1. ตั้งอยู่บนจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีต้องมีจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ชัดเจน
2. ต้องเข้ากันได้ดีกับลักษณะของผู้เรียน ปกติคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นสร้างขึ้นสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นสิ่งที่น่าพิจารณาคือ จะต้องทราบความรู้พื้นฐาน ระดับของผู้เรียนอย่างแท้จริง
3. มีการปฏิสัมพันระหว่างผู้เรียน และเครื่อง (interaction)ให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ผู้เรียนติดตามเนื้อหาอยู่ตลอดเวลา
4. ควรเป็นลักษณะให้การศึกษาเป็นรายบุคคล (individualized) เนื่องจากผู้เรียนมีความสนใจ อัตราความเร็วในการเรียนหรือความถนัดในการเรียนแตกต่างกัน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสามารถ ความสนใจของตนเอง
5. สามารถกระตุ้น และคงความสนใจของผู้เรียนได้ตลอด
6. จะต้องโต้ตอบกับผู้เรียนในลักษณะของการสร้างสรรค์ (approaches the learner positively ) การโต้ตอบควรเป็นในลักษณะของการติวรายบุคคลหลีกเลี่ยงการลงโทษ
7. ควรเลือกให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) หลายๆลักษณะ เด็กเล็กจะชอบ และต้องการการป้อนกลับลักษณะบวก(positive feedback) ซึ่งจะเป็นลักษณะการบอกผู้เรียนว่า ตนฝึกได้ดีเพียงใด แต่สำหรับผู้เรียนระดับโตจะไม่ต้องการข้อมูลย้อนกลับลักษณะนี้
8. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี ต้องสามารถประเมินผลการเรียนได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึง
8.1 การตั้งคำถามให้ตรงกับจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
8.2 หลีกเลี่ยงการใช้คำถามคลุมเคลือหรือเข้าใจยาก และศัพท์ที่ใช้ในคำถามควรจะเป็นคำที่นักเรียนรู้มาจากเนื้อหา นอกจากคำถามประเภทการนำไปใช้ที่อาจจะต้องกำหนดสถานการณ์ขึ้นใหม่
8.3 พิจารณาคำตอบอย่างถ้วนทั่ว เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะยอมรับคำตอบที่เรากำหนดไว้ให้เท่านั้น
8.4 ต้องพยายามตรวจสอบให้ได้ว่าการที่ผู้เรียน ไม่ตอบคำถามนั้นเกิดจากความไม่รู้หรือไม่ต้องการตอบของผู้เรียนโดยแท้จริง เพราะในบางกรณีผู้เรียนอาจจะรู้คำตอบแต่ไม่รู้วิธีการตอบก็ได้ ดังนั้น วิธีการตอบคำถามต้องทำได้ง่ายที่สุดจึงจะดี
9. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีต้องสามารถใช้คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะส เช่น การนำคุณสมบัติด้านกราฟิค ด้านเสียง สี และคุณสมบัติด้านการนำเสนอเนื้อหา เป็นต้น
10. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการออกแบบการเรียนการสอน (based on principles of instructional design)
ที่มา :: http://www.sudhiruk.com