Advertisement
❝ การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ : วัยรุ่นกับการเลือก ❞
การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ : วัยรุ่นกับการเลือกอาชีพ
|
|
|
|
วัยรุ่นกับการเลือกอาชีพ
1.วัยรุ่นเป็นวัยของการเตรียม ตัวเพื่อ การประกอบอาชีพวัยรุ่นจึงจำเป็นต้อง พิจารณา เลือกอาชีพ โดยการศึกษา
ไตร่ตรอง อย่างรอบคอบ เกี่ยวกับความ ถนัดความสนใจความสามารถ ของตนเอง ตลอดจนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพนั้นๆ มากกว่าการที่จะเลือกตาม พ่อแม่ และเพื่อน
2. การครองอาชีพจำเป็นต้อง อาศัย การปลูกฝังลักษณะนิสัย ต่าง ๆ ที่จะเกิดประโยชน์ และ ความก้าวหน้า ในการทำงาน ได้แก่ ความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ฯลฯ
1.วัยรุ่นกับการเลือกอาชีพ
คนทุกคนต้องประกอบอาชีพ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่ควรเลือกแนวทางการศึกษาเพื่อ นำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต บางคนอาจเริ่มแนวทางเพื่อการประกอบอาชีพแล้ว การเลือกศึกษา เพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพต่อไป หรือการเลือกอาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญและทำให้วัยรุ่นเกิดความสับสนได้ เนื่องจากในเรื่องนี้จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่มาก นับตั้งแต่บุคคลที่ใกล้ชิดที่สุดและมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพ มากที่สุด คือ พ่อ แม่ บุคคลอื่น ๆ ภายในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน เนื่องมาจากเด็กวัยรุ่นไทยยังอยู่ ภายใต้ข้อจำกัดของระบบการศึกษา สติปัญญา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ความนิยมของท้องถิ่น โรงเรียน และสังคมส่วนรวม และวัยรุ่นเองก็ยังไม่ตระหนักชัดในความสนใจ ความถนัด ความต้องการ และลักษณะบุคลิกภาพของตนเองอย่างแท้จริง
ในการตัดสินใจเลือกอาชีพ วัยรุ่นจะต้องคำนึงถึง
1. ความถนัดส่วนตัว
คนเราแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน การได้ทำงาน หรือประกอบอาชีพที่ตน ถนัด โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานหรืออาชีพนั้น ย่อมมีมาก ตรงข้าม ถ้าได้ทำงานที่ตนเอง ไม่ถนัด นอกจากจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรแล้ว ยังทำทำให้ขาดความสุขในการทำงานนั้น ๆ อีกด้วย ความถนัด ส่วนตัว เป็นสิ่งที่วัยรุ่นจะต้องค้นหาให้พบในตนเอง โดยจะต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่พิจารณาโดย ผิวเผิน จากความชอบความสนใจเพียงอย่างเดียว คนบางคนมีความชอบ มีความสนใจ แต่อาจจะไม่มี ความถนัด ก็เป็นได้ ความถนัดจึงเป็นความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีเป็นพิเศษ เช่น ความถนัดทาง ตัวเลข ความถนัดในการพูด การใช้ภาษา ความถนัดในการแสดง ถึงแม้นว่า การทำงานใด ๆ ย่อมต้อง อาศัยการฝึกฝน การมีความรู้เบื้องต้น แต่ความถนัดก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงานให้ได้ดี
2. ความสนใจ
