ใครที่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสความสามารถของถุงลมนิรภัยนับว่าโชคดีนักล่ะ เพราะหากได้ใช้เมื่อไหร่นั้นหมายความว่า นำมาซึ่งอุบัติเหตุ วันนี้ Lisa ชวนมาทำความรู้จักพร้อมประสิทธิภาพในหลายจุดและหลายรูปแบบที่คุณอาจไม่เคยทราบมาก่อน
การทำงานของระบบถุงลมนิรภัยจะคล้ายๆ กัน คือจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการชน และส่งสัญญาณไปยังกล่องควบคุมเพื่อสั่งให้ถุงลมพองตัวอย่างรวดเร็ว หากมีการชนอย่างรุนแรง ที่สำคัญคือต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเพราะจะช่วยรั้งให้เราอยู่กับเบาะหากเกิดการชน ทั้งลดการบาดเจ็บได้อย่างมาก สมัยนี้ถุงลมนิรภัยมีอยู่ในหลายจุดหลายรูปแบบ ซึ่งผู้ใช้รถเองอาจไม่ทราบเลยว่ามีถุงลมแบบนี้อยู่ในรถด้วย
ถุงลมด้านหน้า (Front Airbog) หากมีการชนอย่างรุนแรงเซ็นเซอร์จะจับได้ว่ามีแรงปะทะเกินค่าที่กำหนดถุงลมจะพองตัวภายในเวลา 0.015-0.030 วินาที ในการชนด้านหน้า เข็มขัดนิรภัยจะดึงร่างกายส่วนล่างและส่วนบน ส่วนถุงลมจะช่วยรองรับหน้าอกและศีรษะ
ถุงลมด้านข้าง (Side Airbog) จะมีเซ็นเซอร์ลักษณะเดียวกับด้านหน้า การติดตั้งอาจมีอยู่ที่แผงประตูหรือที่ตัวเบาะนั่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต
ม่านถุงลม (Curtain Airbog) หากเกิดการชนด้านข้างในระดับปานกลางถึงรุนแรง ถุงลมแบบม่านจะพองตัวลงมา พร้อมการดึงกลับของเข็มขัดนิรภัย
ถุงลมป้องกันเข่าและขา (Knee Airbog) จะซ่อนอยู่ใต้คอนโซลด้านผู้ขับขี่ บริเวณหัวเข่า ใช้ตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระแทกเดียวกับถุงลมนิรภัยด้านหน้า ถุงลมประเภทนี้จะช่วยป้องกันขา หัวเข่า เข้าชนคอนโซล ด้านล่างใต้พวงมาลัย รวมทั้งสะโพกและต้นเข่า
ถุงลมที่พื้นใต้เท้า (Carpet Airbog) ถุงลมชนิดนี้จะช่วยดูดซับแรงที่เท้าจะไปกระแทกกับพื้นและผนังกั้นระหว่างห้องโดยสารและห้องเครื่อง โดยใช้เซ็นเซอร์เดียวกับถุงลมนิรภัยด้านหน้า (ยังไม่ใช้กันนัก)
ที่สำคัญต้องไม่ประมาท เพราะถุงลมนิรภัยเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุเท่านั้น
ข้อมูลจาก กระปุก.คอม