คู่มือเตรียมสอบช่างฝีมือทหาร วิชาภาษาไทย ชุดที่ 1 100 ข้อ
1. อันขยมบรมนเรศน์เรื้อง รามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรง สืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์ โอวาท
หวังประชาชนให้ อ่านแจ้งคำโคลง
ลักษณะข้อใดไม่ปรากฏในโคลงบทนี้
1. สัมผัสนอก สัมผัสใน
2. คำเอก คำโท
3. คณะ โทโทษ
4. เอกโทษ คำสร้อย
2. ข้อใดมิใช่เป็นความดีเด่นของกาพย์เห่เรือพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
1. ศิลปะด้านโภชนาการ
2. ศิลปะจากรสถ้อยคำ
3. ความรู้ทางขนบประเพณีและวัฒธรรม
4. ความรู้ทางขบวนการเห่เรือเวลาเสด็จประพาส
3. ข้อใดไม่ถูกต้องตามประวัติเรื่องสามก๊ก
1. เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เป็นผู้เรียบเรียงไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1
เมื่อ พ.ศ.2345
2. เรื่องสามก๊ก เป็นตำราศึกษาอุบายการเมืองและการสงคราม
3. หนังสือสามก๊กให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์และทางพงศาวดารจีนอย่าง
ละเอียด
4. ตำนานสามก๊ก เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
4. ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่รายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์
คำประพันธ์บทนี้ มีความหมายตรงกับสำนวนในข้อใด
1. ปลาติดหลังแห
2. ปลาข้องเดียวกัน
3. เข้าฝูงกาเป็นกา
4. ขนมพอสมกับน้ำยา
5. (1) ที่ทุกข์โศกโรคร้อนค่อยผ่อนปรน
(2) คงจะพ้นโทษทัณฑ์ไม่บรรลัย
(3) บุราณท่านสมมุติมนุษย์นี้
(4) ยากแล้วมีใหม่สำเร็จถึงเจ็ดหน
คำประพันธ์นี้ข้อใดเรียงลำดับวรรค สดับ รับ รอง ส่ง ถูกต้อง
1. 1 2 3 4
2. 2 1 3 4
3. 3 4 1 2
4. 4 1 3 2
6. เรื่องรามเกียร์ติ ไทยได้เค้าเรื่องมาจากที่ใด
1. จากเขมร
2. จากอินเดีย
3. จากชวา
4. จากลังกา
7. “ รุ่งพรุ่งนี้ซิย่าจะพาเจ้าไปหาเขาอยู่ที่ทับริมหับเผย” คำที่ขีดเส้นใต้หมายความว่า
อย่างไร
1. กระท่อม 3. กำแพงเมือง
2. คุกหลวง 4. ที่คุมขังซึ่งปิดงับหรือเปิดค้ำขึ้นได้
8. รูปแบบงานเขียนที่เรียกว่า “ กลอนบทละคร” นั้นมีลักษณะเหมือนกับกลอนสุภาพ
ต่างกันที่ข้อใด
1. บางวรรคมีเกิน 8 คำ
2. วรรคสดับของบทแรกใช้คำว่า “เมื่อนั้น”
3. ลงท้ายวรรคส่งด้วยคำว่า “เอย”
4. จบด้วยร่ายสุภาพ
9. ต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่มิใช่สัมผัสนอกของอินทรวิเชียรฉันท์ 11
1. คำสุดท้ายวรรคแรก ส่งสัมผัสไปยัง คำที่ 3 ในวรรคที่ 2
2. คำสุดท้ายวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสไปยัง คำสุดท้ายวรรคที่ 3
3. คำสุดท้ายวรรคที่ 3 ส่งสัมผัสไปยัง คำที่ 3 ในวรรคที่ 4
4. คำสุดท้ายของบทหน้า ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้าย วรรคที่ 2 ของบทต่อไป
10. ข้อใดใช้คำพรรณนาให้เห็นจินตภาพมากที่สุด
1. หยาดน้ำค้างพร่างพรายประกายแพร้ว เพียงเก็จแก้วในสดหมดราคิน