ความชอบในอาชีพนั้น ๆ โดยความเป็นจริงแล้วในวัยรุ่นเรามักจะสนใจและชอบ อาชีพที่เด่นและโก้ มากกว่าจะพิจารณาอาชีพต่าง ๆ ที่เรามีความสามารถหรือมีแนวโน้มที่จะถนัดใน อาชีพนั้น ความสนใจ ความรัก ในการที่จะประกอบอาชีพนั้น ก็มีส่วนสำคัญอยู่บ้าง แต่ถ้าสนใจ แล้ว ไม่ถนัดเลย ก็จะไม่สามารถทำให้อาชีพนั้น เจริญก้าวหน้าได้ เช่น วัยรุ่นหลายคนที่สนใจอาชีพที่เกี่ยวกับ เครื่องยนต์กลไก แต่กลับมีความถนัดในการพูดการใช้ภาษา ไม่ถนัดในด้านการใช้เครื่องมือเครื่องไม้ต่าง ๆ ก็ไม่ควรเลือกอาชีพในด้านนี้ เพราะการทำสิ่งที่ไม่มีความถนัด จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ยาก
3. การเลือกอาชีพตามความคาดหวังของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง
เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องเลือกอาชีพตามที่พ่อแม่คาดหวังเพียงเพื่อให้พ่อแม่พอใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่วัยรุ่นจะต้อง พิจารณาให้ดี การเลือกอาชีพโดยตามใจพ่อแม่ โดยไม่พิจารณาถึงความพอใจ ความสนใจ ความถนัด และ ความสามารถของตนเอง อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ คำแนะนำของพ่อแม่นั้นเต็มเปี่ยมด้วยความรัก และปรารถนาดี ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ชีวิต ย่อมเป็นคำแนะนำที่ดี มีประโยชน์ต่อเรา แต่การ ตัดสินใจขั้นสุดท้าย วัยรุ่นจะต้องมีแผนการเลือกอาชีพที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงของตนเองให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ โดยจะต้องพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ให้รอบคอบ
4. การเลือกอาชีพตามเพื่อน
ในช่วงวัยรุ่น เพื่อนจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตเรามากที่สุด ดังนั้นจึงมี วัยรุ่นเป็นจำนวนมากที่ตัดสินใจเลือกเรียนเพื่อการประกอบอาชีพตามเพื่อน เพียงเพราะว่า ต้องการเรียน หรืออยู่ร่วมกลุ่มเดียวกับเพื่อนที่ใกล้ชิด เพื่อนอาจให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ แต่เราจำเป็นต้อง พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตนเองมากที่สุด
5. โอกาสที่จะเข้าทำงาน
ในปัจจุบันในการเลือกเรียนอะไรก็ตาม เราจะต้องคำนึงถึงโอกาสที่จะ ทำงานด้วย เช่น อาชีพครูในปัจจุบันจะมีการแข่งขันเพื่อสอบคัดเลือกเข้าทำงาน โดยมีผู้สมัครจำนวนมาก มีตำแหน่งน้อย โอกาสที่จะเข้าทำงานจึงยาก ถ้าเราจะเลือกเรียนเพื่อประกอบอาชีพนี้ก็จะต้องมั่นใจตนเอง ว่ามีระดับสติปัญญา มีความสามารถสูงกว่าธรรมดา เพื่อจะมีโอกาสที่จะได้งานทำ
6. การเลือกอาชีพ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาในด้านสุขภาพด้วย
คนที่สายตาสั้นไม่ควรเลือกอาชีพที่ จะต้องใช้สายตามาก หรือในการประกอบอาชีพบางอย่าง ไม่รับคนที่มีปัญหาในทางสายตา เช่น อาชีพ แอร์โฮสเตส คนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ฝุ่น แพ้ผงละออง ไม่ควรเลือกอาชีพที่ทำให้ต้องอยู่กับสิ่ง ที่จะทำให้เกิดแพ้ เช่น อาชีพช่างตัดผม เสริมสวย ช่างก่อสร้าง เป็นต้น
7. สติปัญญาหรือความสามารถ
การเรียนวิชาชีพขั้นสูง จำเป็นต้องอาศัยสติปัญญาดี ซึ่งอาจดูได้จาก ระดับคะแนนหรือผลการเรียนที่ผ่านมา นอกจากนั้น การสอบได้คะแนนสูง ๆ ในวิชาใดก็พอจะชี้ให้เรารู้ได้ว่า มีแนวโน้มที่จะเรียนได้ดี มีความสามารถสูงในวิชานั้น ซึ่งควรนำมาพิจารณาเพื่อการตัดสินใจด้วย
8. ทุนทรัพย์ในการเตรียมตัวเพื่อการประกอบอาชีพนั้น ๆ
