เกณฑ์การประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 ด้านลูกเสือ
ตัวบ่งชี้ที่ 1. ความมีระเบียบวินัย ความสนใจ ความสนุก ความภาคภูมิใจ ความตระหนักในคุณค่า และความสุขในการเป็นลูกเสือ เรียนรู้/มีทักษะด้านสัญลักษณ์ลูกเสือ
เกณฑ์การพิจารณา
- ปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ ระเบียบของกองลูกเสือ/โรงเรียน/สังคม/กระทำความดีประจำวัน(Good Turn)
- เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือด้วยความสนใจ ความสนุก มีความภาคภูมิใจและมีความสุขในการเป็นลูกเสือ
- สามารถปฏิบัติทักษะสัญลักษณ์ลูกเสือตามประเภท เรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมตามเนื้อหาสาระในหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
เกณฑ์การพิจารณา
- ประพฤติปฏิบัติโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมตามคำปฏิญาณ กฎของลูกเสือ และหลักคำสอนของศาสนา
- กระทำกิจกรรมช่วยเหลืองานสถานศึกษา งานบ้าน และเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ครู อาจารย์
- กระทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ระหว่างคนในชาติและความเป็นพี่น้องกันของลูกเสือ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชน ชาติบ้านเมืองและสังคมโลก
เกณฑ์การพิจารณา
- ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาเพื่อนพี่น้องลูกเสือทั้งในและนอกสถานศึกษา
- ช่วยเหลือและให้บริการครู อาจารย์ บุพการี และบุคคลทุพพลภาพหรือผู้สูงอายุที่ขาดการดูแล
- ช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ธรรมชาติ แก้ปัญหาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวกับ ชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและสังคมโลก
องค์ประกอบที่ 2 ด้านผู้บริหาร
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การพัฒนาตนเองทางด้านลูกเสือ
เกณฑ์การพิจารณา
- มีอุดมการณ์และวิสัยทัศน์ในกิจการลูกเสือ
- เข้ารับการอบรมเพื่อให้มีคุณวุฒิและเพิ่มทักษะทางลูกเสือ
- เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาการกิจการลูกเสือ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การบริหาร ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมลูกเสือ
เกณฑ์การพิจารณา
- กำหนดให้มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนพัฒนา และระบบการบริหารจัดการกิจการลูกเสือ
- ส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรลูกเสือและนิเทศ ติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมลูกเสือ
- ส่งเสริมการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมลูกเสือ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชน ชาติบ้านเมืองและสังคมโลก
เกณฑ์การพิจารณา
- มีส่วนร่วมในการบริการชุมชน อนุรักษ์ธรรมชาติ พัฒนาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือและให้บริการบุพการีและบุคคลทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุที่ขาดการดูแล
- ส่งเสริมให้มีการนำทรัพยากรของชุมชนมาพัฒนากิจการลูกเสือสถานศึกษา
- มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วัฒนธรรมและสังคมโลก
องค์ประกอบที่ 3 ด้านผู้กำกับลูกเสือ
ตัวบ่งชี้ที่ 1. การพัฒนาตนเองทางด้านลูกเสือ
เกณฑ์การพิจารณา
- มีอุดมการณ์และวิสัยทัศน์ในกิจการลูกเสือ
- เข้ารับการอบรมเพื่อให้มีคุณวุฒิและเพิ่มทักษะทางลูกเสือ
- เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาการกิจการลูกเสือ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. การวางแผนและการจัดกิจกรรม
- วางแผนการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ และฝึกอบรมลูกเสือตามวัตถุประสงค์ หลักการและวิธีการและหลักสูตร
- ช่วยเหลือ หรือเข้าร่วมการจัดกิจกรรมลูกเสือภายนอกสถานศึกษา และนำทรัพยากรในชุมชนเข้ามาร่วมพัฒนาการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบ วิธีการ และมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหา และพัฒนาการจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ
ตัวบ่งชี้ที่ 3. การบริหารงานในกองลูกเสือ
- ดำเนินการในงานธุรการ เอกสาร ระเบียน การเงิน บัญชีและการเก็บค่าบำรุงลูกเสือตามระเบียบ
- ดำเนินการจัดตั้งระบบและพัฒนา หมู่ กอง ลูกเสือ รวมทั้งจัดทำรายงานและประชาสัมพันธ์กิจการลูกเสือ
- บริหารจัดการอาคาร สถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับกิจการลูกเสือ
องค์ประกอบที่ 4 ด้านการจัดกิจกรรมลูกเสือ
ตัวบ่งชี้ 1. กิจกรรมสัญลักษณ์ลูกเสือ
เกณฑ์การพิจารณา
- มีการฝึกอบรมให้ความรู้ และทักษะในด้านระเบียบวินัย การประกอบพิธีทางลูกเสือ และเนื้อหาสาระตามหลักสูตร
- มีการจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมตามวัตถุประสงค์ และวิธีการทางลูกเสือ ฝึกอบรมทักษะลูกเสือตามประเภท ให้สามารถนำไปใช้ช่วยตัวเองและผู้อื่น
- มีการฝึกอบรม และทดสอบเพื่อรับเครื่องหมายตามหลักสูตรและวิชาพิเศษ
ตัวบ่งชี้ที่ 2. กิจกรรมตามคำปฏิญาณและกฎ
เกณฑ์การพิจารณา
- มีการฝึกอบรมและการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมตามคำปฏิญาณ กฎของลูกเสือ และหลักธรรมคำสอนของศาสนา
- มีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ช่วยเหลือครอบครัว สถานศึกษา ครู อาจารย์ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและร่วมกระทำกิจกรรมเกี่ยวกับงานของชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
- มีการฝึกอบรมให้มีความรู้ ความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือเพื่อน ผู้อื่น บุคคลที่ทุพลภาพ ผู้สูงอายุที่ขาดการดูแล กระทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ ระหว่างคนในชาติ และความเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
ตัวบ่งชี้ที่ 3. กิจกรรมโครงการเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนา
- มีการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อแก้ปัญหา ส่งเสริมสุขภาพกายและใจ และเพื่อการช่วยเหลือ แก้ปัญหาอุบัติเหตุ อุบัติภัย
- มีการจัดกิจกรรมโครงการให้บริการชุมชนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมและศาสนา
- มีการจัดกิจกรรมโครงการที่มีส่วนร่วมในงานของชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ รวมทั้งการฝึกอบรมวิชาพิเศษเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อในสถาบันทหารและตำรวจ
เกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับตัวบ่งชี้
จัดให้มีการประเมิน 2 ลักษณะ คือ 1. การประเมินเชิงปริมาณและคุณภาพ
2. การประเมินความก้าวหน้า
1. การประเมินเชิงปริมาณและคุณภาพ
เชิงปริมาณ
ปรับปรุง
|
พอใช้
|
ดี
|
ดีมาก
|
จำนวนต่ำกว่า
ร้อยละ 50
|
จำนวน
ร้อยละ 50-74
|
จำนวน
ร้อยละ 75-89
|
จำนวน
ร้อยละ 90 ขึ้นไป
|
เชิงคุณภาพ 1) มีความถูกต้องสมบูรณ์เป็นแบบอย่างที่ดี
2) การมองเห็นคุณค่า
3) การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกัน
4) การมีประสิทธิภาพ
5) การสัมฤทธิ์ผล
2. การประเมินความก้าวหน้า
เป็นการประเมินให้เห็นระดับความเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จากตนเองและกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนด ในช่วงเวลาหนึ่ง การประเมินความก้าวหน้า มีแนวทางดำเนินการดังนี้
1) จัดให้มีการประเมินความก้าวหน้าอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2) จัดให้มีการประเมินทั้งตนเอง กลุ่ม และกิจกรรม ตามเกณฑ์ที่กำหนด
3) จัดให้มีการประเมินเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
4) จัดให้มีการประเมินสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
5) จัดให้มีการประเมินความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
วิธีการและเครื่องมือในการประเมิน
การประเมินสามารถดำเนินการได้ด้วยวิธีการและเครื่องมือ ดังต่อไปนี้
1) แบบทดสอบ
2) สัมภาษณ์
3) สังเกต
4) ทดสอบ
5) นิทรรศการและสาธิต
6) รายงาน
7) เอกสาร หลักฐาน
8) ประเมินการปฏิบัติจริงทั้งกิจกรรมและผลที่เกิดขึ้น
9) ชิ้นงานหรือผลงาน