การออกแบบการจัดการเรียนรู้ แนวทาง Backward Design
( ฉบับประยุกต์ใช้ โดย นางอุ่นจิต คุ้มสวัสดิ์ )
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หัวเรื่อง / แก่นเรื่อง ความรู้คู่ภาษา
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ท 1.1.3 สามารถอ่านในใจและอ่านออกเสียงตามลักษณะคำประพันธ์ที่หลากหลาย และวิเคราะห์คุณค่าด้านภาษา เนื้อหา สังคม จำบทประพันธ์ที่มีคุณค่า นำไปใช้อ้างอิงได้ เลือกอ่านหนังสือ และสื่อสารสนเทศ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง เพื่อพัฒนาตนด้านความรู้ และ การทำงาน มีมารยาทการอ่าน และนิสัยรักการอ่าน
4. สามารถอ่านในใจ อ่านออกเสียง ตลอดจนรู้จักเลือกอ่านหนังสือ และสื่อ สารสนเทศ อีกทั้งยังมีมารยาทในการอ่าน และมีนิสัยรักการอ่าน
ท 2.1.2 มีมารยาทการเขียน และนิสัยรักการเขียน และการศึกษาค้นคว้า รู้จักเลือกใช้ภาษา เรียบเรียงข้อความได้อย่างประณีต สนใจการศึกษาค้นคว้า รวบรวมบันทึกข้อมูล นำวิธีการของแผนภาพความคิด จัดลำดับความคิด และพัฒนางานเขียนตามขั้นตอนในการนำเสนอในรูปแบบของงานเขียนประเภทต่าง ๆ
6. สามารถจดบันทึกข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า และเขียน เชิงสร้างสรรค์
7. รู้จักเลือกใช้ภาษา ศึกษาค้นคว้า รวบรวมบันทึกข้อมูล นำแผนภาพความคิด จัดลำดับความคิด พัฒนางานเขียนตามขั้นตอนในการนำเสนอตามรูปแบบงานเขียนประเภทต่าง ๆ
ท 3.1.2 สามารถพูดนำเสนอความรู้ความคิด การวิเคราะห์ และการประเมินเรื่องราวต่าง ๆ พูดในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผล ใช้ภาษาถูกต้องชัดเจน น่าฟังตามหลักการพูด มีมารยาทการฟัง การดู และการพูด
9. รู้จักใช้ภาษาในการพูดในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักการพูด ตลอดจนมีมารยาทในการพูด การฟังและการดู
ท 4.1.1 เข้าใจการสร้างคำไทยตามหลักเกณฑ์ของภาษา
11. อธิบายวิธีการสร้างคำตามหลักเกณฑ์ทางภาษาได้
ท 4.1.2 สามารถใช้ประโยคสามัญ และประโยคซับซ้อนในการสื่อสารได้ชัดเจน และสละสลวย
12. ใช้ประโยคต่าง ๆ ในการสื่อสารได้
ท 4.1.3 สามารถใช้ภาษาแสดงความคิดเห็น สร้างความเข้าใจโน้มน้าวใจ ปฏิเสธ เจรจาต่อรองด้วยภาษาและกิริยาท่าทางที่สุภาพ ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล คิดไตร่ตรองและลำดับความคิดก่อนพูดและเขียน
12. ใช้ภาษาแสดงความคิด สร้างความเข้าใจได้เหมาะสม
ท 4.1.4 เข้าใจธรรมชาติของภาษา การนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ทำให้ภาษาไทย มีวงคำศัพท์เพิ่มขึ้นตามความเจริญทางวิชาการและเทคโนโลยี
14. อธิบายลักษณะของคำไทยและคำที่มาจากภาษาต่างประเทศได้
ท 4.2.1 สามารถใช้ทักษะทางภาษาในการแสวงหาความรู้ ระดมความคิด การประชุม การวิเคราะห์ การประเมินการทำงานและใช้เทคโนโลยี การสื่อสารพัฒนาความรู้ และใช้ในชีวิตประจำวัน
17. ใช้ทักษะทางภาษาในการแสวงหาความรู้ การทำงาน การวิเคราะห์ การประเมินการทำงาน และใช้อย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์
ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ( Understandings )
นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
1. ลักษณะของคำไทยแท้ และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
2. วิธีการนำคำในภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาไทย
3. วิธีการสร้างคำใหม่
4. ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารในภาษาไทย
5. กระบวนการทำงาน, กระบวนการคิดวิเคราะห์, สังเคราะห์ที่หลากหลาย
6. มารยาทในการอ่าน, การเขียน, การฟัง, การพูด
คำถามสำคัญสำหรับการเรียนรู้ (Essential Question )
1. นักเรียนคิดว่า ลักษณะของคำไทยแท้กับคำที่มาจากภาษาต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร
2. การนำคำภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาไทยนั้น นักเรียนคิดว่า เรานำเข้ามาใช้ตามรากศัพท์เดิมหรือ มีการปรับเปลี่ยนเพื่อนำมาใช้อย่างไรบ้าง
3. การสร้างคำใหม่มีวิธีการอย่างไรบ้าง
4. ประโยคที่เราใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน มีลักษณะอย่างไรบ้าง
5. นักเรียนมีกระบวนการทำงานอย่างไรให้ประสบความสำเร็จได้ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
6. นักเรียนคิดว่า นักเรียนจะมีนิสัยรักการอ่าน รักการทำงาน ตลอดจนการรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ได้อย่างไร