เช่น ถ้าเราต้องการเป็นวิศวกรเราต้อง เรียนวิศวกรรมในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์มาก ผู้ปกครองมีทุนเพียงพอให้เราเรียนต่อได้หรือไม่ เราจะสามารถหาทุนได้จากแหล่งใด
9. ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับอาชีพที่เลือก
โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะงาน คุณสมบัติของ ผู้ประกอบอาชีพนั้น แนวโน้มในอนาคต รายได้หรือผลตอบแทน ข้อจำกัดและความเสี่ยง โอกาสก้าวหน้า วัยรุ่นจะต้องรู้จักนำข้อมูลหลาย ๆ ด้าน มาเปรียบเทียบแล้วจึงตัดสินใจ นอกจากนั้นวัยรุ่นควรพิจารณาความ รู้สึกของตนเองให้ถ่องแท้ เนื่องจากในช่วงวัยรุ่น ความสนใจและความต้องการ อาจจะมีลักษณะที่หวือหวา ไม่มีการไตร่ตรองโดยแท้จริง การเลือกอาชีพนอกจากจะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเรายังพบว่า ลักษณะการเลือกอาชีพของวัยรุ่นมักเลือกเพราะอิทธิพลจากสื่อมวลชน และผู้ปกครอง เพื่อนฝูง อีกด้วย
ลักษณะการเลือกอาชีพของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน และแง่มุมที่ควรคิดพิจารณา
1. การเลือกอาชีพที่มีความโก้เก๋ และการผจญภัย ซึ่งเป็นอาชีพที่เด็กหนุ่มสาวส่วนใหญ่ปรารถนา เช่นนายทหาร ล่าม แอร์โฮสเตส ผู้เชี่ยวชาญการเสริมสวย นักหนังสือพิมพ์ ฯลฯ เนื่องจากเห็นว่า งาน เหล่านี้โก้เก๋ น่าตื่นเต้น ภาพยนต์และโทรทัศน์ก็จะเสนอแต่ภาพดี ๆ สวย ๆ งาม ๆ ทำให้วัยรุ่นไม่ได้รับ แนวทางที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในงานเหล่านี้อย่างแท้จริงงานต่าง ๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐาน ความรู้ ประสบการณ์ ความถนัด จึงจะประสบความสำเร็จ บางครั้งวัยรุ่นมองเห็นลักษณะอาชีพเหล่านี้ อย่างฉาบฉวย ทำให้คิดว่าเป็นงานสบาย และโก้เก๋
2. การเลือกอาชีพที่เด่นในสังคม เช่น การเป็นดารา นักร้อง ผู้ประกาศข่าวทีวี นายแบบ นางแบบ มี องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณามาก นับตั้งแต่ความชอบ ความสามารถ ความอดทน โอกาสที่จะได้งาน เหล่านี้ และสิ่งสำคัญที่วัยรุ่นไม่ได้คิดก็คือ ลักษณะงานของอาชีพเหล่านี้ เป็นงานที่ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง ต้องมี ผู้สนับสนุนจึงจะมีโอกาสที่จะเด่นได้ นอกจากนั้น ในการทำงานก็ไม่สามารถเลือกเวลาได้ บางครั้ง ดาราอาจต้องทำงานในเวลากลางคืน อดหลับอดนอน ต้องลงไปอยู่น้ำครำ ตามคำสั่งของผู้กำกับ ซึ่งจะ เห็นว่าอาชีพนี้ไม่ได้เป็นอาชีพที่มีแต่ความสวยหรูเพียงด้านเดียวอย่างที่เห็น
3. การเลือกอาชีพเพื่อให้เป็นที่พอใจของพ่อแม่ หรือการเลือกอาชีพตามเพื่อนเป็นสิ่งหนึ่งที่วัยรุ่นควร พิจารณาอย่างรอบคอบ บิดามารดามีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพของลูกรวมทั้งเพื่อนสนิทและครูบาอาจารย์ คำแนะนำของบิดามารดามีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพของลูก รวมทั้งเพื่อนสนิทและครูบาอาจารย์ด้วย คำแนะนำของบิดามารดาและเพื่อนควรนำมาเป็นข้อคิดพิจารณา เพราะบุคคลเหล่านี้มีความรู้ และ ประสบการณ์ ซึ่งมีมาก รวมทั้งความหวังดี แต่ก็ไม่ควรเลือกโดยไม่พิจารณาข้อมูลให้รอบคอบ
