ผลงานทางวิชาการ
รายงานพัฒนาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขอวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
-----------------------------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง : รายงานพัฒนาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ วิชา งานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ เรื่อง การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Power point และการสร้างงานกราฟิก ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้พัฒนา : นางเยาวรัตน์ เลิศพิพัฒน์กุล โรงเรียนบ้านขอวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง 52240
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชางานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขอวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขอวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Power point และการสร้างงานกราฟิกด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop
4. เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักเรียนเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขอวิทยา อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบ้านขอวิทยา อำเภอ เมืองปาน จังหวัด ลำปาง จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา งานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ เรื่อง การนำเสนองาน ด้วยโปรแกรม Microsoft Power Point และ การสร้างงานกราฟิก ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน-หลังเรียน ใช้เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชุด มี 30 ข้อ เป็นแบบปรนัย มี
4 ตัวเลือก
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชางานกราฟิกและคอมพิวเตอร์
สร้างสรรค์โดยใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ คือ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด พึงพอใจอยู่ในระดับมาก พึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง พึงพอใจอยู่ในระดับน้อยและพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด
4. แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนขณะเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบด้วย พฤติกรรมที่สังเกตด้านความสนใจ ด้านความมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ พฤติกรรมด้านอื่น
การวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้
1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การนำเสนองาน ด้วยโปรแกรม Microsoft Power Point และ การสร้างงานกราฟิก ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ตามเกณฑ์ 80/80
2. วิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน-หลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. วิเคราะห์ความพึงพอใจ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชางานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์
4. วิเคราะห์พฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชางานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชางานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ เรื่อง การนำเสนองาน ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint และการสร้างงานกราฟิก ด้วยโปรแกรม Adobe Photo shop มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 คือ มีประสิทธิภาพ 83.43 /88.10
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับที่ .01โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งดูผลจาก การทดสอบก่อนเรียนค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 15.27 คิดเป็นร้อยละ 50.89 และผลการทดสอบหลังเรียนสูงขึ้นเฉลี่ย 26.53 คิดเป็นร้อยละ 88.44 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนพบว่านักเรียน จำนวน 15 คน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชางานกราฟิกและคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ เรื่อง การนำเสนองาน ด้วยโปรแกรม Microsoft Power Point และการสร้างงานกราฟิก ด้วยโปรแกรม Adobe Photo shop
4. ผลการสังเกตพฤติกรรม นักเรียนมีความสนใจกับบทเรียน มีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบ นักเรียนสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียนรู้เนื้อหา ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้องตามขั้นตอนและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้คล่องแคล่วยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถช่วยเหลือและอธิบายแนะนำเพื่อน ๆ ที่ไม่เข้าใจได้