ชื่อเรื่อง รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่องหลักภาษาไทย
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษาค้นคว้า นายภานะเรศ บุตรดีขันธ์
ครูชำนาญการ
โรงเรียน กุดรังประชาสรรค์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3
ปีที่พิมพ์ 2551
บทคัดย่อ
รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องหลักภาษาไทย รายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องหลักภาษาไทย รายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนหลังการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่องหลักภาษาไทย รายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุดรังประชาสรรค์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มี 6 ชนิด คือ 1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่องหลักภาษาไทย รายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม 2)แบบฝึกทักษะ เรื่องหลักภาษาไทย รายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม 3) แผน การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นคู่มือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 80 ข้อ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ เอกสารประกอบการเรียน วิชา หลักภาษาไทย ท 30205 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 22 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t – test (Dependent Sample) และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะรายวิชาหลักภาษาไทย ท30205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประสิทธิภาพ จากการใช้ กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2550 มีค่าเท่ากับ 80.14 / 85.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าหลังการใช้ใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้
3. วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้ใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะวิชา หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7872 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7872 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.14
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะวิชาหลักภาษาไทย พบว่า
4.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็นต่อเอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง หลักภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเท่ากับ 4.21 และมีค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.84
4.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็นต่อการใช้แบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเท่ากับ 4.4 และมีค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81