Advertisement
เริ่มแล้ว! กล้องไฮเทค จับผิด 30 แยกทั่วกรุง ฝ่าไฟแดง-ปรับถึงบ้าน
กล้องดิจิตอลเหล่านี้จะประจำการอยู่ตามสี่แยกต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ โดยเฉพาะแยกขนาดใหญ่และถนนสายสำคัญ ทำหน้าที่ตรวจจับคนขับรถฝ่าไฟแดง พร้อมกับออกใบสั่งเรียกเก็บเงินถึงบ้าน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ตรวจตรารถต้องสงสัยที่วิ่งผ่านไปมาตามท้องถนนอีกด้วย นับเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของตำรวจอีกทาง ต่อจากนี้ใครทำผิดจะมีภาพบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ตามด้วยจดหมายให้ไปเสียค่าปรับฐานฝ่าฝืนกฎจราจร
โครงการกล้องไฮเทคถูกทดลองใช้ครั้งแรก วันที่ 30 ธันวาคม ภายใต้การดูแลของพล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. (ดูแลจราจร) ผู้เป็นต้นคิดโครงการนี้ การทำงานของเครื่องตรวจจับจะมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ระบบจับภาพผู้กระทำผิดซึ่งเป็นการทำงานของกล้องดิจิตอล และระบบศูนย์ควบคุมที่ทำหน้าที่นำภาพที่จับได้มาประมวลผล การทำงานจะเป็นไปตามขั้นตอน คือ ถ่ายภาพการกระทำผิดในรูปแบบแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมบันทึกรายละเอียดไว้ชัดเจน หลังจากนั้นระบบจะส่งภาพผ่านระบบสื่อสารโครงข่ายแบบ ADSL ไปยังศูนย์ควบคุมกลาง ทำการเปรียบเทียบข้อมูลยานพาหนะที่กระทำผิด พร้อมตรวจสอบความชัดเจนของภาพอีกครั้ง ก่อนพิจารณาพิมพ์ใบสั่งจัดส่งไปทางไปรษณีย์เพื่อเรียกชำระค่าปรับ
ในชั้นนี้มีการติดตั้งกล้องดิจิตอลทั่วกทม.แล้ว 30 จุด คือ
1.แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว
2.แยกบ้านม้า
3.แยกคลองตัน
4.แยกอโศกเพชร
5.แยกวิทยุ-เพลินจิต
6.แยกซังฮี้
7.แยกพญาไท
8.แยกโชคชัย 4
9.แยกนิด้า
10.แยกอุรุพงษ์
11.แยกประดิพัทธ์
12.แยกรัชดาฯ-พระราม 4
13.แยกลำสาลี
14.แยกบ้านแขก
15.แยกบางพลัด
16.แยกนรินทร
17.แยกราชประสงค์
18.แยกอโศกสุขุมวิท
19.แยกสาทร
20.แยกตากสิน
21.แยกโพธิ์แก้ว
22.แยกพัฒนาการ-ตัดรามฯ 24
23.แยกร่มเกล้า
24.แยกศุลกากร
25.แยกเหม่งจ๋าย
26.แยกท่าพระ
27.แยกประเวศ
28.แยกอังรีดูนังต์
29.แยกประชานุกูล
30. แยกบางโพ
โดยกล้องดังกล่าวแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.ตัวกล้อง
2.ตัวเซ็นเซอร์
3.ตัวคอมพิวเตอร์ประเมินผล
เมื่อไฟแดงทำงาน ตัวเซ็นเซอร์ทำงาน มีการฝ่าไฟแดงออกไปกล้องจะถ่ายภาพจากนั้นจะประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โคนเสาซึ่งเป็นกล่องเหล็ก ตัวคอมพิวเตอร์ก็จะส่งข้อมูลมาที่ศูนย์สั่งการและควบคุมจราจร (บก.02) มาขึ้นที่จอมอนิเตอร์ใน บก.02 โดยเครื่องจะอ่านอัตโนมัติว่าเป็นรถของใคร ซึ่งทางกองบัญชาการตำรวจจราจร ได้เชื่อมต่อเครือข่ายกับกรมการขนส่งที่ศูนย์รัตนาธิเบศร์ เพื่อบอกสีรถ ยี่ห้อรถ ชื่อเจ้าของรถ เมื่อได้รายละเอียดจึงพิจารณาพิมพ์หมายหรือใบสั่งต่อไป
โดยผู้ทำผิดกฎจราจรจะถูกกล้องบันทึกภาพไว้ เมื่อหลักฐานครบถ้วนเจ้าหน้าที่จะแนบหมายเรียกส่งไปถึงบ้าน ซึ่งภาพที่ส่งไปจะมี 3 ภาพ คือ ภาพก่อนการกระทำความผิด ภาพขณะกระทำความผิด และภาพเฉพาะทะเบียนรถ โดยในภาพจะปรากฏชื่อสถานที่ วันเวลากระทำความผิด ความเร็วของรถ เห็นทั้งตัวรถและไฟสัญญาณ โดยจะส่งให้ภายใน 7 วัน หลังกระทำความผิด โดยเจ้าของจะต้องมาชำระค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในหมาย
นอกจากเสียค่าปรับแล้วยังมีการตัดแต้มคะแนนอีกด้วย
ใครที่ทำผิดกฎจราจรแล้วถูกจดหมายใบสั่ง จะต้องมาชำระค่าปรับตามจุดเปรียบเทียบปรับที่จัดไว้ คือ จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกจตุจักร จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกบางนา จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกตลิ่งชัน จุดเปรียบเทียบปรับกรมการขนส่งทางบกบางขุนเทียน สน.คู่ขนานลอยฟ้า สน.ใต้ทางด่วนพระราม 4 สน.ตู้กำแพงเพชร สน.วิภาวดี จุดเปรียบเทียบปรับ(บก.จร.เก่า) ภายใน 7 วัน
อัตราโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000
สำหรับรถคันแรกที่ทำผิดประเดิมกล้องไฮเทค ถูกบันทึกภาพไว้ได้ตอนตี 4 วันที่ 30 ธันวาคม บริเวณแยกอโศกสุขุมวิท ถนนรัชดาภิเษก แขวงและเขตคลองเตย เป็นรถยนต์หมายเลขทะเบียน ทร-59 กทม. ซึ่งเป็นรถยนต์แท็กซี่ ของสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร เลขที่ 1296/67-68 ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี แขวงและเขตบางซื่อ กทม.
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายร้อยรายที่ถูกกล้องจับบันทึกไว้ ใครเป็นใครต้องลุ้นกันตอนรับจดหมาย!!?
"โครงการระบบตรวจจับสัญญาณไฟจราจร เป็นหนึ่งในการช่วยลดปัญหาการให้ผู้ขับขี่มีวินัยไม่ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ทางกองบัญชาการตำรวจจราจร จึงได้ทดลองนำกล้องระบบตรวจจับผู้ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรมาใช้ แค่ช่วงทดลองก็พบว่าในแต่ละคืนมีคนทำผิดกฎจราจรกว่า 2 พันราย เพราะกลางคืนไม่มีตำรวจอยู่กลางสี่แยก ซึ่งกลายเป็นช่องว่างทำให้คนไม่เคารพกฎหมายทำผิดกฎจราจรและอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ เมื่อมีการติดตั้งกล้องอิเล็กทรอนิกส์ช่วยจับผู้กระทำผิด ก็จะเป็นประโยชน์กับเจ้าหน้าที่และลดการเกิดอุบัติเหตุได้
"นอกจากนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวยังลดความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้รถใช้ถนนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะการทำผิดจะถูกบันทึกไว้เป็นภาพถ่ายที่เห็นชัดเจน โดยทางบก.จร.จะส่งหมายเรียกให้มาชำระค่าปรับ แต่ถ้าหากไม่มาก็จะทำเรื่องไปยังกองทะเบียนเพื่ออายัดการต่อทะเบียนทันที ซึ่งการติดตั้งกล้องเหล่านี้หากมีหลายๆ แยก ก็จะเป็นการดี อย่างน้อยก็จะทำให้ผู้ขับขี่เกรงกลัว แม้ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำแยก ซึ่งประโยชน์สูงสุดในการมีเครื่องตรวจจับชิ้นนี้ คือ ลดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนนเอง และยังเป็นการลดกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะได้แบ่งไปตรวจตราความเรียบร้อยด้านอื่นแทน" พล.ต.ต.ภาณุ กล่าว
ถ้าผู้ใช้รถใช้ถนนมีวินัยไม่ทำผิดกฎจราจร ก็คงไม่ต้องสิ้นงบไปกับอุปกรณ์เหล่านี้!!
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ข่าวสด
คอลัมน์ สดจากสนามข่าว โดย กมล แย้มอุทัย/ชูชาติ แก้วเก่า เรื่อง/ภาพ
ภาพประกอบลิงค์จาก กระปุกดอทคอม
Advertisement
เปิดอ่าน 13,702 ครั้ง เปิดอ่าน 11,351 ครั้ง เปิดอ่าน 19,710 ครั้ง เปิดอ่าน 11,463 ครั้ง เปิดอ่าน 12,510 ครั้ง เปิดอ่าน 11,157 ครั้ง เปิดอ่าน 10,385 ครั้ง เปิดอ่าน 30,730 ครั้ง เปิดอ่าน 12,294 ครั้ง เปิดอ่าน 12,470 ครั้ง เปิดอ่าน 24,653 ครั้ง เปิดอ่าน 9,951 ครั้ง เปิดอ่าน 31,756 ครั้ง เปิดอ่าน 17,072 ครั้ง เปิดอ่าน 9,739 ครั้ง เปิดอ่าน 12,395 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,642 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,011 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,671 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,232 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,695 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,241 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,174 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,907 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,723 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,201 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,519 ครั้ง |
|
|