Advertisement
เอเอฟพี/บีบีซีนิวส์/เอพี – อียิปต์เผยโฉมพระพักตร์ที่แท้จริงของ “ตุตันคาเมน” ยุวกษัตริย์แห่งไอยคุปต์ นำร่างมัมมีออกจากโลงหินสู่ตู้กระจก เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ถือเป็นการเก็บรักษาไปในตัว หลังมีผู้คนเข้าชมจำนวนมากมายในแต่ละปี พร้อมนำแบคทีเรียและความร้อนเขามาด้วย ถือเป็นการจัดแสดง “ร่างมัมมีพระศพ” ให้แก่สาธารณชนได้ชมเป็นครั้งแรก นับจากค้นพบฟาโรห์วัย 19 และสิ้นสุดการค้นหาสาเหตุแห่งการสิ้นพระชนม์เมื่อ 3,000 ปีก่อน
เหล่านักโบราณคดีค่อยๆ บรรจงเคลื่อนย้ายพระศพมัมมีฟาโรห์ “ตุตันคาเมน” (Tutankhamen) ออกจากหีบศพหินแบบโบราณ ที่ประดับตกแต่งไว้อย่างงดงาม มาไว้ในตู้กระจกที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในเป็นอย่างดี จัดแสดงไว้ในที่ฝังศพของพระองค์ ณ หุบผากษัตริย์ ในเมืองลักซอร์ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา
บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักโบราณคดีกำลังค่อยเคลื่อนย้ายพระศพ จากโลงหินสู่โลงกระจก เพื่อเหตุผลในการรักษาสภาพ ส่วนการเปิดให้สาธารชนเยี่ยมชม คือผลพลอยได้
การเผยร่างกายมัมมีที่แท้จริงของตุตันตาเมน หรือ คิงตุต (King Tut) นั้น นับเป็นครั้งแรกหลังค้นพบพระศพมัมมีในปี พ.ศ.2465 โดยโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ นักสำรวจชาวอังกฤษ ซึ่งนับจากนั้นกว่า 80 ปี มีเพียง 50 คนเท่านั้นที่มีโอกาสเห็นพระพักตร์จริงๆ ของฟาโรห์หนุ่มที่สิ้นพระชมน์มานานกว่า 3,000 ปี
หลังจากที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญเคลื่อนย้ายพระศพฟาโรห์ที่ดังที่สุดแห่งศตวรรษเข้าสู่ตู้กระจกแล้ว ก็เปิดผ้าลินนินสีขาวที่ห่อมัมมีเป็นชั้นสุดท้าย เผยให้เห็นร่างไร้วิญญาณหลายพันปี ซี่งพระศพที่เห็นในปัจจุบันมีลักษณะหดตัว และเป็นสีดำทั้งร่าง รวมถึงใบหน้า
การเคลื่อนย้ายครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ร่างกายส่วนที่เหลือของคิงตุต ซึ่งนักโบราณคดีเปิดเผยว่า มัมมีต้องเผชิญกับความร้อน ความชื้น และแบคทีเรียต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากนำเข้ามา ขณะเยี่ยมชมหลุมฝังศพกษัตริย์องค์น้อยในแต่ละปี
“กษัตริย์แห่งทองคำพระองค์นี้ ทั้งน่าอัศจรรย์และลี้ลับ ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องการชมว่า อียิปต์มีวิธีเก็บรักษาพระองค์ไว้อย่างไรบ้าง และเชื่อว่าผู้คนทั่วโลกก็อยากจะยลโฉมของพระองค์” ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ผู้อำนวยการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ กล่าวก่อนที่จะเคลื่อนย้ายฟาโรห์ผู้โด่งดัง
ฮาวาสส์กับพระศพฟาโรห์ที่โด่งดังที่สุด
เมื่อครั้งที่คาร์เตอร์สำรวจพบหลุมศพของฟาโรห์หนุ่ม พร้อมขุมทรัพย์มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ประดับประดาไปด้วยทอง ตรงใจกลางของหลุมศพซึ่งเก็บมัมมีพระศพฟาโรห์ไว้ ก็ยังปกคลุมไปด้วยเครื่องราง เพชรนิลจินดา และในหน้าของพระองค์สวมด้วยหน้ากากทองคำ สร้างความประหลาดใจให้แก่เขายิ่งนัก
แต่ด้วยความต้องการแค่ขุมทรัพย์ คาร์เตอร์และทีมสำรวจจึงตัดแขนขาและหัวของมัมมีออกเป็น 18 ส่วน โดยใช้มีดและขดลวดที่อังความร้อนลอกหน้ากากทองออกจากใบหน้าของฟาโรห์
หน้ากากทองคำของตุตันคาเมน แสดงให้เห็นถึงยุคแห่งทองในสมัยที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพ แต่หน้ากากทองชิ้นนี้ยั่วยวนใจยิ่งนัก ทำให้ทีมสำรวจแรกลงทุนเลาะออกจากพระพักตร์ของพระองค์
ร่างกายของฟาโรห์ได้รับการประกอบขึ้นใหม่ และส่งกลับไปยังโลงศพหินอันเดิมในอีก 1 ปีถัดมา (พ.ศ.2466) และเพิ่งจะได้รับการเคลื่อนย้ายอีก 3 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เพื่อเอ็กซเรย์ตรวจสอบในประเด็นต่างๆ