4. การเลือกหรือมุ่งหวังการประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่งเพียงอย่างเดียว เมื่อไม่มีโอกาสทำงานนั้น ก็จะผิดหวัง เช่น ถ้าต้องเป็นแพทย์เพียงอย่างเดียว เมื่อพบว่าตนเองไม่สามารถเป็นแพทย์ได้ ก็อาจจะคิดว่า ไม่มีงานอื่น ๆ อีก ทางที่ถูกวัยรุ่นควรได้พิจารณาถึงงานอื่น ๆ ที่ตนเองอาจมีความชอบ ความพอใจ ความ ถนัดรองลงมา ดังนั้นควรพิจารณาไว้หลาย ๆ อาชีพ และสนใจหาข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ เพื่อนำมา พิจารณา
5. ไม่ต้องการเลือกเรียนวิชาอาชีพ โดยมีค่านิยมเกี่ยวกับอาชีพวิชาการชั้นสูง วัยรุ่นควรเลือก แนวทางการศึกษาและการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของตนเอง มากกว่า การให้ค่านิยมกับการเรียนต่อวิชาการชั้นสูง เพื่อการประกอบวิชาชีพชั้นสูง เช่น การเรียนเพื่อเป็นแพทย์ สถาปนิก วิศวกร ฯลฯ
โดยความเป็นจริงแล้ว วัยรุ่นควรพิจารณาในด้านความพร้อมของตนเองในหลาย ๆ ด้าน นอกเหนือ จากความถนัด ความสนใจ เช่น สถานภาพทางการเงิน ระยะเวลาที่ต้องเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ วัยรุ่น ที่มีความถนัด ความสนใจในด้านไฟฟ้า แต่สภาพทางบ้านไม่สามารถที่จะส่งให้เรียนต่อในวิชาชีพชั้นสูง เช่น วิศวไฟฟ้าได้ ก็ควรเลือกเรียนหลักสูตรระยะสั้น ช่างไฟฟ้า หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. ช่างไฟฟ้า) การเรียนวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรใด ๆ ไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย หรือเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย หลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดให้เรียนอาจมีระยะเวลาต่างกัน แต่วิชาชีพเหล่านี้เมื่อได้ศึกษาหรือเข้าเรียนแล้ว ย่อมสามารถฝึกทักษะตนเองให้มีความรู้และประสบการณ์เพิ่มพูนขึ้นได้
2. การครองอาชีพ
วัยรุ่นจำนวนมากอาจจะเริ่มประกอบอาชีพหรือทำงานแล้ว และศึกษาต่อไปด้วยการครองอาชีพ ก็คือ การประกอบอาชีพที่ทำอยู่ให้ดี และถ้ามีโอกาสก็ควรมีการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าต่อไป
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง
ซึ่งอาจเป็นลูกจ้างบริษัท เอกชน ร้านค้า หรือแม้แต่รับราชการ ก็ถือว่าเป็นอาชีพที่ตนเองมิได้เป็นเจ้าของกิจการโดยตรง การครองอาชีพเหล่านี้จึงหมายถึง การทำงาน ที่ตนทำหน้าที่อยู่ให้ได้ดี เป็นที่พอใจของนายจ้าง อันจะทำให้ตนเองได้รับความก้าวหน้าต่อไป
สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ตนเองเป็นเจ้าของกิจการ
ได้แก่ อาชีพค้าขาย การทำเกษตร การทำ อุตสาหกรรมในครัวเรือน การประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการให้บริการ เช่น ขับรถรับจ้าง อาชีพช่างเสริมสวย ช่างซ่อมรถยนต์ ก็จะต้องมีความรับผิดชอบ และเอาใจใส่ในอาชีพของตน ตลอดจนการรู้จักเอาใจใส่ลูกค้า ผู้รับบริการ ซึ่งจะสามารถประกอบอาชีพที่มีการแข่งขันกันสูงได้
ผู้ประกอบอาชีพทั้งอาชีพรับจ้าง และประกอบอาชีพอิสระ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ จึงจะสามารถ พัฒนาอาชีพให้เจริญก้าวหน้า
1. มีทัศนคติและค่านิยมที่ถูกต้องในเรื่องการทำงาน มองเห็นและตระหนักว่าการทำงานทำให้คน มีค่างานทุกชนิดที่เป็นอาชีพสุจริตล้วนเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ความสำเร็จที่น่าชื่นชมจะต้องมาจากความ สามารถ การมีทัศนคติและค่านิยมที่ถูกต้อง จะช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในงาน และหน้าที่ที่ตนรับ มอบหมาย โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น
2. มีนิสัยพื้นฐานในการทำงานที่ดี ได้แก่ ความขยัน อดทน รักการทำงาน ความรับผิดชอบ มีวินัยใน การทำงาน ความซื่อสัตย์
3. การวางแผน รู้จักการวางแผนว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
4. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ถึงตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ เช่น เราวาง เป้าหมายที่จะทำงานให้เสร็จในเวลาเท่าไร จะต้องมีกำลังใจเข้มแข็งที่จะทำให้สำเร็จตามที่ได้วางไว้
5. การรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิต ในการประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตาม เราจะสามารถทำให้ได้ดี มีความก้าวหน้า ย่อมต้องอาศัยการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรู้จักการ ออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ดูแลร่างกายเมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ใช่มุ่งมั่นที่จะทำงาน โดยไม่ได้ ดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง
6. ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงให้งานหรือกิจการของเราก้าวหน้า ไม่ล้าหลัง สามารถที่จะ ดำเนินการในยุคปัจจุบันได้ ทันเวลา ทันเหตุการณ์
7. การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล คือต้องรู้จักมองภาพอนาคตให้กว้างไกล ว่าอาชีพที่ทำอยู่นั้นมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลง จะพัฒนาไปในทิศทางใด และจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งใดบ้างที่จะช่วยทำให้ สามารถดำรงอาชีพที่ทำอยู่ให้ได้ หรือพัฒนาอาชีพที่ทำให้ก้าวหน้าขึ้น
ที่มา : http://www.siaminfobiz.com/
|
วันที่ 24 ม.ค. 2552
ตัวนี้เอาอยู่! สำหรับคุณครูที่ทั้ง "ร้อง เล่น เต้น สอน เปิดเพลง" รุ่นนี้เอาอยู่ ลองดู Sherman TS-101 Trolley Speaker Amplifier ลำโพงบลูทูธล้อลาก ขนาด 6.5 นิ้ว กำลังขับ 60W ในราคา ฿1,790 ที่ Shopehttps://s.shopee.co.th/3VUQ2Kf9NU?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,325 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง เปิดอ่าน 7,300 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,281 ครั้ง เปิดอ่าน 7,247 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,197 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,190 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,183 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,683 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,179 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,181 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,184 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,228 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,983 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,803 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,002 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,422 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,764 ครั้ง |
|
|