2. เงาเมฆสีหม่นลอยมา แสงแดดกล้ากึ่งกลางวัน
3. มีทุกข์มีอาดูร ก็ย่อมมีสุขานันท์
4. พาทย์ฆ้องก้องกังวาน สารดุจน้องร้องเรียกเรียม
11. บทร้อยกรองในข้อใด มีลักษณะต่างจากข้ออื่น
1. งามรูปงามโฉมงามทรงยิ่งองค์เจ้าตรัยตรึงศ์สวรรค์
2. สิบปากสิ้นฝากสิ้นฝั่ง สิ้นกำลังสิ้นคิดยักษา
3. ในถิ่นอุทกนั้น สิอนันตบรรดา
4. ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง คงชวดดวงบุปผชาติสะอาดหอม
12. ต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของโคลงสี่สุภาพ
1. บทหนึ่งมี 30 คำ หรือ 32 คำ หรือ 34 คำ ก็ได้
2. บาทที่ 1 คำที่ 4 เป็นคำเอก คำที่ 5 เป็นคำโท และอาจสลับที่กันได้
3. ในบทหนึ่ง ใช้คำเอกมากกว่า 7 แห่ง และคำโทมากกว่า 4 แห่ง ไม่ได้
4. คำสุดท้ายของบทห้ามใช้คำตาย
13. นายล้ำพ่ายแพ้ “ภาพ” ที่แม่ลออวาดไว้ ภาพที่กล่าวถึงคือ
1. ภาพวาดที่แม่ลออวาดขึ้นเองจากจินตนาการและคำบอกเล่าของ
แม่นวลและพระยาภักดีฯ
2. ภาพลักษณ์ของ “พ่อ” ที่แม่ลออนึกฝันเอาว่าเป็นคนดีแสนดี และเก็บ
ภาพนั้นพิมพ์ไว้ในใจตลอดมา
3. ภาพวาดของนายล้ำที่ให้แม่นวลไว้ก่อนจากไป
4. ภาพถ่ายที่พระยาภักดีฯ อุปโลกน์ว่าเป็นภาพของพ่อแม่ลออที่ตายไปนานแล้ว
14. กวีนิพนธ์ที่เด่นและได้รับการยกย่องมากที่สุดของ นายชิต บุรทัต คือข้อใด
1. ณ หาดทรายชายทะเลแห่งหนึ่ง
2. สามัคคีเภทคำฉันท์
3. อันของสูงแม้ปองต้องจิต
4. อนิรุทธ์คำฉันท์
15. การขับเสภามีสาเหตุจากอะไร
1. ละคร
2. การเล่านิทาน
3. การขับลำนำ
4. การฟ้อนรำ
16. ในการขับเสภาใช้เครื่องดนตรีอะไรประกอบเป็นสำคัญ
1. ฉิ่ง
2. ระนาด
3. กรับ
4. ซอ
17. ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีไทยเรื่องแรกที่แหวกแนวผิดแผกไปจากวรรณคดี
ไทยเรื่องอื่นๆ ที่เคยมีมาเพราะเหตุใด
1. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
2. เป็นนิทานที่แต่งเป็นคำกลอน
3. มีไสยศาสตร์เข้ามาปะปนมาก
4. เป็นเรื่องราวของสามัญชน
18. คำว่า “สุภาพ” ในความหมายทางฉันทลักษณ์หมายความว่าอย่างไร
1. คำที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอก – โท
2. การบังคับคณะและสัมผัสอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
3. คำที่เรียบร้อยไม่หยาบโลน
4. ข้อ 1 และ ข้อ 2
19. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานกล่าวพาดพิงถึงใคร
1. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี
2. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชีนี
3. สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชินี
4. นางสนมกำนัล
20. ข้อใดไม่จัดอยู่ในอาหารพวกเดียวกัน
1. ลุดตี่
2. จ่ามงกุฎ
3. หรุ่ม
4. มัสกอด
21. ข้อใดใช้คำที่ขีดเส้นใต้ถูกต้อง
1.
วันที่ 27 พ.ย. 2551
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,402 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง