนตัวเสมือน การลบข้อมูลอุปกรณ์ระยะไกล การล็อคแอพพลิเคชั่นด้วยรหัสผ่าน หรือการแยกส่วนของข้อมูลในเครื่อง


การระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของเครือข่ายไร้สายและบลูทูธ
           

            จะมีสักกี่คนรู้ว่าสัญญาณ wireless ที่เชื่อมต่อ smartphone กับระบบเครือข่ายไร้สายจะนำภัยมาสู่ข้อมูลส่วนตัวได้ วิธีลดความเสี่ยงอันดับแรกก็คือการปิดสัญญาณ wireless ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์รองรับสัญญาณโทรศัพท์ไม่ได้ถูกออกแบบหรือติดตั้งให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายใกล้เคียงโดยอัตโนมัติ

            นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังสำหรับการใช้บริการเครือข่าย wireless เนื่องจากเวลานี้มีเทคนิคกลโกงที่เรียกว่า Evil Twin ด้วยการสร้าง access point ปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกให้เข้าใช้ โดยตั้งชื่อให้เหมือนเครือข่ายของจริงซึ่งเป็นที่รู้จัก หลังจากนั้นจะใช้โปรแกรมดักจับข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่หลงเข้ามา ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนทำการเชื่อมต่อสัญญาณ wireless ในที่สาธารณะ การใช้บลูทูธก็เช่นเดียวกัน แม้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็กันไว้ดีกว่าแก้ด้วยการตั้งค่าบลูทูธให้เป็น non-discoverable โหมด เพื่อให้เครื่องอื่นรอบข้างในรัศมีสแกนไม่เจอ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการตอบรับคำเชิญชวนจากแหล่งสัญญาณแปลกปลอมที่ไม่คุ้นเคยผ่านบลูทูธด้วย


การดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเป็นดาบสองคม
            การติดตั้งแอพพลิเคชั่นเป็นอีกหนทางจารกรรมข้อมูลที่ต้องระวัง ทุกครั้งที่ทำการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่ลงมือถือ ผู้ใช้ smartphone จึงควรให้ความสำคัญกับข้อกำหนดในการติดตั้งซอฟต์แวร์ด้วย ที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจากแหล่งที่ไม่คุ้นเคย หรือถ้าจะให้ปลอดภัยแน่นอน แนะนำให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ทางการที่รวบรวมแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆจะดีที่สุด

            ในทางกลับกัน แอพพลิเคชั่นจากผู้ผลิตมือถือชั้นแนวหน้าหลายค่ายที่มีให้ทั้งดาวน์โหลดฟรีและเสียเงินก็เป็นทางเลือกในการยกระดับความปลอดภัยให้กับ smartphone ได้อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างที่น่าสนใจก็เช่น Lookout Mobile Security แอพพลิเคชั่นสำหรับ iPhone และ Android ที่ช่วยกลั่นกรองความปลอดภัยของเครือข่ายไร้สาย แอพพลิเคชั่นหรือลิงค์แปลกปลอม ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ใช้ทำธุรกรรมทางการเงินกับบริการธนาคารออนไลน์ได้อย่างอุ่นใจโดยไม่ต้องคอยกังวลเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ก็มีแอพพลิเคชั่นอย่าง SmrtGuard Mobile Security ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของเครื่อง BlackBerry ห่างไกลจากการถูกไวรัสมือถือหรือสปายแวร์โจมตีข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งตัดความรำคาญจากการรบกวนของข้อความขยะด้วย






 


สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่าสี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้smartphoneที่ปลอดภัยกว่า

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

qr code คืออะไร

qr code คืออะไร


เปิดอ่าน 13,714 ครั้ง
ADSL ทำงานอย่างไร?

ADSL ทำงานอย่างไร?


เปิดอ่าน 14,464 ครั้ง
iOS 6 มีอะไรใหม่บ้าง?

iOS 6 มีอะไรใหม่บ้าง?


เปิดอ่าน 11,847 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อนาคต 10 อย่างที่กำลังจะหายไป

อนาคต 10 อย่างที่กำลังจะหายไป

เปิดอ่าน 18,138 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
Scribble นวัตกรรมปากกา 16 ล้านสีในแท่งเดียว
Scribble นวัตกรรมปากกา 16 ล้านสีในแท่งเดียว
เปิดอ่าน 9,732 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรับโฉมคนทำงาน ด้วยความสามารถด้านการเชื่อมต่อและระบบอัจฉริยะในยุคดิจิทัล
ปรับโฉมคนทำงาน ด้วยความสามารถด้านการเชื่อมต่อและระบบอัจฉริยะในยุคดิจิทัล
เปิดอ่าน 10,923 ☕ คลิกอ่านเลย

สุดยอดโปรแกรมตรวจสอบสเปคคอมพิวเตอร์ ปี 2012
สุดยอดโปรแกรมตรวจสอบสเปคคอมพิวเตอร์ ปี 2012
เปิดอ่าน 17,215 ☕ คลิกอ่านเลย

การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน UHF
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน UHF
เปิดอ่าน 17,854 ☕ คลิกอ่านเลย

ลองอ่าน"เมื่อเฟซบุ๊คเฉลยปริศนา เพราะอะไรเราจึงไม่มีปุ่มคลิก"dislike"(ไม่ชอบ) ให้พวกคุ
ลองอ่าน"เมื่อเฟซบุ๊คเฉลยปริศนา เพราะอะไรเราจึงไม่มีปุ่มคลิก"dislike"(ไม่ชอบ) ให้พวกคุ
เปิดอ่าน 7,908 ☕ คลิกอ่านเลย

กูเกิล เผยอันดับคำค้นหายอดนิยมของคนไทย ประจำปี 2014
กูเกิล เผยอันดับคำค้นหายอดนิยมของคนไทย ประจำปี 2014
เปิดอ่าน 12,081 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พบ ยีน ต้นเหตุชายโตเร็วกว่าหญิง แต่ส่งผลอายุขัยสั้นกว่า!
พบ ยีน ต้นเหตุชายโตเร็วกว่าหญิง แต่ส่งผลอายุขัยสั้นกว่า!
เปิดอ่าน 10,453 ครั้ง

3 แนวทาง"พลิกโฉม"คุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล
3 แนวทาง"พลิกโฉม"คุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล
เปิดอ่าน 19,436 ครั้ง

เหงื่อบอกโรค
เหงื่อบอกโรค
เปิดอ่าน 11,635 ครั้ง

มหัศจรรย์ "ผึ้งบำบัด" รักษาอาการเรื้อรัง-ไมเกรน-อัลไซเมอร์ กระแสตอบรับล้นหลาม
มหัศจรรย์ "ผึ้งบำบัด" รักษาอาการเรื้อรัง-ไมเกรน-อัลไซเมอร์ กระแสตอบรับล้นหลาม
เปิดอ่าน 20,490 ครั้ง

อาหารยอดนิยมในอาเซียน (กัมพูชา)
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (กัมพูชา)
เปิดอ่าน 20,216 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