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่เหล่านักโบราณคดีต้องการรู้เป็นอย่างยิ่งคือ “สาเหตุการสิ้นพระชนม์” ของฟาโรห์เจ้าของร่าง ที่จากโลกไปทั้งที่ยังมีพระชนมายุเพียงแค่ 19 ชันษา รวมถึงคำร่ำลือ “คำสาปฟาโรห์” ที่ตามหลอกหลอนผู้บุกรุกรวบกวนพระศพ
ครั้งแรกที่นำคิงตุตไปเอ็กซเรย์ในปี 2511 จนพบเศษกระดูกในกะโหลกศรีษะ ทำให้เชื่อว่าพระองค์น่าจะถูกปลงพระชนม์ด้วยลูกธนู ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางรายก็สันนิษฐานเหตุว่า เป็นเพราะตุตันคาเมนต้องการนำแนวคิด “พหุเทวนิยม” (การนับถือพระเจ้าหลายองค์) กลับมาสู่ชาวอียิปต์อีกครั้ง หลังจากที่อาเคนาเตน (Akhenaten) พระราชบิดาของคิงตุตได้ปฏิรูปศาสนาอย่างถอนรากถอนโคนนำเอา “เอกเทวนิยม” ให้นับถือสุริยเทพ “อาเตน” เพียงองค์เดียว
แต่หลังจากอาเคนาเตนสิ้นพระชนม์ลง ศาสนสถานและชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “อาเตน” จึงถูกลบออกไป รวมทั้งพระนามของ “ตุตันคาเตน” ที่เปลี่ยนมาเป็น “ตุตันคาเมน” อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ผลจากการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ครั้งล่าสุดในปี 2548 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า พระองค์ไม่ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ และสิ้นพระชนม์จากการติดเชื้ออันเนื่องมาจากกระดูกหัก อีกทั้งสันนิษฐานว่า เศษกระดูกในกะโหลกน่าจะเกิดขึ้นในช่วงดองพระศพ
ขณะที่นักวิจัยบางคนเชื่อว่ารอยแตกที่กระดูกอาจเกิดขึ้นในภายหลัง ด้วยฝีมือของนักโบราณคดี ไม่ว่ารอยแตกที่กระดูกนั้นจะเกิดขึ้นเพราะเหตุใด ฮาวาสส์แสดงความมั่นใจว่าตุตันคาเมนไม่ได้ถูกลอบปลงพระชนม์แน่นอน และปิดข้อสันนิษฐานดังกล่าวไว้เพียงเท่านี้ โดยจะไม่รบกวนพระศพอีกต่อไป
ที่สำคัญในการแสกนครั้งเดียวกันนี้ ก็ได้มีการสร้างแบบจำลอง “พระพักตร์” ของพระองค์ขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากโครงสร้างใบหน้ามัมมี และจากหน้ากากทองคำหนัก 11 กิโลกรัมที่เคยใช้ครอบ
โครงหน้าของตุตันคาเมนที่นักวิจัยประมวลผลออกมา โดยจำลองในแบบปูนปั้นสไตล์อียิปต์โบราณ
“ตุตันคาเมน” หรือ "ตุตันคามุน" (Tutankhamun/Tutankhamen) เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์ ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 10 ชันษา ทรงเป็นกษัตริย์อียิปต์โบราณในช่วงปี 1334-1323 ก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า “ตุตันคาเตน” อันหมายถึงเทพอาเตน หรือสุริยเทพอวตารลงมา
อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000131149
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 20,707 ครั้ง เปิดอ่าน 14,018 ครั้ง เปิดอ่าน 16,135 ครั้ง เปิดอ่าน 21,997 ครั้ง เปิดอ่าน 23,843 ครั้ง เปิดอ่าน 16,290 ครั้ง เปิดอ่าน 30,606 ครั้ง เปิดอ่าน 19,156 ครั้ง เปิดอ่าน 23,077 ครั้ง เปิดอ่าน 28,886 ครั้ง เปิดอ่าน 18,519 ครั้ง เปิดอ่าน 18,717 ครั้ง เปิดอ่าน 21,170 ครั้ง เปิดอ่าน 54,636 ครั้ง เปิดอ่าน 39,236 ครั้ง เปิดอ่าน 37,983 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 20,437 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 27,262 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,939 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,562 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,926 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,507 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 34,873 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 269,293 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,883 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,509 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,737 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,034 ครั้ง |
|
|