Advertisement
มีปราชญ์กล่าววา “มนุษย์ถ้ามีชีวิตอยู่ด้วยโดยปราศจากการตรวจสอบ ไม่ควรค่าแก่การเป็นอยู่” สังคมไทยกับความเชื่อก็เช่นเดียวกัน ถ้าเหตุการณ์ใดหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยถ้าไม่มีการตรวจสอบ จะมีรูปแบบเหมือนเสมือนสถานการณ์งมงาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับความเชื่อ สังคมไทยถ้ามีการเปรียบเทียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ที่มีลำต้นประกอบด้วยเปลือก กระพี้ และแก่น ในส่วนของต้นไม้ ส่วนที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ แก่น กระพี้หรือเปลือก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทุกส่วนมีความสำคัญ และมีอุปการะแก่ต้นไม้ทั้งสิ้น กล่าวคือ ถ้ามีเพียงแก่นอย่างเดียว นั่นหมายความว่าต้นไม้นั้นตายแล้ว ถ้าไม่มีเปลือกหุ้มกระพี้ และกระพี้โอบอุ้มและปกป้องแก่นไว้ การที่ไม้ใหญ่และโตได้เพราะการสละเปลือกเก่าและผลิตเปลือกใหม่มาทดแทน ดังนั้น ต้นไม้ที่จะเจริญเติบโตได้ดี มีความจำเป็นต้องประกอบด้วยลักษณะดังกล่าว แม้ว่า ส่วนของต้นไม้บางส่วนจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีเท่าเทียมกันก็ตาม แต่ความสำคัญในด้านการทำหน้าที่ ทุกส่วนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
รากฐานของสังคมไทย เป็นสังคมที่ประกอบด้วยลักษณะของการเรียนรู้ จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ คือไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆ ล้วนแล้วจะแฝงด้วยภูมิปัญญาทั้งสิ้น และจะประกอบด้วยกระบวนการอบรมสั่งสอน ปลูกฝัง และการถ่ายทอดแบบกุสโลบาย เช่น กุสโลบายเกี่ยวกับการเรียน มีปัญญาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน กุสโลบายเกี่ยวกับครอบครัว อดเปรี้ยวไว้กินหวาน กุสโลบายเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี กุสโลบายเกี่ยวกับความไม่ประมาท เล่นกลางคืนผีจะลักซ่อน เป็นต้น
รูปแบบการสอน นอกจากจะแฝงอยู่ในลักษณะที่เป็น คำพังเพย คำสอน คำสุภาษิต ฯลฯ ยังมีคำสอนที่ซ่อนอยู่ในรูปของวัตถุ (รูปธรรม) เช่น สิ่งก่อสร้างที่มักจะแอบอิงหรือแฝงไปด้วยคติธรรมด้วยเสมอ ทั้งนี้ ไม่ว่ารูปแบบการเรียนรู้ หรือการสอนจะปรากฏอยู่ในภาวะการณ์ใดก็ตาม ทั้งมวลนี้ คือกระบวนการที่ใช้เป็นเครื่องมือการสอนของคนไทย จนกระทั่งปรากฏรูปแบบเป็นวัฒนธรรมการสอน ที่คนในสังคมได้แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของคน ที่ได้สะท้อนถึงวัฒนธรรมการสอนออกมาในรูปแบบต่าง คือ
- วัฒนธรรมการสอนแบบนามธรรม (การวิเคราะห์) เป็นรูปแบบที่ต้องใช้เหตุผลแสวงหาข้อเท็จจริง ที่ซ่อนปนอยู่กับรูปแบบการสอน ซึ่งแต่ละแบบมีลัณษณะเป็นความเชื่อ เชื่อจนกระทั่งดูเหมือนว่าเป็นความงมงาย โดยเฉพาะกับคนที่เชื่อ และไม่อาจแยกความเชื่อออกจากวัฒนธรรม หรือหาวัฒนธรรมในความเชื่อไม่เจอ จะเป็นผลทำให้การสอนมีช่องว่าง ระหว่างโจทย์ที่ตั้งเป็นคำถาม กับผู้ตอบ จะพบคำตอบที่ต่างวัตถุประสงค์ เป็นต้นว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับ ผี วิญญาณว่ามีจริง จะมีจริงหรือไม่ เคยเห็นหรือเปล่า อาจพบเจอมาแตกต่างกัน แต่จะเชื่อในเบื้องต้นว่าผีมี ถ้าจะอ้างอิงว่าพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงผีหรือวิญญาณเอาไว้ ในเมื่อสังคมไทยเป็นสังคมพุทธ ความน่าจะเป็นอาจเป็นไปตามนั้นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ต้องยอมรับว่า ทำไมคนไทยเชื่อเรื่องผีหรือวิญญาณว่ามีจริง คือคนไทยเกือบทุกคนเคยถูกปลูกฝังและเคยได้ยิน รวมทั้งเคยถูกหลอกเกี่ยวกับผีมาตั้งแต่เกิด หรือนี่คือวิธีการที่ใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้จิตใจของคนในสังคมเกลี้ยงเกลา ไม่กระด้างกระเดื่อง ทำให้ว่านอนสอนง่าย
การเชื่อว่าผีมีจริงเป็นสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผีหรือวิญญาณอีกมากมาย เช่น บ้านเรือนมีผีเรือน ต้นไม้มีรุกขเทวดา รถมีแม่ย่านาง พื้นดินมีภุมมเทวดา แม่น้ำมีแม่คงคา รวมทั้งยังมีสารพัดวิญญารที่สิงสถิตย์อยู่ตามที่ต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน แต่ผลสะท้อนที่ปรากฏเป็นวัฒนธรรมแห่งความเชื่อ คือ
- สร้างสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เป็นการปลูกฝังเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือนนิเวศวิทยา เมื่อมนุษย์มีความผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ได้ประโยชน์มากมายจากธรรมชาติ ได้พึ่งพึงอิงอาศัยกัน การที่จะทำให้มนุษย์เชื่อและเห็นคุณค่าของธรรมชาติมากกว่าได้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ จำเป็นต้องให้มนุษย์รู้จักให้ตอบแทนบ้าง ฉะนั้น การดูแลรักษาธรรมชาติ จึงต้องอาศัยเทพยดา ภูติ ผี ปีศาจ และวิญญาณเป็นที่อ้างอิง อาจเป็นเพราะมนุษย์มีอุปนิสัย (อัตตา) เกี่ยวกับความเชื่อในตัวเองมากกว่าที่จะคนอื่น จึงไม่อาจจะเตือนหรือเชื่อกันเองได้
- สร้างกุสโลบาย เป็นกลวิธีในการหล่อหลอมให้จิตใจของมนุษย์อ่อนนุ่ม และอ่อนโยน อันจะเป็นผลทำให้ง่านต่อการปกครอง การอบรมและปลูกฝัง รวมทั้งเป็นการผูกปริศนาธรรมที่ซ่อนเร้นอยู่กับสถานการณ์
- สร้างพลังชีวิต ไม่มีพลังใดที่จะยิ่งใหญ่และมีแรงผลักดันเท่าเทียมพลังแห่งใจ การสร้างพลังชีวิตคือการสร้างจิตใจให้เกิดพลัง การได้ไหว้ การได้บนบานศาลกล่าวกับต้นไม้เพียงแค่เชื่อว่ามีวิญญาณสิงสถิตย์อยู่ ต้นหนึ่ง ดูเหมือนจะเขลาปัญญา แต่อาจจะทำให้พลังใจเกิดพลังลุกโชนอีกครั้งก็เป็นได้
วัฒนธรรมแห่งความเชื่อ มีวิวัฒนาการคล้ายกับปรัชญา ดังนั้นสังคมไทย จึงมีรูปแบบเป็นสังคมปรัชญา เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ แต่ตราบใดที่ไม่มีใครหาคำตอบจากการสอนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งดูเพียงผิวเผินคล้ายงมงาย ความงามของเงาจันทร์ในน้ำเน่าคงจะไม่ปรากฏ แต่ถ้าหากว่า จะมีใครสักคนที่เห็นความงานของเงาจันทร์นั้น อาจจะถูกมองว่าเป็นคนบ้าคนหนึ่งของสังคมนั้น ถ้าคนในสังคมทั้งหมด เห็นเพียงความสำคัญของกระพี้ไม้ เปลือกไม้ หรือแก่นไม้ เพียงแค่ใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น
วันที่ 30 ม.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,264 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,672 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,173 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,691 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,547 ครั้ง |
เปิดอ่าน 590,898 ครั้ง |
|
|